ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

                                                เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย   

 

                                                                    

 

มีปืนแล้วยิงคนตาย แบบไม่มีความผิดเลย  ก็คือยิงเพื่อป้องกันสิทธิของตนเอง
หรือผู้อื่น  ให้พ้นจากภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง  ถ้าได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ  การกระทำนั้น
เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย  ผู้นั้นไม่มีความผิด   ตามความในประมวล
กฎหมายอาญามาตรา  ๖๘ 

     จึงขออนุญาตท่านลงข้อความทางกฎหมาย
เพื่ออธิบายรายละเอียดของการป้องกันตัวให้สมาชิกได้ทราบเป็นความรู้ครับ
เพราะเป็นสิ่งสำคัญกับคนมีปืน  ที่จะต้องรู้  และนำเอาไปใช้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

    หลักเกณฑ์ของการป้องกันตัวโดยชอบด้วยกฎหมาย  ( มี ๔ ข้อ ) คือ

๑ .  มีภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย
เช่น  มีคนมาปล้น  มาจะฆ่า  จะทำร้าย  เป็นต้น
ระวัง  หากเขามีสิทธิทำร้ายเราได้  เช่นพ่อมีสิทธิว่ากล่าว / ตีลูก   เมื่อเราทำผิดบิดามารดา
ลงโทษเรา /ตีเรา  ไม่ถือเป็นภยันตรายตามข้อ ๑ นี้  เราตอบโต้แล้วอ้างป้องกันไม่ได้
  มีฎีกา ที่ ๔๒๙/๒๕๐๕ ว่าพระตีลูกศิษย์   ลูกศิษย์ตอบโต้  ฆ่าพระ  ไม่เป็นป้องกัน

     กรณีเห็นเมียกำลังนอนกอดกับชายชู้  ถือเป็นภยันตรายที่มาละเมิดตามข้อ ๑ แล้ว
แต่ก็แยกว่า    ถ้าภริยาจดทะเบียนสมรสกับเรา   เราฆ่าชู้  เป็นป้องกัน ( ฏีกาที่๓๗๘/๒๔๗๙ )
แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียน  ไม่เป็นป้องกัน  แต่อ้างบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๒  เพื่อให้ศาลลงโทษน้อยลงได้ ( ฎีกาที่ ๒๔๙/๒๕๑๕ )

     แม้จะมีภยันตรายตามข้อ ๑ แล้วก็ตาม  แต่ผู้ที่จะอ้างป้องกันได้ 
จะต้องไม่มีส่วนผิดในการก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวขึ้นด้วย  คือ
 
-   ไม่เป็นผู้ที่ก่อภัยขึ้นในตอนแรก
เช่น ฎีกาที่ ๒๕๑๔/ ๒๕๑๙  จำเลยชกต่อยก่อน แล้ววิ่งหนี    เขาไล่ตามต่อเนื่อง
ไม่ขาดตอน  จำเลยยิงเขาตาย   อ้างป้องกันไม่ได้
-    ไม่เป็นผู้ที่สมัครใจเข้าวิวาทกัน
เช่นฎีกาที่ ๒๓๒๒/๒๕๒๒  จำเลยโต้เถียงกับคนตาย   แล้วก็ท้าทายกัน 
สมัครใจเข้าชกต่อยต่อสู้กัน   แม้คนตายจะยิงก่อน   แล้วจำเลยยิงสวน
ก็อ้างป้องกันไม่ได้
-    ไม่เป็นผู้ที่ยินยอมให้ผู้อื่นกระทำต่อตนโดยสมัครใจ
เช่น ให้เขาลองของคุณไสย์  คงกระพัน  แล้วจะไปโกรธตอบโต้ภายหลัง
อ้างป้องกันไม่ได้
-    ไม่เป็นผู้ที่ไปยั่วให้คนอื่นเขาโกรธก่อน
เช่นไปร้องด่าพ่อแม่  ด่าหยาบคายกับเขาก่อน  พอเขาโกรธมาทำร้ายเรา
เราก็ตอบโต้  เราอ้างป้องกันไม่ได้

