ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ

 

ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ

 

 

   ทําอย่างไรเมื่อธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่เกิดขาดเงินหมุนเวียนขึ้นมา คำตอบแรกๆ ของคนส่วนใหญ่ก็คือ ไปกู้เงินระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินก็อยากจะให้กู้อยู่แล้ว เพราะเป็นธุรกิจหลักของสถาบันการเงิน เนื่องจากสถาบันการเงินได้ดอกเบี้ย

ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ ธุรกิจก็จะมีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นในงบกำไรขาดทุน ถ้าสภาพคล่องดีมีรายได้เพิ่มมากกว่ารายจ่ายดอกเบี้ยก็รอดตัวไป ถ้ารายได้จากการเพิ่มสภาพคล่องไม่เพิ่มจะทำอย่างไร เพราะดอกเบี้ยไม่ได้หยุดคิดตามไปด้วย ดังนั้นจะมีวิธีไหนที่จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นยามเงินขาด โดยไม่มีภาระดอกเบี้ยหรือไม่ จะว่าไปแล้วก็พอจะมีวิธีอยู่บ้างครับ

ผู้บริหารธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ทำมาค้าขายเก่ง แต่ไม่ค่อยถนัดหรือใส่ใจกับการบริหารเงินควบคู่กันไป โดยคิดแต่ว่าจะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ดีกว่าคู่แข่ง ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก คู่แข่ง โดยไม่ได้สนใจการหมุนเวียนของเงินในกิจการเท่าที่ควร

กล่าวคือ พอธุรกิจเงินหมุนเวียนไม่พอ แทนที่จะแก้ไขการบริหารเงินให้เกิดสภาพคล่องไม่ให้เงินขาดมือ กลับไปใช้วิธีการกู้ยืมเงินมาทดแทน ซึ่งแน่นอนเงินต้นมาพร้อมดอกเบี้ยเสมอ ธุรกิจก็จะมีภาระเพิ่มขึ้น และเมื่อรายได้เข้ามากลบไม่ทันก็เป็นเหตุให้ธุรกิจไปไม่รอด ในที่สุดก็กลายเป็นหนี้เสียของสถาบันการเงิน

ดังนั้น เรามาเริ่มต้นจากการที่ว่าเงินขาดมือได้อย่างไร สาเหตุหลักๆ คือ เงินสดออกจากกิจการไปแล้วกลับเข้ามาไม่ทันเลยทำให้ขาดเงิน ทีนี้เราก็มาดูต่อว่ามีอะไรบ้างที่ทำให้เงินสดออกไปแล้วจะกลับมาไม่ทัน

เริ่มจากวันแรกธุรกิจมี เงินสด -> ซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบ -> ผลิตสินค้าหรือบริการสำหรับจำหน่าย -> จำหน่ายสินค้าหรือบริการ -> เก็บเงินจากลูกค้า -> เงินสด นี่คือวงจรที่เงินสดออกไป แล้วกว่าจะกลับมาเป็นเงินสดของกิจการอีกครั้ง ซึ่งเรียกว่า วงจรการดำเนินงาน ธุรกิจส่วนใหญ่ทุกธุรกิจมีวงจรการดำเนินงานเป็นแบบนี้เหมือนกันหมด 

 ดังนั้นหลักๆ ที่เงินของธุรกิจไปจมอยู่ก็คือ สินค้าคงคลัง และลูกหนี้การค้า ซึ่งทั้งสอง ตัวนี้เราเรียกรวมกันว่าสินทรัพย์การค้า

จากวงจรการดำเนินงานดังกล่าว เราสามารถดูความเสี่ยงของแต่ละธุรกิจได้ ความเสี่ยงของธุรกิจหลักๆ ก็คือ เงินที่ลงทุนลงแรงไปมันไม่กลับมา หรือกลับมาช้ากว่าที่คาดการณ์ เช่น เอาเงินสดไปซื้อวัตถุดิบมาผลิตสินค้า ก็ต้องมานั่งลุ้นแล้วว่าจะผลิตสินค้าสำเร็จหรือไม่ มีสินค้าที่เสียหายระหว่างการผลิตเยอะหรือไม่ เพราะมันเป็นเงินที่หายไป หลังจากผลิตเสร็จก็ต้องมานั่งลุ้นอีกว่าจะขายสินค้าได้หรือไม่ ถ้าขายเป็นเงินเชื่อก็ต้องมานั่งลุ้นอีกว่าลูกหนี้การค้านั้นจะเอาเงินมาจ่ายคืนหรือไม่ เพราะจะได้มีเงินสดกลับเข้ามาที่บริษัท แต่ถ้าขายเป็นเงินสดก็จบไป เพราะได้เงินกลับเข้ามาเลย

จะเห็นว่าธุรกิจที่ขายเป็นเงินสดจะเสี่ยงน้อยกว่าธุรกิจที่ขายเป็นเงินเชื่อ เพราะลุ้นน้อยกว่า กล่าวคือ ไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าลูกหนี้การค้าจะเบี้ยวหนี้หรือไม่ ในทำนองเดียวกัน ธุรกิจที่ซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขายเลยก็จะเสี่ยงน้อยกว่าธุรกิจที่ซื้อวัตถุดิบมาผลิตเพื่อขาย เพราะไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าจะผลิตสำเร็จหรือไม่ จะเสียหายระหว่างการผลิตเยอะหรือไม่

