ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



3 เหตุผล ที่รักษา “คนเก่ง” ไม่ได้ article

 

                     3 เหตุผล ที่รักษา "คนเก่ง" ไม่ได้   

                         

   การมี “คนที่มีศักยภาพ”อยู่ในองค์กรโดยเฉพาะ ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง ถือว่าเป็นเรื่องไม่ง่ายอยู่แล้ว แต่การ รักษาคนที่มีศักยภาพ อยู่กับองค์กรเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า


ปัญหาในเรื่องนี้ถึงแม้จะไม่ใช่ปัญหาเรื่องใหญ่ของ ธุรกิจ-องค์กรขนาดใหญ่ เพราะมีทั้งงบประมาณ ศักยภาพ และระบบในการสร้างและรักษาคนที่มีศักยภาพ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้น เพียงแต่องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางจะเจอปัญหานี้มากกว่า

“คน” ที่องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางมี มักจะเป็นพนักงานใหม่…ที่เข้ามาอยู่ไม่นาน ก็ออกไป ส่วนที่อยู่ได้นานจนเข้าขั้นอาวุโส ก็เป็นอาวุโสแบบหมดไฟซะส่วนมาก ไม่ใช่ "ขิงแก่" ที่เข้มข้นด้วยประสบการณ์และความสามารถ ส่วนประเภทกลางเก่า กลางใหม่ ก็ไม่มีอะไรที่โดดเด่น

เหตุผลอะไรที่ ธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดกลาง ไม่สามารถ “สร้างและรักษา คนที่มีศักยภาพไว้ได้?

ผู้นำ หรือ เจ้าของธุรกิจ ทั้ง ชอบและกลัว คนที่มีศักยภาพโดดเด่น

เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ชอบ เพราะคนที่มีศักยภาพจะฉายแววความสามารถทั้ง วิธีคิด วิธีการทำงานและผลของงานเป็นที่ถูกใจ แต่ในเวลาเดียวกัน เจ้าของหรือผู้นำ ก็กลัวและหวาดระแวงว่า คนประเภทนี้ ถ้าไม่ถูกดึงตัวไป อีกไม่นานก็อาจจะกลายไปเป็นคู่แข่งกับเจ้าของกิจการ

เวทีที่มี…มันเล็กเกินกว่าศักยภาพและความท้าทาย

บ่อยครั้งที่คนที่มีศักยภาพมักจะเบื่อกับความซ้ำซาก จำเจ ในงาน ในตำแหน่ง หน้าที่ เพราะคนประเภทนี้จะไม่หยุดอยู่นิ่ง เมื่อเวทีที่มีให้เล่น มันมีจำกัด ความท้าทายก็มีไม่มาก เมื่อทำได้ถึงจุดหนึ่ง ก็ไม่มีอะไรน่าสนใจต่อไป หน้าที่และตำแหน่ง ก็อาจไม่ได้อะไรมากกว่าที่เป็นอยู่ ก็ไม่มีเหตุผลที่จะอยู่

ไม่มีอะไรให้เรียนรู้อีกต่อไป

คนที่มีศักยภาพมักจะชอบและไม่เคยที่จะหยุดเรียนรู้ ถ้าสิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ไม่มีเรื่องราวที่จะให้เรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะคนประเภทนี้ ชอบเรียนรู้และชอบลองวิชา เมื่อเรียนรู้ได้น้อยลง รวมทั้งเวทีที่จะให้ลองวิชาในประเด็นที่ผ่านมามีจำกัด ยิ่งเป็นเหตุผลสนับสนุนที่จะหาที่เรียนรู้และลองวิชาที่อื่น

หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า ไม่มีปัจจัยเรื่อง “เงิน”มาเกี่ยวข้องบ้างหรือไง?

จริงๆ ก็มี แต่ไม่ใช่ประเด็นแรก เรื่อง ”เงิน” เป็นองค์ประกอบเสริมเท่านั้น ยิ่งคนที่มีศักยภาพ จะรู้อยู่แล้วว่า การหาเงินไม่ใช่เรื่องยาก แต่การหาความท้าทายใหม่น่าสนุกกว่า

ในทางปฏิบัติ ถ้าท่านอาจแก้ปมข้อที่ 2 และข้อที่ 3 ได้ โดยเปิดเวทีให้แบบ "ไม่มีขีดจำกัด" และ "เปิดใจให้กว้าง" แทนที่จะมานั่งกลัวว่าจะถูกดึงตัวหรือไปเป็นคู่แข่งในอนาคต ทำไมไม่เปิดโอกาสให้หุ้นหรือแบ่งผลกำไรบางส่วนจะแบ่งปีละครั้งหรือทุกครึ่งปีก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่กลับทำให้คนที่มีศักยภาพรู้สึกมีส่วนร่วม “ในความเป็นเจ้าของ” ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นเรื่องที่เจ้าของส่วนมากยัง ”ทำใจไม่ค่อยได้” มากกว่า

แต่ถ้าคิดว่า ไม่อยากที่จะใช้วิธีที่กล่าวไป ท่านก็ยังเหลือทางเลือกที่น่าสนใจอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถเริ่มได้ทันที…เพียงแต่ต้องใช้ทั้งเวลาและความทุ่มเทอย่างจริงจังเท่านั้น ก็คือ

ถ้าไม่สามารถรักษา “คนที่มีศักยภาพ” ไว้ได้ ทำไมไม่ลองมาสร้างและพัฒนาอย่างเป็นระบบกับกลุ่มที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งกลุ่มพนักงานใหม่ ที่เข้า-ออกเร็ว กลุ่มพนักงานกลางเก่ากลางใหม่ที่ยังไม่มีอะไรโดดเด่น และ กลุ่มอาวุโสอยู่มานาน บางที นี่อาจจะเป็นทางออกที่ลงตัวหรืออาจจะได้ผลดีกว่าการรักษาคนที่มีศักยภาพ เพราะคนทั้ง 3 กลุ่มก็มีศักยภาพในระดับหนึ่ง ถึงแม้จะไม่โดดเด่น แต่พลังผนึกที่รวมกันก็เป็นพลังที่น่าสนใจ

ท่านจะเริ่มจากกลุ่ม พนักงานใหม่ที่เป็น ”เลือดใหม่” เป็นกลุ่มต้นแบบก่อน หรือจะทำควบคู่กันระหว่าง กลุ่มพนักงานใหม่โดยให้กลุ่มอาวุโสเป็นพี่เลี้ยง ทั้ง “ดึง” ประสบการณ์จากผู้อาวุโส และ “สร้าง” แนวทางใหม่ๆ กับกลุ่มพนักงานใหม่ไปควบคู่กันแล้วให้กลุ่มกลางเก่า กลางใหม่ เป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้าย

ท่านอาจจะพบศักยภาพมหาศาลที่ซ่อนเร้นอยู่ในคนทั้ง 3 กลุ่มนี้ก็ได้ ลองดูสิครับ!


ที่มา : โดยธีรพล แซ่ตั้ง กรุงเทพธุรกิจ




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