๒.  เป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง
เช่น เขากำลังจะยิงเรา  เราจึงต้องยิงสวน 
ฎีกาที่ ๒๒๘๕ / ๒๕๒๘  จำเลยกับคนตายคุยตกลงกันเรื่องแบ่งวัว  จำเลยชวน
ให้ไปคุยตกลงกันที่บ้านกำนัน   คนตายไม่ยอมไป   กลับชักปืนออกมาจากเอว
จำเลยย่อมเข้าใจว่าจะยิงตน   จึงยิงสวน   ๑ นัด  เป็นป้องกัน
ฎีกาที่ ๑๗๓๒ /๒๕๐๙  คนตายชักมีดพกจากเอวมาถือไว้ แล้วเดินเข้ามาหาจำเลย
ระยะกระชั้นชิด  จำเลยยิงสวน ๑ ที   คนตายยังเดินต่อเข้ามาอีก  จึงยิงสวน อีก ๑ ที
ล้มลงตาย  เป็นป้องกันสมควรแก่เหตุ
ฎีกาที่  ๑๗๔๑/ ๒๕๐๙  คนตายจับมือถือแขนคู่หมั้นจำเลย   พอจำเลยมาเห็น
คนตายก้มหยิบมีดพร้าที่วางใกล้ๆ  ยาว ๑๒ นิ้ว   ด้ามยาวอีก ๑๒ นิ้ว 
แสดงว่าคนตายจะทำร้ายทันทีเมื่อหยิบมีดได้   จำเลยใช้มีดฟันตนตายไป ๑ ที
ป้องกันพอแก่เหตุ
ฎีกาที่๑๖๙ / ๒๕๐๔ คนตายเมาสุราร้องท้าทายจำเลยให้มาต่อสู้กัน
จำเลยไม่สู้  คนตายถือมีดดาบปลายแหลมลุยน้ำข้ามคลอง จะเข้าไปฟันจำเลย
ถึงในบ้าน  จำเลยไม่หนีเพราะบ้านตัวเอง  และใช้ปืนยิงสวนไป ๑ นัด
ขณะที่คนตายอยู่ห่าง ๖ ศอกถึง ๒ วา   เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

 -ฎีกานี้วางหลักว่า ผู้รับภัยไม่จำเป็นต้องหลบหนีภยันตราย  ก็อ้างป้องกันได้

๓. ผู้กระทำจำต้องกระทำเพื่อป้องกันสิทธิของตนเองหรือผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายนั้น
 ข้อนี้ตามที่อธิบายข้างต้นไปแล้ว

๔. ต้องเป็นการกระทำป้องกันสิทธิที่ไม่เกินขอบเขต
ไม่งั้นจะเป็นการป้องกันที่เกินสมควรกว่าเหตุ หรือเกินกว่ากรณีแห่งการ
จำต้องกระทำเพื่อป้องกัน  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๙ ไป
ซึ่งจะทำให้ยังมีความผิดอยู่

แบบไหนไม่เกินกว่าเหตุ  ยากมากครับ  ต้องแล้วแต่พฤติการณ์แห่งคดีที่เกิดขึ้น

ฎีกาที่ ๘๒๒ / ๒๕๑๐ คนตายเป็นฝ่ายก่อเหตุก่อน จะเข้ามาชกต่อยทำร้ายจำเลย
จำเลยจึงเอาปืนยิงลงพื้นดินไป ๑ นัด เพื่อขู่ให้คนตายกลัว  แต่คนตายไม่หยุด
กลับเข้ามากอดปล้ำใช้แขนรัดคอแล้วแย่งปืนจำเลย  จำเลยจึงยิงขณะชุลมุนนั้น
ไป ๑ นัด  ตาย  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ  ไม่มีความผิด

ฎีกาที่ ๙๔๓ /๒๕๐๘  คนร้ายจูงกระบือออกจากใต้ถุนบ้านแล้ว มีปืนลูกซองมาด้วย
จำเลยร้องถามแล้ว คนร้ายหันปืนมาทางจำเลย   จำเลยยิงสวนทันที 
ศาลฎีกาบอกว่า   คนร้ายหันปืนมาแล้ว  อาจยิงได้  และถ้าจำเลยไม่ยิง คนร้ายก็อาจเอา
กระบือไปได้  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่ ๑๒๕๖ /๒๕๓๐   คนตายบุกรุกเข้าไปฉุดลูกสาวในบ้านจำเลย
เมื่อมารดาเด็กเข้าห้ามถูกคนร้ายตบหน้า  แล้วจะฉุดพาลูกสาวออกบ้าน
จำเลยยิงไปทันที ๔ นัด  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่  ๖๐๖ / ๒๕๑๐ คนตายเข้ามาชกจำเลย  จำเลยล้มลง  คนตายเงื้อมีด
จะเข้าไปแทง  จำเลยยิงสวน  เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุ
 
         เทียบกับ

ฎีกาที่ ๒๗๑๗/ ๒๕๒๘  คนตายยืนถือมีดอยู่ห่าง ๒ วา  ยังไม่อยู่ในลักษณะพร้อมที่
จะฟันทำร้ายจำเลย  การที่จำเลยด่วนยิงคนตายไปก่อน
เป็นป้องกันจริง  แต่เกินสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่  ๔๕๔๔ / ๒๕๓๑  คนตายบุรุกเข้าไปในบ้านจำเลยยามวิกาล
เมื่อจำเลยได้ยินเสียงผิดปกติ  คว้าปืนลงมาดู   คนตายยิงทันที
จำเลยยิงสวน  เป็นป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

