ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



 

 

รายจ่ายทั่วไปในการดำเนินงาน



   เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่ายในการดำเนินกิจการตามมาตรา 65 ทวิ 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเงื่อนไขที่สำคัญ และต้องพึงระมัดระวังมิให้เกิดประเด็นรายจ่ายที่ต้องห้าม (NON DEDUCTIBLE EXPENSE)

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :

ซึ่งนอกจะมีผลกระทบต่อจำนวนกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรแล้ว ยังทำให้มีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องคำนวณจากรายจ่ายต้องห้ามนั้นอีกด้วย จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา-วิสัชนา ดังต่อไปนี้

ปุจฉา มีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายทั่วไป ในการดำเนินกิจการอย่างไร

วิสัชนา ในทางธุรกิจมักจะคำนึงถึงรายจ่ายในการดำเนินงาน ในลักษณะที่มีความประสงค์จะจำกัดจำนวนให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ แต่ครั้นในทางภาษีอากรผู้ประกอบกิจการกลับต้องเปลี่ยนแนวความคิดเป็นว่าต้องมีรายจ่ายให้มากขึ้น เพื่อให้จำนวนกำไรสุทธิลดลง อันจะทำให้จำนวนภาษีเงินได้นิติบุคคลลดลงตามส่วนด้วยเช่นกัน สำหรับรายจ่ายทั่วไปที่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

1. ต้องเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ เช่น

(1) ต้นทุนสินค้าหรือบริการ

(2) ค่าใช้จ่ายในการขายหรือการบริหาร

(3) ค่าสวัสดิการพนักงาน เช่น ค่าใช้จ่ายในการนำพนักงานของบริษัท ไปทัศนาจรเป็นการพักผ่อนเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพ และกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยจัดเป็นคณะมิใช่เจาะจงเป็นการเฉพาะราย เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการของบริษัท โดยตรง ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร

2. ต้องเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ และมีเหตุผลอันสมควรในอันที่จะจ่ายรายจ่ายนั้น เช่น

การนำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาใช้ในกิจการของบริษัท โดยไม่ต้องเสียค่าเช่า แต่บริษัท ต้องออกค่าซ่อมแซม ออกอะไหล่ และส่วนประกอบ หรือออกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงหรืออื่นๆ โดยมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยอมให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/16530 ลงวันที่ 19 ส.ค. 2523)

บริษัท ตั้งตัวแทนย่อยเพื่อจำหน่ายสินค้าของตนในต่างจังหวัด และตั้งกฎเกณฑ์ว่า ตัวแทนรายใดจำหน่ายสินค้าได้ในปริมาณที่กำหนด บริษัทจะส่งไปดูงานการผลิตและจำหน่ายในต่างประเทศ

(1) บริษัท นำรายจ่ายค่าพาหนะเดินทางทั้งค่าที่พัก ค่าอาหารที่จ่ายไปให้แก่ตัวแทนดังกล่าว หาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใด ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องแจ้งให้ตัวแทนทราบโดยทั่วกัน

(2) เงินค่าพาหนะเดินทาง ค่าที่พัก และค่าอาหารดังกล่าว ตัวแทนจะต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ด้วย เพราะเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0804/24215 ลงวันที่ 12 ธ.ค. 2523)

บริษัท จ่ายเงินตอบแทนพิเศษแก่พนักงานในโอกาสครบ 20 ปีการก่อตั้งบริษัท ตามรายงานการประชุม ถือเป็นรายจ่ายได้ เพราะบริษัท มีระเบียบวางไว้แล้ว ตามรายงานการประชุมบริษัท และมิได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0802/6739 ลงวันที่ 21 เม.ย.2526)

3. ต้องเป็นรายจ่ายที่มีหลักฐานการจ่ายที่สามารถพิสูจน์ผู้รับได้ ได้แก่ ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบสั่งของ ใบแจ้งหนี้ เป็นต้น สำหรับในบางกรณีที่ไม่มีการจ่ายเงิน หรือค่าตอบแทนอย่างอื่น แต่เกิดค่าใช้จ่ายขึ้น เช่น กรณีภัยพิบัติต่างๆ อุบัติเหตุ การฉ้อโกง การลักขโมย ฯลฯ กิจการต้องแสวงหาหลักฐานที่จะสนับสนุนรายการรายจ่ายดังกล่าว เช่น หลักฐานการแจ้งความลงบันทึกประจำวันของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ภาพถ่าย ข่าวสารหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

4.ต้องเป็นรายจ่ายสิ้นเปลืองหมดไป ที่ไม่ก่อให้เกิดสิทธิหรือทรัพย์สินใดๆ ที่มีอายุการใช้งานเกินหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี รวมทั้งรายจ่ายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่มิใช่รายจ่ายในการปรับปรุงทรัพย์สินให้มีสภาพหรือคุณภาพดีกว่าวันที่ได้รับทรัพย์สินนั้นมา เช่น รายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินที่มิใช่การซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม

5.รายจ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีปีใด ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีนั้น เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็ให้ถือเป็นรายจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปีที่รายจ่ายนั้นกำหนดจำนวนที่แน่นอนได้

6.ต้องเป็นรายจ่ายที่ไม่เข้าลักษณะเป็นรายจ่ายที่ต้องห้ามตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

ในทางบัญชีภาษีอากร นักบัญชีมีหน้าที่จำแนกรายจ่ายในการดำเนินงานและรายจ่ายฝ่ายทุนให้ชัดเจนตั้งแต่แรก ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติเกี่ยวกับรายจ่ายทางบัญชีและทางภาษีอากรถูกต้อง สมบูรณ์โดยไม่ต้องมีความกังวลใดๆ อีก

  ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 5/7/49                                                                                                                  



หน้า 1/1
1
[Go to top]