ธุรกิจที่มีสินค้าคงคลังเยอะ เราเรียกว่ามี ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงคลังนาน หรือมีลูกหนี้การค้าเยอะ ให้ระยะเวลาการขายเชื่อนาน เราเรียกว่ามีระยะเวลาเรียกเก็บเงินนาน ก็จะทำให้เงินสดที่ออกไปในวันแรกกว่าจะกลับเข้ามาในวันสุดท้ายนั้นนาน แสดงว่าธุรกิจนั้นมีวงจรการดำเนินงานที่ยาว เช่น ธุรกิจมีระยะเวลาการถือครองสินค้าคงคลัง 2 อาทิตย์ มีระยะเวลาเรียกเก็บเงิน 4 อาทิตย์ ดังนั้นวงจรการดำเนินงานของธุรกิจเท่ากับ 6 อาทิตย์ (วงจรการดำเนินงาน = ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงคลัง + ระยะเวลาเรียกเก็บเงิน) ดังนั้นถ้าธุรกิจใดมีวงจรการดำเนินงานที่ยาวก็เท่ากับว่ามีเงินสดไปจมอยู่เยอะ ก็จะต้องการเงินหมุนเวียนในกิจการมากขึ้น ถ้าไม่มีเงินส่วนตัวก็ต้องกู้มากขึ้น

แต่ธุรกิจก็ยังมีตัวช่วยนะครับ ซึ่งก็คือ เจ้าหนี้การค้า ถ้าใครซื้อวัตถุดิบหรือสินค้ามาด้วยเงินเชื่อ ก็จะมีเจ้าหนี้การค้ามาเป็นตัวช่วยครับ เพราะแทนที่เงินสดจะออกจากกิจการไปวันแรกเลย ก็ยังไม่ออก เพราะได้เทอมการชำระเงินจากเจ้าหนี้การค้า จะสั้นจะยาวก็อยู่ที่อำนาจในการต่อรองของแต่ละบริษัท ซึ่งเราเรียกว่า Spontaneous Financing บางตำราก็แปลว่าเงินทุนที่เกิดขึ้นเอง บางตำราก็แปลว่าเงินทุนที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าใครต้องซื้อสินค้าเข้ากิจการเป็นเงินสดก็จะไม่มีตัวช่วยตัวนี้ เพราะเงินสดต้องออกจากกิจการในวันแรกเลย ถ้าธุรกิจได้เทอมจากเจ้าหนี้การค้า 4 อาทิตย์ ก็แสดงว่าธุรกิจไม่ต้องจ่ายเงินสดในวันแรก แต่เงินสดจะออกจากกิจการในต้นอาทิตย์ที่ 5 แทน ระยะเวลาการชำระเงินจึงเป็นตัวช่วยสำคัญของธุรกิจในเรื่องเงินหมุนเวียนของกิจการ

จากตัวอย่างเดิม ถ้าธุรกิจมีระยะเวลาการถือครองสินค้าคงคลัง 2 อาทิตย์ และมีระยะเวลาเรียกเก็บเงิน 4 อาทิตย์ รวมเป็น 6 อาทิตย์ แต่ถ้าธุรกิจได้เทอมจากเจ้าหนี้การค้า 4 อาทิตย์ ดังนั้นแทนที่เงินสดจะออกจากกิจการในอาทิตย์แรก และกลับเข้ามาในปลายอาทิตย์ที่ 6 (เงินจมอยู่ 6 อาทิตย์) เงินสดก็จะออกไปในต้นอาทิตย์ที่ 5 และเงินสดกลับเข้ามาในปลายอาทิตย์ที่ 6 (เงินจมอยู่ 2 อาทิตย์) เมื่อเงินที่จมอยู่น้อยลง ธุรกิจก็ต้องการกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องน้อยลง อธิบายได้ดังนี้

  ความต้องการในการกู้ยืม = ระยะเวลาการถือครองสินค้าคงคลัง + ระยะเวลาเรียกเก็บเงิน - ระยะเวลาการชำระเงิน

กลยุทธ์สำคัญที่จะมีเงินหมุนเวียนในกิจการโดยไม่มีภาระดอกเบี้ย หรือมีให้น้อยที่สุด ก็คือทำให้มีความต้องการในการกู้ยืมให้น้อยที่สุด ซึ่งสามารถจัดการตามสมการข้างต้น กล่าวคือ จัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ โดยให้มีระยะเวลาในการถือครองสินค้าคงคลังให้น้อยที่สุด หรือให้เทอมลูกหนี้การค้าให้สั้นลงหน่อย เรียกเก็บเงินให้เร็วขึ้นหน่อย โดยอาจให้ส่วนลดเพื่อจูงใจ ยิ่งขายเป็นเงินสดได้อันนี้ยิ่งดีครับ

เพราะได้เงินสดกลับมาเลย แถมไม่ต้องลุ้นหนี้สูญอีกด้วย หรือพยายามยืดระยะเวลาเรียกเก็บเงิน โดยพยายามต่อรองระยะเวลาการชำระค่าสินค้ากับเจ้าหนี้การค้าให้นานที่สุดเท่าที่จะต่อรองได้

บางครั้งคนเราก็ลืมนึกถึงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถจัดการได้ และอยู่ภายในบริษัทเราเอง ถามตนเองว่าจัดการสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพดีพอหรือยัง ก่อนที่จะไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่น (ไปกู้เงินจากสถาบันการเงิน) เพราะการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นนั้นมีต้นทุนนะครับ และสูงด้วย

บทความโดย :  กำพล สุทธิพิเชษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่าย / ฝ่ายบริหารงาน K Tranformation

           เครือข่ายการบริการ และการขาย ธนาคารกสิกรไทย

ที่มา : นสพ.โพสต์ทูเดย์  วันพุธที่ 16 กันยายน 2552




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน