ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง

 

    ปัจจุบันหลายคนเริ่มหันมาค้าขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซต์ การค้าขายผ่านทางโซเชียลเน็ตเวิร์ค เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ หรือแม้แต่อินสตาแกรม (Instagram) หลายคนสามารถสร้างรายได้ได้เดือนหนึ่งๆ หลายหมื่น หรือหลายแสนบาทกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ที่คนไทยหันมาใช้เทคโนโลยีเป็นช่องทางสร้างรายได้ให้ตัวเอง หรือองค์กรมากขึ้น
  
แต่มีหลายคนยังไม่รู้ว่า "เมื่อไรก็ตามที่มีรายได้เกิดขึ้น ก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้รัฐ" 

 


ดังนั้น การขายสินค้าไม่ว่าจะเป็นช่องทางไหนๆ ก็ตาม ถือว่าคุณมีรายได้ เช่น คุณเปิดแผงร้านขายเสื้อในตลาดนัด, เปิดร้านขายของภายในห้าง หรือแม้แต่การเปิดเว็บไซต์ขายสินค้า หรือช่องทางอะไรก็ตามที่คุณสร้างรายได้ คุณมีหน้าที่ต้องเสียภาษี
  
การค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ทำแล้วต้องเสียภาษี จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ว่าหลายคนยังไม่ทราบ และไม่เข้าใจกัน บางส่วนอาจเข้าใจผิดว่า กรมสรรพากรเองจะออกมาตรการการเก็บภาษีเฉพาะคนทำการค้าออนไลน์ขึ้นมา
 
ผมขอบอกเลยครับว่า กรมสรรพากรไม่มีมาตรการอะไรใหม่ขึ้นมาสำหรับการค้าทางออนไลน์ 

    ผู้ค้าขายต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ผู้ที่ค้าขายไม่ว่าจะช่องทางไหน หรือผ่านช่องทางออนไลน์ต้องเสียภาษีภายใต้ประมวลกฎหมายรัษฎากรเหมือนธุรกิจอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ซึ่งมีผลบังคับใช้กับทุกธุรกิจ รวมถึงการค้าขายผ่านออนไลน์ด้วย ดังนั้นเมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาเจ้าของเว็บไซต์ต้องเสียภาษีเงินได้ และเมื่อสินค้าส่งออกไปให้ลูกค้า ลูกค้าที่สั่งซื้อก็ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
 
การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หากมีรายรับจากการขายสินค้า หรือให้บริการเกินกว่า 1.8  ล้านบาทต่อปี คุณมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขาย หักด้วยภาษีซื้อ
 

ดังนั้น เมื่อขายสินค้า หรือบริการ คุณต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบด้วยว่ามีภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ด้วย คุณจะรวมเข้าไป หรือแยกออกมาต่างหากก็แล้วแต่วิธีการของแต่ละคน และการซื้อขายสินค้าแต่ละครั้งจะออกใบกำกับภาษีให้ผู้ซื้อด้วย
 
ขณะที่ หากรายรับจากการขายสินค้า หรือบริการต่ำกว่า 1.8 ล้านต่อปี คุณก็ไม่ต้องไปยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้คุณไม่ต้องไปคิดภาษีเพิ่มกับลูกค้านะครับ

 


หากคุณค้าขายและจัดส่งสินค้าไปให้ลูกค้าที่ต่างประเทศผ่านทางไปรษณีย์จะได้สิทธิไม่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่มีหลักฐานการส่งสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร จะไม่ได้สิทธิการไม่จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แทน ดังนั้นหากผู้ประกอบการปฏิบัติตามขั้นตอนของการจัดส่งสินค้าไปต่างประเทศโดยผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกวิธี สามารถลดต้นทุนจากการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ (ลองปรึกษาไปรษณีย์ฯ ใกล้บ้านคุณ)

   


  จะอย่างไรก็ต้องเสียภาษีเงินได้ 

หากท่านทำการค้าไม่ว่า จะช่องทางไหนก็ต้องมีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้ แต่อาจจะแตกต่างกันระหว่างการเสียภาษีบุคคลธรรมดา (ชาวบ้านอย่างเราๆ) และภาษีนิติบุคคล (ในรูปแบบของบริษัท)
  
ดังนั้นเมื่อถึงเวลาสิ้นปี คุณก็ต้องนำรายรับและรายจ่ายที่เกิดขึ้นไปแสดง และยื่นภาษีเงินได้ต่อกรมสรรพากรว่า มีเงินได้อะไรบ้าง และจะเห็นว่า สรรพากรเริ่มให้ความสำคัญบุคคลธรรมดาที่ค้าขายผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว จะเห็นได้จากแบบฟอร์มยื่นเสียภาษีในปี เริ่มให้ระบุชื่อเว็บไซต์ของคุณเข้าไปด้วยตอนยื่นแบบเช่นกัน
 
ต้องบอกก่อนเลยว่า ผมไม่ได้ถูกกรมสรรพากรบังคับให้มาเขียนบทความนี้นะครับ เพียงแต่ผมเห็นว่า ตอนนี้หลายๆ คนยังเข้าใจผิดเรื่องนี้อยู่ และในฐานะคนไทย เราควรเข้าใจ และทำเรื่องนี้ให้ถูกต้อง เพราะหากคุณทำการค้า และไม่เข้าใจเรื่องภาษี หากเกิดการตรวจสอบขึ้น อาจจะเป็นผลเสียต่อคุณอย่างมากได้เช่นกัน
 

บทความโดย : ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ - เจ้าของเว็บไซต์  www.tarad.com

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์  วันที่ 19 เมษายน 2555     

 

    ซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตเก็บภาษีอย่างไร      




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT