ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เขียนหนังสืออย่างไรผู้อ่าน จึงจะชอบ

 

                                                                      เขียนหนังสืออย่างไรผู้อ่าน จึงจะชอบ

                  

                 

 

คำถามที่เอามาเป็นหัวข้อนี้แม้จะยาวไปหน่อยแต่ก็น่าสนใจมากสำหรับผู้ปรารถนาจะเป็นนักเขียน นักประพันธุ์ ควรจะได้อ่านและทำความเข้าใจคำถามและคำตอบเป็นข้อเขียนที่แปลเรียบเรียงมา ผู้แปลคือศาสตราจารย์ ดร.บุญ อินทรัมพรรย์ ราชบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ลงพิมพ์ในหนังสือวารสารอนุรักษ์ดินและน้ำปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ซึ่งออกจะหาอ่านได้ยาก จึงขออนุญาตถ่ายทอดมาให้อ่านกัน ใจความของคำตอบแบ่งเป็นข้อ ๆ จำนวน 12 ข้อ คำตอบดังนี้

1. เขียนเพื่อให้อ่านง่าย
เขียนเพื่อให้อ่านง่ายเป็นวัตถุประสงค์ใหญ่ของการเขียนหนังสือ เมื่อผู้เขียนใด ๆ รับหลักการนี้ไปแล้ว ผู้เขียนผู้นั้นก็ย่อมจะเป็นที่นิยมของผู้อ่านได้ในเวลาไม่ช้า คือความปรารถนาดีของนักเขียนนั้นย่อมก่อให้เกิดกำลังใจแก่ท่านผู้นั้นเอง ความปรารถนาดีเช่นนี้จะเป็นคำตอบที่ส่งเสริมให้นักเขียนนั้นมีความเพียรฝึกฝนตนให้เป็นคนอ่านหนังสือมาก ฟังมาก เขียนมาก และอ่อนโยน แล้วผู้เขียนนั้นก็จะเป็นนักเขียนและมีความภูมิใจในตัวเองว่า “เขียนเพื่อสื่อความคิดและสื่อข้อเท็จจริงที่ถูกต้องพร้อมทั้งให้ความเพลิดเพลิน และการจูงใจผู้อ่าน” นักเรียนทุกคนย่อมเข้าใจดีว่า การเขียนหนังสือนั้นยากกว่าการพูด เพราะในเวลาพูดนั้นผู้พูดมีโอกาสใช้เสียง ใช้กิริยาท่าทางต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบช่วยการพูดได้ นักเขียนไม่มีโอกาสใช้ส่วนประกอบเช่นนั้น ในการเขียนหนังสือนั้น ผู้เขียนใดสามารถแสดงความคิดของตนให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง ก็นับว่าผู้เขียนคนนั้นมีสมรรถภาพเป็นนักเขียนสำคัญ หากว่าผู้อ่านอ่านแล้ว เข้าใจความตรงกันข้ามกับความคิดของผู้เขียนแล้ว ก็นับว่าผู้เขียนคนนั้นขาดสมรรถภาพ เป็นนักเขียนตกอันดับ นักเขียนระดับมาตรฐาน จะเรียงความโดยผูกเป็นประโยคให้ผู้อ่านอ่านได้ง่าย ๆ ชัดเจน จำได้เร็วและเกิดความสนใจ แสดงให้ประจักษ์ว่าใช้ความระวังในเรื่องหลักภาษา หรือไวยากรณ์ และเข้าใจเลือกคำเหมาะใช้ ทั้งนี้เรื่องที่เขียนนั้นก็เกิดคุณประโยชน์แก่ผู้อ่านได้ถึง 5 ประการ อ่านได้เร็ว เข้าใจเรื่องได้ดี จำเรื่องราวได้นานพอสมควร ได้รับความเพลิดเพลิน และได้ความรู้จากงานเขียนหรือวรรณกรรมนั้น

