ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ปัญหาค่ารับรอง สมาชิกกอล์ฟ สมาชิกสโมสรกีฬา

 

 

 

ปัญหาค่ารับรอง


ในสัปดาห์นี้ขอนำปัญหาค่ารับรองหรือค่าบริการในส่วนที่เกี่ยวกับค่าสมาชิกสนามกอล์ฟ สโมสรการกีฬา (Sport Club) หรือสโมสรเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการ(Member Club)มาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายเงินค่าสมาชิก เงินประกัน เงินมัดจำ เงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือเงินอื่นที่จ่ายไปในลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ สโมสรการกีฬา หรือสโมสรเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการ หรือค่าเล่นกอล์ฟ ค่าเล่นกีฬา ค่าตอบแทนเพื่อการพักผ่อน หรือสันทนาการ ในการใช้สิทธิดังกล่าว โดยจ่ายเงินตามข้อกำหนดในลักษณะเป็นการจำกัดเฉพาะตัวบุคคลบางคนซึ่งเป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้เข้าไปใช้บริการได้อย่างไร

 

วิสัชนา กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.56/2537 ดังนี้

 

1.กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายเงินค่าสมาชิกหรือเงินอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันในการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ หรือสโมสรนันทนาการอื่นดังกล่าวรวมทั้งค่าเล่น(Fee)ในลักษณะเป็นการจำกัดเฉพาะตัวแก่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกัน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้เข้าไปใช้บริการ ไม่ว่าจะมีการนำบุคคลอื่นที่มิใช่กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าไปใช้บริการด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้ถือว่า รายจ่ายดังกล่าวรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายจ่ายดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเป็นการส่วนตัว ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

 

2.กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมอบสิทธิดังกล่าวให้แก่กรรมการพนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกันโดยเด็ดขาดไม่ว่าในกรณีการออกจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ถือว่าเงินดังกล่าวรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายจ่ายดังกล่าว เป็นประโยชน์ที่กรรมการพนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร โดยถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(1) หรือ (2) แห่งประมวลรัษฎากรของกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกัน นั้นในปีภาษีที่ได้รับเงินได้ทั้งจำนวน

 

3.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร และนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบ ภ.ง.ด.1 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายเงินได้ ปุจฉา มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีการจ่ายเงินค่าสมาชิก เงินประกัน เงินมัดจำ เงินจ่ายล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือเงินอื่นที่จ่ายไปในลักษณะทำนองเดียวกันเพื่อการได้มาซึ่งสิทธิในการเป็นสมาชิกสนามกอล์ฟ สโมสรการกีฬาหรือสโมสรเพื่อการพักผ่อนหรือสันทนาการหรือค่าเล่นกอล์ฟ ค่าเล่นกีฬา ค่าตอบแทนเพื่อการพักผ่อน หรือสันทนาการ ในการใช้สิทธิดังกล่าว โดยเป็นการจ่ายตามข้อกำหนดเพื่อให้การรับรองลูกค้าหรือบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522) ซึ่งเปิดโอกาสให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษาหรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกัน ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเข้าไปใช้บริการได้เป็นการทั่วไป โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมอบสิทธิดังกล่าว ให้แก่ กรรมการพนักงาน ลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกันโดยเด็ดขาด อย่างไร วิสัชนา กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.56/2537 ดังนี้

 

1.กรณีดังกล่าวให้ถือว่ารายจ่ายดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นค่ารับรองที่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522)ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ตามมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร

 

2. กรณีดังกล่าว ไม่ถือว่า เงินดังกล่าวรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับรายจ่ายดังกล่าวเป็นประโยชน์ที่กรรมการพนักงานลูกจ้าง ที่ปรึกษา หรือบุคคลอื่นในตำแหน่งในลักษณะทำนองเดียวกันของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับเพราะไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายจากลูกจ้างแต่อย่างใด พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ

 

                                                  ที่มา..กรุงเทพธุรกิจ

                                                    

                                                              

 

 



หน้า 1/1
1
[Go to top]