ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



กรรมการกับความผิดทางอาญา

 

 กรรมการกับความผิดทางอาญา

 

    ความรับผิดชอบของผู้ที่มีตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทนั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบกิจการและผลกำไรของบริษัทแล้ว ในปัจจุบันยังจะต้องมีความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่งคือ ระมัดระวังมิให้มีการดำเนินกิจการของบริษัทไปในทางที่เป็นการกระทำผิดต่อกฎหมาย

    แนวความคิดเรื่องการลงโทษผู้กระทำที่เป็นบริษัทนิติบุคคลนั้น ยังเป็นที่ถถเถียงกันอยู่ว่า  นิติบุคคลเช่น บริษัททั้งหลายเหล่านี้จะรับโทษทางอาญาได้หรือไม่ เพราะบริษัทเหล่านี้ไม่มีตัวตนอยู่จริง ไม่มีความรู้สึกนึกคิดของตนเองจะกระทำความผิดได้อย่างไร ดังนั้นจึงถือว่าตามปกตินิติบุคคลจะกระทำความผิดได้อย่างไร ดังนั้นจึงถือว่า ตามปกตินิติบุคคลไม่อาจทำผิดและรับโทษอาญาได้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายว่าให้นิติบุคคลรับผิดทางอาญาในความผิดนั้น ส่วนเจตนาของนิติบุคคลนั้นย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนนิติบุคคล เช่น กรรมการ เมื่อผู้แทนนิติบุคคลแสดงเจตนาซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้แทนในการดำเนินกิจการตามวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล เจตนานั้นก็ผูกพันนิติบุคคลและต้องถือว่าเป็นเจตนาของนิติบุคคลนั้นเอง ฉะนั้น นิติบุคคลจึงอาจมีเจตนาเป็นองค์ประกอบความผิดในทางอาญาและกระทำความผิด ซึ่งผู้กระทำความผิดต้องมีเจตนา รวมทั้งต้องรับโทษทางอาญาเท่าที่ลักษณะแห่งความผิดเปิดช่องให้ลงโทษแก่นิติบุคคลได้ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามลักษณะความผิด พฤติการณ์แห่งการกระทำและอำนาจหน้าที่ของผู้แทนนิติบุคคลประกอบกับวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลรายๆไปโดยมีกฎหมายหลายฉบับที่บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่บริษัทกระทำผิดให้เอาโทษแก่กรรมการด้วย เช่น 

   1. พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542  มาตรา 54 บัญญัติว่า “ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้หรือยินยอมหรือตนได้จัดการตามสมควร เพื่อป้องกันมิให้เกิดความผิดนั้นแล้ว”

       2. พระราชบัญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 บัญญัติว่า “ในกรณีที่นิติบุคคลกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่ากรรมการหรือผู้จัดการทุกคนของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า การกระทำของนิติบุคคลนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย”

      3. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มาตรา 63 บัญญัติว่า “ ในกรณีที่ห้างหุ้นส่วนบริษัท หรือนิติบุคคลอื่นกระทำผิดตามพระราชบัญญตินี้ กรรมการ ผู้จัดการ หรือนิติบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการกระทำอันเป็นความผิดนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยตนมิได้รู้หรือยินยอมด้วย”

    อนึ่ง ในทางปฎิบัติมีคดีอยู่มากมายหลายคดีที่ศาลตัดสินลงโทษกรรมการบริษัทในการกระทำความผิดของบริษัทด้วย เช่น

        1. จำเลยเป็นกรรมการและผู้จัดการบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยในฐานะผู้จัดการบริษัทได้สั่งน้ำนมโคผงจากต่างประเทศ ปรากฎว่าน้ำนมโคผงมีน้ำมันเนยไม่ถึงร้อยละ 26  ดังนั้น แม้จำเลยจะอ้างว่าทำในฐานะของผู้แทนนิติบุคคล ก็ไม่เป็นข้อแก้ตัวให้พ้นผิดได้ เพราะจำเลยเป็นผู้สั่งให้บริษัทต่างประเทศส่งสินค้าเข้ามา จำเลยจึงเป็นผู้กระทำการซึ่งเป็นความผิด ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2497

        2. กรรมการของบริษัทนิติบุคคลสั่งของต้องห้ามจากต่างประเทศแทนบริษัทนิติบุคคลโดยมิได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ก่อน แม้จะอ้างว่าสำคัญผิดในของที่สั่งมานั้นว่าไม่ใช่ของต้องห้าม ก็ยังคงต้องมีความผิด กรณีเช่นนี้ถือว่ากรรมการบริษัทและบริษัทเป็นผู้ร่วมกระทำผิด ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2503

        3. การที่ผู้จัดการห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นโดยกระทำไปในอำนาจหน้าที่ทางการค้าอันเป็นวัตถุที่ประสงค์และเพื่อประโยชน์ทางการค้าของห้างหุ้นส่วน ถือได้ว่าเป็นเจตนาและการกระทำของห้างหุ้นส่วน ฉะนั้น ห้างหุ้นส่วนจึงต้องรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกับหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737-788/ 2506

        4. ผู้จัดการบริษัทจำกัด โฆษณาหลอกขายที่ดินแก่ประชาชน แม้มีผู้สั่งจองโดยยังไม่ชำระเงิน  ซึ่งมีผู้ซื้อเพียงรายเดียวที่แจ้งความร้องทุกข์ก็เป็นความผิด และบริษัทจำกัด ก็มีความผิดด้วย ศาลลงโทษปรับบริษัทและจำคุกผู้จัดการได้ ตามคำพิพากษาศาลฎีที่ 97/ 2518

    แต่ในกรณีของการกระทำผิดกฎหมายแล้วจะต้องรับโทษ เช่น จำคุกนั้น กรรมการจะอ้างเอามติที่ประชุมผู้ถือหุ้นมาเป็นข้อแก้ตัวให้พ้นจากความรับผิดนั้นไม่ได้ เพราะเป็นคนละเรื่องกัน การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นเรื่องที่ทำให้กรรมการไม่ต้องถูกบริษัทหรือผู้ถือหุ้นฟ้องร้อง เพราะได้ทำตามที่ผู้ถือหุ้นบอก แต่เรื่องการกระทำผิดกฎหมายแล้วต้องรับโทษทางอาญานั้น จะอ้างว่าทำตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นไม่ได้ เพราะฉนั้นเป็นเรื่องที่กรรมการต้องคอยระมัดระวังเอาเองว่าอย่าไปทำผิดกฎหมายอาญาเข้า ทางออกของกรรมการก็เห็นจะมีอยู่อย่างเดียวว่า ตามปกติในกฎหมายฉบับต่างๆที่บอกว่าถ้าบริษัททำผิดกรรมการไม่ต้องรับผิด ถ้าพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นได้กระทำโดยสุจริต ดังนั้น ถ้าหากไม่มีส่วนเกี่ยวข้องจริงๆก็สามารถอ้างเป็นข้อแก้ตัวได้

  ความรับผิดของกรรมการบริษัท

  รวมบทความคำแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ

บทความโดย : ภัทรานิษฐ์ อุดมพรสุขสันต์    อ้างอิงจาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)     




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)