2. คิดเสียก่อนเสมอ , แล้วจึงเขียน
นักเขียนควรมีคติประจำใจว่า “เขียนได้แจ่มแจ้งเท่าใด ก็ย่อมก่อให้ผู้อ่านได้มีความคิดมากขึ้นตาม ลำดับ” ดังนั้น เมื่อจะเขียนเรื่องให้แจ่มแจ้งแล้ว นักเขียนจะต้องคิดเสียก่อนหรือวางแผนในสมองก่อนเสมอ คิดออกมาว่าจะต้องเรียกหัวข้อเรื่องว่าเรื่องอะไร มีข้อความใดที่ควรเริ่มก่อนหรือหลัง ระบุข้อความออกมาให้ชัดเจน ไม่มีการคลุมเครือ ต้องคิดเสมอว่าเรื่องที่เขียนนั้นใช้ข้อความและถ้อยคำที่ถูกต้อง ชัดเจน กะทัดรัด และตรงเป้าหมาย สรุปแล้ว นักเขียนจะต้องแสดงความคิดเห็นออกให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญ วิธีการที่นักเขียนนิยมปฏิบัติในระหว่างเวลาคิด ก็ใช้คำถาม 5 คำ คือ ใคร อะไร ที่ใด เมื่อไร และ ทำไม เมื่อนักเขียนประมวลข้อความที่จะเขียนเป็นขั้นตอนแล้ว ก็ตั้งต้นเขียนตามลำดับความคิด คำแนะนำข้างต้นเป็นหลักการทั่วไปที่ได้ให้ความสำเร็จแก่นักเขียนหลายคนมาแล้ว

3. เขียนให้ถูกเป้าหมาย
ประโยคแรกของเรื่องเป็นประโยคนำที่สำคัญ นักเขียนจะต้องเริ่มข้อความในประโยคแรกให้ตรงเป้า หมาย คือแสดงให้ผู้อ่านเห็นว่า ผู้เขียนเขียนเข้าสู่เป้าหมาย เป้าหมายนั้นไม่ใช่อะไรอื่น คือหัวข้อเรื่องที่กำหนดนั้นเอง ประโยคแรกจะจูงใจให้ผู้อ่านรู้ว่านักเขียนตรงเป้า ไม่ใช่เขียนลีลาที่เรียกว่า “เขาวงกต” ข้าพเจ้าขอให้ท่านได้อ่านพระนิพนธ์เรื่องสั้น ๆ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แก่พระราชนิพนธ์เรื่อง “เหตุใดข้าพเจ้าจึงชอบดนตรีไทย” และ “เบื้องหลังการแต่งเพลงของข้าพเจ้า” ซึ่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา ได้พิมพ์เนื่องในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525 ผู้ใดได้อ่านพระนิพนธ์ดังกล่าว จะสังเกตได้ทันทีว่าประโยคแรกของพระนิพนธ์ตามหลัก “เขียนให้ถูกเป้าหมาย” ผู้อ่านจะสามารถติดตามพระปรีชาสามารถแต่ต้นจนจบ ได้รับความรู้และความเพลิดเพลิน

4. ใช้คำชินหูชินตา
ทุกวันนี้นักเขียนนิยมใช้คำที่ชินหูชินตา มากกว่าจะใช้คำศัพท์สูง การใช้ “คำใหญ่” ก็ดี คำศัพท์สูง ๆ ก็ดีนั้น แสดงว่านักเขียนเป็นผู้ทรงคุณวุฒิรอบรู้คำศัพท์มาก แต่ กระนั้นผู้เขียนก็ควรเลือกใช้เท่าที่จำเป็น เพราะว่าในการสื่อความคิดกับผู้อ่านแล้ว ผู้เขียนควรจะใช้คำที่ผู้อ่านได้สะสมไว้ในสมองเขา ได้แก่คำที่ชินหูชินตาโดยทั่วไป หากว่าผู้อ่านไม่เข้าใจความหมายของคำที่ผู้เขียนใช้ เขาก็เข้าใจความคิดของนักเขียนนั้นว่า ไม่มีอะไรดีก็ได้ ถ้านักเขียนทำให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องไม่ได้ ก็นับว่านักเขียนนั้นตกอันดับ คือผู้อ่านไม่นิยม ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะผู้อ่านน้อยคนนักที่จะสละเวลาค้นหาคำแปลศัพท์สูง ๆ ว่ามีความหมายอะไร ส่วนมากจะชอบแต่จะอ่านเรื่องที่เข้าใจง่าย ถ้าพบว่าข้อความตอนใดวรรคใดเป็นประโยคยาวและมีคำที่ไม่ชินหูชินตาแล้ว ก็ชักไม่อ่านต่อไป เพราะไม่มีเวลาจะแกะความ ในปัจจุบันเป็นที่เข้าใจกันแล้ว นักเขียนที่ผู้อ่านนิยมนั้นคือนักเขียนที่สามารถผูกประโยคสั้น ๆ และใช้คำศัพท์ยาก ๆ น้อยคำ พยายามใช้คำที่ง่ายหรือคำ “ชินหูชินตา”

5. คำที่ใช้ต้องเหมาะสมและชัดเจน
นักเขียนทุกคนจะระลึกเสมอว่า “คำที่ใช้จะต้องเหมาะสมและชัดเจนและมีความหมายทางเดียว” นักเขียนจะต้องระวังในการใช้คำ “คำที่ก่อให้เกิดความฉงนสนเท่ห์” หรือคำใดที่นักเขียนเองยังไม่เข้าใจ ดี ก็ไม่ควรใช้ นักเขียนจักต้องสังวรว่า คำอรรถหรือคำศัพท์สูง ๆ นั้น ผู้อ่านแต่ละคนจะตีความหมายไม่ตรงกับนักเขียนก็ได้ วิธีการที่ดีก็คือ นักเขียนเลือกใช้คำที่เหมาะสม สุภาพและชัดเจน ซึ่งเป็นคำที่ผู้อ่านสัมผัสได้ด้วย “การเห็น การฟัง และการลิ้มรส” คำที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จะทำให้ผู้อ่านสนใจ

6. ใช้คำคุณศัพท์ให้น้อยไว้
คำคุณศัพท์นั้นควรจะใช้ให้เหมาะสมแก่สภาพของเรื่อง เรื่องที่เขียนจึงจะเป็นรายงานหรือบทความที่ดี คำคุณศัพท์มากไปจะทำให้ผู้อ่านฉงน นักเขียนรุ่นนวกะมักจะเผลอใช้คุณศัพท์มากไป เพราะยังไม่ทราบว่ารายงานใดที่มีคำคุณศัพท์มากไปนั้นก็หมายความถึงว่าให้ข้อเท็จจริงเกินเหตุไป ดังนั้นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ที่เด่นจึงแนะนำนักข่าวนวกะใช้คำคุณศัพท์เท่าที่จำเป็น

7. พยายามเขียนให้ประโยคสั้นแต่ได้ความมาก
การเขียนที่ดีจักต้องเขียนให้ประโยคสั้น แต่กินความมาก นักเขียนที่ดีจะต้องหัดแต่งหนังสือของตนให้ สั้นและได้ความหมายมาก ด้วยวิธีการตัดวลีและคำที่ไม่จำเป็นออก ผู้อ่านหนังสือนั้นชอบประโยคสั้นมากกว่าประโยคยาว ในประโยคหนึ่ง ๆ ควรให้ใช้คำ “ซึ่ง” “อัน” ฯลฯ ให้น้อยที่สุด ประโยคหนึ่ง ๆ คิดเฉลี่ยแล้วไม่ควรไม่เกิน 20 คำ การเขียนหนังสือไทยให้มี “ช่องไฟ” เพื่อเป็นการแสดงการเว้นวรรคเว้นตอนว่าถูกต้องแล้วนั้นยังไม่พอ เพราะเมื่อนำเรื่องไปพิมพ์ อาจจะพิมพ์คำติดกันไป หรือ ข้อความที่ควรจะพิมพ์คำให้ติดกันกลับพิมพ์เว้นวรรคไปเสียประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่ง การเว้นวรรคใหญ่เพื่อแสดงถึงการจบประโยค และการเว้นวรรคน้อยเพื่อแสดงถึงการจบวลีนั้น เป็นเรื่องที่ปฏิบัติยาก ดังนั้นผู้เขียนควรฝึกหัดใช้เครื่องหมายมหัพภาคหรือจุด (.) เมื่อจบประโยคหนึ่ง ๆ เสมอ (ส่วนเครื่องหมายวรรคตอนรูปอื่น ๆ ก็ควรจะฝึกหัดพร้อมกันไปด้วย) ทั้งนี้ความเรียงที่ใช้เครื่องหมายวรรคตอนนั้นจะชัดเจนยิ่งขึ้น หากว่าความเรียงประโยคใด ๆ มีเครื่องหมายวรรคตอนถูกต้องแล้ว มันยังไม่ได้ความดี ผู้เขียนพึงรู้ไว้ว่าต้องเขียนความเรียงประโยคนั้นใหม่ ในขณะนี้ราชบัณฑิตยสถาน และสภาวิจัยแห่งชาติกำลังสนับสนุนให้ใช้เครื่องหมายวรรคตอน เพราะเห็นแล้วว่าเป็นการช่วยในการแต่งหนังสือและช่วยผู้อ่านด้วย นานาชาตินั้นยอมรับแล้วว่าการเขียนหนังสือที่เว้นวรรคตอนผิดพลาด เพราะไม่ใช้เครื่องหมายวรรคตอน หรือใช้เครื่องหมายวรรคตอน ผิดพลาด ทั้งสองประการนี้ส่อให้เห็นว่าผู้เขียนหนังสือหละหลวมในความคิดด้วยก็ได้ ในปัจจุบันประเทศไทยก็ต้องแสดงฝีมือว่ามีความรู้แลกเปลี่ยนกับต่างประเทศได้ การแปลเรื่องวิขาการภาษาไทยซึ่งมีเครื่องหมายวรรคตอนแล้วนั้น ก็จะเป็นงานสะดวกแก่ผู้มีหน้าที่แปลมาก

8. เขียนวรรคสั้นดีกว่าเขียนวรรคยาว
วรรคที่สั้นนั้นช่วยให้ผู้อ่านไม่ต้องเพ่งหนังสือ เป็นการช่วยลูกตาไม่ให้เพลียทำให้ลูกตาสามารถกราดดู ตัวหนังสือได้ดีด้วย วรรคยาวย่อมมีข้อความมากเป็น “ก้อนใหญ่” ทำให้ผู้อ่านข้ามไป ทำให้เข้าใจเรื่องราวของหนังสือนั้นไม่ทั่ว เลยทำให้ผู้อ่านเบื่อและไม่อยากจะอ่านหนังสือนั้นต่อไปอีกก็ได้ นักหนังสือพิมพ์จึงบอกว่าเขียนวรรคยาวทำให้ “เสีย” ลูกค้า ไม่ควรคิดว่าผู้อ่านอ่านหนังสือให้เร็ว เพราะเข้าใจว่าข้ามความข้ามวรรคนั้น เป็นกันทุกคน เดี๋ยวนี้นักเขียนหนังสือและนักแปลหนังสือ นิยมใช้วรรคสั้น ๆ วรรคสั้นเป็นสัญญาณให้ผู้อ่านเข้าใจวิธีการเขียนของผู้เขียนว่าพยายามช่วยผู้อ่าน วรรคสั้นช่วยให้ผู้อ่านจดจำข้อความสำคัญได้มาก ตามหลักแล้ว ประโยคแรกหรือประโยคสองของวรรคใหม่ ควรจะเป็นสัญญาณแก่ผู้อ่านว่า วรรคใหม่นี้เริ่มหัวข้อใหม่ วรรคหนึ่ง ๆ ควรจะบอกแต่ความคิดข้อหนึ่ง ๆ ของผู้เขียน เมื่อเขียนจบวรรคหนึ่ง ๆ แล้ว ผู้เขียนควรจะตรวจดูว่า จะควรแบ่งออกเป็นสองวรรคนั้นจะเหมาะสมหรือไม่

9. เขียนหนังสือให้อ่านง่ายและเว้นการเขียนลีลาซับซ้อน
หนังสือที่อ่านเข้าใจยากหรือซับซ้อนนั้นเป็นความบกพร่องของนักเขียน ไม่ใช่ข้อบกพร่องของผู้อ่าน นักเขียนจึงพึงเขียนเพื่อตนเองเข้าใจได้ง่ายด้วยเหมือนกัน ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนข้อความซับซ้อนพัลวัน นักเขียนจึงเลือกใช้คำที่ง่าย เขียนประโยคง่าย เขียนวรรคสั้น นักเขียนพึงสังวรว่า ผู้อ่านจะไม่ชอบเสียเวลาตีความที่แต่งนั้นก็ได้ เพราะไม่มีเวลามาแคะความคิดที่ สลับซับซ้อน

10. เขียนให้แจ่มแจ้งตรงกับความที่คิดไว้
ผู้เขียนจงเขียนให้ตรงกับความคิด ความประสงค์ ฯลฯ ของตนเสมอไป ข้าพเจ้าขอเล่าเรื่องหนึ่ง ลูกศิษย์ คนหนึ่งของข้าพเจ้าทำงานเก่ง เขานำข้าพเจ้าดูงานของเขาและอธิบายได้ตรงกับที่เขาทำงานไว้ ข้าพเจ้าต้องบอกกับเขาว่า ข้อความที่เขาแต่งเพื่อให้คนทั่วไปอ่านนั้นไม่ตรงกับที่เขาอธิบายให้ข้าพเจ้าฟัง นักวิขาการผู้ใหญ่หลายท่านก็รับว่าเรื่องเช่นนี้เป็นไปได้ นักเขียนที่เก่งมักเข้าใจดีว่า คนเราเขียนเกินข้อเท็จจริงได้ ดังนั้นผู้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์จึงต้องให้นักข่าวเล่าเรื่องที่ไปได้มาให้ฟังเสียก่อน แล้วให้นักข่าวนั้นไปเขียนมาให้ตรงตามที่เล่า เพราะว่าข่าวที่เล่านั้นย่อมเป็นประโยคสั้น ได้ข้อเท็จจริงที่สำคัญ เรียกว่าเขียนเรื่องตามภาษาพูด เขียนเช่นนี้จะตรงเป้าหมาย ข้อเขียนที่มีสำเนียงการพูดจะทำให้เรื่องน่าอ่าน ทำให้เกิดความสนใจ และช่วยให้เกิดความเข้าใจด้วย ในการเขียนหนังสือ ต้องพยายามให้ได้ความแจ่มแจ้งถึงขั้นที่รับรองได้ว่าไม่มีปัญหาถามได้อีก ดังนั้นนักเขียนจึงผูกประโยคให้ได้ความตรงไปสู่เป้าหมายไม่ต้องอ้อมค้อม วิธีการก็คือผูกประโยคให้มีประธาน กิริยาและกรรม หัดพูดเป็นประโยคไว้เสมอ ๆ จะช่วยในการเขียนด้วย การฝึกพูดและเขียนประโยคเป็นนิสัยแล้ว จะทำให้ข้อเขียนของนักเขียนผู้นั้นมีชีวิตชีวา ประโยคเช่นนี้จะเป็นประโยคที่สั้นและน่าฟัง

11. รู้จักแก้หนังสือ
การแก้หนังสือที่เขียนแล้วเป็นส่วนหนึ่งของการเขียนหนังสือที่ดี เราไม่ใคร่จะหัดและสละเวลาในการ ตรวจแก้ข้อเชียนของตนนัก เห็นว่าเขียนแล้วก็เสร็จเรื่องแล้ว เนื่องด้วยไม่มีบรรณาธิการเฉพาะกิจเพื่อมีหน้าที่ตรวจแก้ เรื่องที่เขียนเพื่อเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ จึงมักจะไม่ได้รับการชม วิธีการแก้หนังสือนั้นง่ายคือ อ่านร่างนั้นดัง ๆ วิธีเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เขียนร่างนั้น “จับ” คำและประโยคที่ควรแก้ไข เมื่อเขียนร่างเสร็จครั้งแรกและอ่านอย่างจริงจังก็จะพบว่าความหมายใดไม่แจ่มแจ้งก็แก้ไขข้อความให้ชัดเจนขึ้น โดยการดูวรรคตอนและการใช้เครื่องหมายวรรคตอน เปลี่ยนคำใหม่หรือตัดคำนั้นคำนี้ออกไปบ้าง บางทีก็อาจจะพบว่าในร่างนั้นมีบางประโยค บางวลี และบางคำหายไป บางทีก็หายไปทั้งวรรคเลย ดังนี้ก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที บางทีก็ต้องแบ่งบางวรรคออกเป็นสองวรรค ขีดเส้นใต้คำสำคัญและความคิดที่แสดงออกนั้นด้วย ต้องตรวจดูว่ามีคำที่ทำให้บทความ “อ้วน” และเปล่าประโยชน์ ตรวจดูว่าวลีใดที่ล้าสมัย ตรวจดูประโยคที่ไม่จำเป็น ตรวจดูว่ามีวรรคใดไม่มีความหมายเลย ถ้ามีแล้วก็พิจารณาตัดออก สุดท้ายก็ถามตนอีกว่า ผู้อ่านสามารถเข้าใจเรื่องที่เขียนไหม ? ถ้าเห็นว่าผู้อ่านคงไม่เข้าใจ ผู้เขียนก็ต้องรู้ตัวว่าต้องแก้ไขอีกจนให้ได้ดีให้ได้ ฝึกหัดเช่นนี้ได้ ในไม่ช้าก็เขียนได้ดีและแทบจะไม่มีการแก้เลยก็ได้

12. พยายามแสดงความคิดของตน
นักเขียนที่ดีจะต้องแสดงออกซึ่งความคิดของตนให้ประจักษ์แก่ผู้อ่าน นักเขียนผู้แสดงตนว่าเขียนประโยคยาว ๆ ได้และวรรคใหญ่ ๆ ได้ เพื่อแสดงว่าตนเป็นเอกในการ ประพันธ์นั้น ก็นับว่าเป็นการเชื่อตนเองมากเกินไป ความจริงแล้วผู้เขียนจะต้องทำสำนึกเสมอว่า เขียนเพื่อบอกเล่าแก่ผู้อ่าน เพื่อได้เป็นสื่อส่งข้อมูลหรือข้อเท็จจริงจากจิตใจของเขาไปสู่จิตใจของผู้อ่าน นักเขียนผู้สามารถแสดงความเห็นของตนให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย ย่อมได้รับการยกย่องจากผู้อ่านเสมอว่าเป็นผู้ให้ความคิดที่มีคุณค่า

ที่มา : http://www.story2you.com




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