ฎีกาที่  ๑๘๒ / ๒๕๓๒  ก.ถือไม้ไปที่บ้านจำเลย   ร้องท้าทายให้จำเลยมาสู้กัน
ก.เดินเข้าหาจำเลย  จำเลยตกใจกลัวว่า ก. จะเข้ามาเอาไม้ตีทำร้าย  จึงวิ่งไปเอาปืน
แล้วเล็งยิงไปที่ขา ก. รวม ๓ นัด  เมื่อรู้ว่ากระสุนถูกที่ขา ก. จำนวน ๑ นัด
จำเลยก็ไม่ยิงซ้ำ  เป็นป้องกันที่พอสมควรแก่เหตุ

คราวนี้มาดูกรณีที่ถือว่าเกินสมควรกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๒๙๘๓ / ๒๕๓๑   คนตายขับมอเตอร์ไซด์กลับบ้าน  พบจำเลยระหว่างทาง
จำเลยพูดทวงหนี้คนตาย  คนตายโกรธเคืองต่อว่าจำเลย  พร้อมเดินเข้าไปหาจำเลย
ด้วยมือเปล่าเพื่อจะทำร้าย   ระยะห่างประมาณ ๑ วา  จำเลยใช้ปืนยิง ๑ นัด
เป็นป้องกันตัวจากการจะถูกทำร้าย  แต่เกินกว่าเหตุเพราะคนตายมือเปล่า

ฎีกาที่  ๖๔ / ๒๕๑๕  ก.และ ข.มือเปล่าไม่มีอาวุธ เข้ารุมชกต่อยจำเลย
จำเลยใช้ปืนยิง  ในระยะติดพันกันนั้นรวม ๓-๔-๕ นัด  จน ก. ตาย 
เป็นป้องกันจริง   แต่เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่ ๔๐๕ / ๒๔๙๐  จำเลยเฝ้าไร่พืชผัก   คนตายเข้าไปในไร่ เวลากลางวันเพื่อ
จะลักพืชผัก   จำเลยจึงใช้ปืนยิงคนตาย   เป็นป้องกันจริง    แต่เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๑๓๔๓ / ๒๔๙๕  ยิงคนร้ายขณะกำลังวิ่งหนีและพาเอาห่อของที่ลักไปด้วย
โดยคนร้ายไม่ได้ทำอะไรแก่ตนเลย   เป็นป้องกัน  แต่เกินสมควรแก่เหตุมาก

    ฎีกาที่ ๒๙๔ /๒๕๐๐  ยิงคนร้ายที่จูงกระบือในเวลากลางคืน  ตรงนั้นมืดมาก
  โดยคนร้ายไม่ได้แสดงกริยาต่อสู้  เป็นป้องกันที่เกินสมควรกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๒๗๑๗ / ๒๕๒๘  คนตายเข้ามาลักลอบตัดข้าวโพดในไร่จำเลย
ในตอนกลางคืน  โดยคนร้ายเอามีดมาด้วย  แต่ขณะที่จำเลยมาเห็น  คนตายยืนถือมีด
ห่างประมาณ   ๒  วา ยังไม่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะฟันทำร้าย   จำเลยด่วนยิง
จึงเป็นการป้องกันที่เกินกว่าเหตุ

ฎีกาที่  ๑๘๙๕ / ๒๕๒๖  คนตายเมาสุรา  เดินถือปืนตรงเข้าไปหาบิดาจำเลย
พูดทำนองจะฆ่าบิดา   จำเลยจึงสกัดกั้นยิงคนตายไปก่อน ๑ นัด แล้วกระโดด
เข้าแย่งปืนคนตายมาได้   แต่กลับเอาปืนคนตายนั้นมายิงคนตายซ้ำอีก  ๓ นัด
จึงเกินกว่าเหตุ


ฎีกาที่ ๖๒๐ / ๒๕๓๒  คนตายถือมีดทำครัวบุกรุกเข้าไปในห้องจำเลยจะทำร้าย
แต่การที่จำเลยใช้ปืนยิงคนตายถึง ๕ นัด เป็นการเกินกว่าเหตุ

    ครับเป็นเกร็ดความรู้ทางกฎหมายเล็กๆน้อยๆ ที่นำมาฝากกันครับ ...

ที่มา : http://www.gunsandgames.com




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
ความยินยอมของคู่สมรส
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง