ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร

 

 

    ท่านผู้อ่านคงจะเคยผ่านตาป้ายโฆษณาขายสินค้าสารพัดตามเสาไฟฟ้าต่าง ๆ ทั้งรถยนต์ สินเชื่อ กำจัดปลวก ติวเตอร์ กวดวิชา ฯลฯ ถนนบางสายมีป้ายอยู่ทุกเสาจนเรานึกว่าเป็นสื่อโฆษนาชนิดหนึ่งไปซะแล้ว ที่เด็ดที่สุดเห็นจะเป็นโฆษณาขายบ้านเดี่ยว 3 นอน 3 น้ำ “ราคา 3.3 ล้าน” (โอ้โฮ!!) มาแอบติดกับเค้าด้วยเข้าใจว่าเจ้าของบ้านคงต้องมีความรู้เรื่องภาระภาษีเป็นอย่างดีจึงประหยัดค่าโฆษณาไว้มาเป็นค่าภาษีดีกว่า จึงเป็นที่มาของบททดสอบด้านภาษีอีกครั้ง คราวนี้ขอว่าด้วยเรื่องของภาระภาษีและค่าธรรมเนียมจากการขายบ้าน (อย่าเพิ่งปวดหัวเสียก่อนล่ะ...)

  ก่อนจะพูดถึงรายละเอียดประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง ควรจะต้องรู้เสียก่อนว่า ภาระภาษีด้านต่าง ๆ ที่จะต้องเสียเมื่อทำการโอนที่สำนักงานที่ดิน มีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่
     1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
     2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
     3. อากรแสตมป์
3.      ค่าธรรมเนียมการโอน
   นอกจากนี้ หากเป็นกรณีการขายบ้านที่ได้มาโดยมุ่งในทางค้าหรือหากำไร ก็จะต้องนำเงินได้จากการขายกรณีดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อกำหนดเวลาการยื่นแบบฯ ด้วย แต่ถ้ากำไร (ซื้อบ้านมาเกิน 10 ปีแล้ว) มีสิทธิไม่ต้องนำเงินได้จากการขายบ้านดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร ก็ได้
   เห็นหรือยังว่าหากจะคิดขายบ้าน ต้องเตรียมตัว(และเตรียมใจ) รวมถึงเตรียมเงินทั้งในช่วงที่ทำการโอนและหลังจากโอนเรียบร้อยแล้วหลายรายการ เพื่อที่จะได้คำนวณให้ครอบคลุมไม่ต้องเจ็บใจที่หลังเพราะอย่าลืมว่าภาระภาษีทั้งหลายทั้งปวงนั้น ผู้ที่รับภาระตามกฎหมายก็คือผู้ขาย หากจะให้ผู้ซื้อรับภาระด้านใด ควรจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการทางนิติกรรม เมื่อเข้าใจในหลักการเบื้องต้นแล้ว เราก็มาเข้าเรื่องภาระภาษีในแต่และประเภทกันดีกว่า
   
    ราคาขายที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย นั้น กฎหมายกำหนดให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีมีการโอนนั้น ตามมาตรา 49 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่คำนึงว่าราคาซื้อขายจริงจะเป็นเท่าใด  เช่นซื้อขายบ้านหลังหนึ่งในราคา 3 ล้านบาท แต่ราคาประเมินอยู่ที่ 4 ล้านบาท ก็จะต้องคำนวณภาษีจากราคา 4 ล้านบาท หรือหากราคาประเมิน 2 ล้านบาท แต่ซื้อขายกันในราคา 3 ล้านบาทก็จะคำนวณภาษีจากราคา 2 ล้านบาท
    สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50(5) แห่งประมวลรัษฎากร เป็นดังนี้

  การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามวิธีการที่ได้แสดงให้เห็นข้างต้นนั้น เกิดจากเงื่อนไขการคำนวณดังนี้
 1.   ค่าใช้จ่ายและการนับจำนวนปีที่ถือครอง โดยแบ่งออกเป็น
 
  1.1       การหักค่าใช้จ่ายกรณีที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 50
 
  1.2       การหักค่าใช้จ่ายกรณีที่ได้อสังหามริมทรัพย์มาโดยการซื้อขาย หักค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
 
 
การนับจำนวนปีที่ถือครอง ให้นับตามปี พ.ศ.ที่ถือครอง เช่น ซื้อบ้านมาวันที่ 28 ธันวาคม 2552 ขายไปวันที่ 4 มกราคม 2553 จำนวนปีที่ถือครองคือ 2 ปี เพราะนับปี พ.ศ.2552 และพ.ศ.2553 ก็จะหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 84 แต่หากถือครองเกิน 10 ปี ให้นับเป็น 10 ปี
       (อัตราก้าวหน้า) ตามตารางการคำนวณภาษีเงินได้ ทั้งนี้ ในกรณีดังกล่าวไม่มีการยกเว้น ภาษีจากเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกแต่อย่างใด เพราะไม่ใช่การคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ

     การที่มีคนยกบ้านให้โดยเสน่หา หรือได้มาโดยไม่มุ่งในทางค้าหรือหากำไร และใช้สิทธิเลือกเสียภาษีตอนสิ้นปีโดยไม่นำไปรวมกับเงินได้อื่น เมื่อคำนวณภาษีแล้วจะเสียไม่เกินร้อยละ 20 ของราคาขาย(ราคาประเมิน)ทั้งนี้ตามมาตรา 48(4) วรรคสองแห่งประมวลรัษฎากร

     ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

นางสาวพอลล่า ขายบ้านในกรุงเทพฯ ไปใน ราคา 3,200,000 บาท โดยราคาประเมินอยู่ที่ 3 ล้านบาท เป็นบ้านซึ่งซื้อจากโครงการบ้านจัดสรรเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2548 จดทะเบียนโอนขายไปเมื่อวันที่ 2 เม.ย. 2553 จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายดังนี้

 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

   ครั้งที่แล้วได้พูดถึงภาระภาษีด้านต่าง ๆ สำหรับผู้ที่คิดจะขายบ้านไปแล้ว และจบท้ายด้วยภาระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย พร้อมตัวอย่างการคำนวณ ครั้งนี้มาว่าต่อด้วยเรื่องภาระภาษีธุรกิจเฉพาะกันเลย

 

   กรณีบุคคลธรรมดาขายบ้านที่ตนเองซื้อมา ให้พิจารณาภาระภาษีธุรกิจเฉพาะตรงที่ว่าได้บ้านมาเกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มา (ดูได้จากสารบัญหลังจดทะเบียนบ้านของโฉนดที่ดิน) ถ้าขายบ้านไปภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้มา ก็ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ถ้าขายบ้านที่ได้มาเกินกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาแล้ว ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 4(6) แห่ง พรฎ.ฯ (ฉบับที่342)ฯ

   แต่อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นการขายบ้านภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาหากเป็นกรณีดังต่อไปนี้ ก็ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (มาตรา 4(6)(ก)(ข)(ค)แห่ง พรฎ.ฯ (ฉบับที่ 342)ฯ

(1) การขายบ้านหรือถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
 
(2) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาทางมรดก
 
(3) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรไม่น้อยกว่าหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น

  ดังนั้น การขายบ้านจึงต้องดูด้วยว่าอยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามหลักเกณฑ์ข้างต้นหรือไม่ โดยผู้ขายจะต้องยื่นแบบ ภ.ธ.40 เพื่อเสียภาษีในขณะที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน (แต่ถ้ายังไม่มีการจดทะเบียนโอนก็ไม่ต้องเสีย) และเจ้าพนักงานที่ดินจะเป็นผู้เรียกเก็บ
 
    ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายการตุ้นธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์โดยใช้เครื่องมือทางภาษีด้วยการลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะลงเหลืออัตราร้อยละ 0.11 (รวมภาษีท้องถิ่น) ซึ่งได้ผลดีในระดับที่น่าพอใจเนื่องจากช่วยประหยัดภาษีได้มากจนกระทั่งต้องขยายกำหนดเวลา แต่ในปัจจุบันมาตรการดังกล่าวได้สิ้นสุดไปแล้ว 
 
 

ใบรับ (หรือตราสารที่แสดงว่ามีการชำระเงินค่าซื้อขายบ้านระหว่างกัน) ที่เกิดจากการขายบ้านเป็นตราสารที่อยู่ในบังคับต้องเสียอากรแสตมป์ตามลักษณะตราสารที่ 28 (ข) แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดยรายรับจาการขายบ้าน 200 บาท จะต้องเสียค่าอากรแสตมป์ จำนวน 1 บาท เศษของ 200 บาท ให้เสีย 1 บาทโดยเจ้าพนักงานที่ดินจะเป็นผู้รับชำระอากรแสตมป์เมื่อมีการโอนบ้าน แต่อย่างไรก็ดี หากการขายบ้านดังกล่าวอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ก็จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรแสตมป์แต่อย่างใดผู้ที่ขายบ้านจะสังเกตเห็นได้ว่าเจ้าพนักงานที่ดินจะเรียกเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะหรืออากรแสตมป์ อย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น ไม่เรียกเก็บทั้ง 2 ประเภทภาษี
 
   เมื่อรู้วิธีคำนวณภาษีและค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการโอนบ้านแล้ว  นายโดมก็คงจะคำนวณค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขายบ้านได้บ้าง ก็อยู่ที่ทั้งนายโดมและนางสาวพลอยจะตกลงกันว่า ใครจะช่วยรับภาระเรื่องใด มิฉะนั้นภาระทั้งหมดก็จะตกอยู่กับนายโดมซึ่งถือเป็นผู้มีเงินได้ ยกเว้นแต่ค่าธรรมเนียมการโอนซึ่งทั้งผู้ขายและผู้ซื้อต้องรับภาระกันคนละครึ่งหนึ่ง ในกรณีของนายโดมหากไม่ได้มีการตกลงกันก่อน ภาระภาษีของนายโดมก็จะคิดเป็นจำนวนเงิน 373,000 บาท เพราะนางสาวพลอย - ผู้ซื้อ มีภาระค่าธรรมเนียมการโอนจำนวน 50,000 บาท

   ดังนั้น หากท่านที่ต้องการจะขายบ้านได้ศึกษารายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับภาระภาษีดังกล่าวแล้วก็คงพอจะคำนวณเงินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นได้คร่าว ๆ เพื่อที่จะได้ตกลงราคาขายแน่นอน ที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งก็คือ หากท่านติดต่อผู้อื่นเป็นนายหน้าขายบ้าน ก็อย่าลืมบวกกลับเงินค่าตอบแทนค่านายหน้าเพิ่มเข้าไปอีกด้วย เพราะราคาบ้าน ณ ปัจจุบันค่านายหน้าคงไม่ยิ่งหยอนไปกว่าค่าภาษีบวกด้วยค่าธรรมเนียมเสียอีก
 
 
 
 

ที่มา : สรรพากรสาส์น Plus ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 เดือน เมษายน 2553




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT