ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!

 

ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!

 

   ธุรกิจขนาดย่อมนับพันรายเกิดขึ้นใหม่ทุกๆ ปี และจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ

ในอนาคตเนื่องจากการเริ่มทำธุรกิจจากที่บ้านไม่ใช่สิ่งที่ยากเย็นอีกต่อไป การมีธุรกิจเป็นของตัวเองดูเหมือนว่าจะเป็นแฟชั่นที่นิยมกันในศตวรรษที่ 21

พนักงานที่ทำงานเต็มเวลาหลายคนมีธุรกิจเล็กๆ เป็นของตัวเองในสาขาที่อยู่คนละแวดวงกับองค์กรนายจ้าง กิจการเหล่านี้เป็นธุรกิจกึ่งงานอดิเรก แต่เป้าหมายนั้นก็ยังคงเป็นการหารายได้เพิ่มเติม

การเปิดกิจการหรือการทำธุรกิจอย่างถูกกฎหมายนั้นไม่ใช่เรื่องยากเมื่อคุณมีเงินทุนเพียงพอ เพียงแค่จัดการจดทะเบียน ตั้งชื่อร้าน ขอเบอร์โทรศัพท์และมีที่อยู่สำหรับติดต่อ คุณก็สามารถทำธุรกิจได้แล้ว มีสำนักงานรับจ้างจดทะเบียนธุรกิจอยู่มากมายที่จัดการให้คุณได้ แต่เรื่องที่ยากและท้าทาย คือ ทำอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ            

ทุกๆ คนต่างก็อยากเปิดธุรกิจเล็กๆ มีลูกค้าเยอะๆ และทำเงินได้มหาศาล แต่หลายๆ ครั้ง ถนนสู่ความสำเร็จนั้นก็มีอุปสรรคเกิดขึ้นอยู่เสมอ และการรับมือกับอุปสรรคเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่จะบอกได้ว่าผลลัพธ์จะออกมาเป็นเช่นไร หากคุณต้องการมีธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ คุณต้องให้ความใส่ใจกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นและฝึกฝนตัวเองให้ไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ

การที่ธุรกิจประสบความล้มเหลวนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปัญหาภายในไม่ใช่เกิดจากผลกระทบภายนอก ต่อไปนี้เป็นสาเหตุ 15 ประการจากภายใน ที่ส่งผลให้ธุรกิจไปไม่ถึงที่ฝันไว้ ลองศึกษาและไตร่ตรองดูว่าจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้กันอย่างไร

1. การดูแลลูกค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือเรียกอีกอย่างว่าการบริการลูกค้า ซึ่งถือเป็นข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวงที่พบเห็นในธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่ประสบความสำเร็จ การบริการลูกค้าไม่ได้เป็นเพียงแค่ของแถมอีกต่อไปแล้วหากแต่เป็นสิ่งที่ลูกค้าคาดหวังจากผู้ให้บริการ และหากลูกค้าไม่ได้รับการบริการที่ดีและเป็นมืออาชีพ พวกเขาก็จะไปอุดหนุนธุรกิจของผู้ค้ารายอื่นที่ให้บริการได้ดีกว่า เทคนิคง่ายๆ ที่จะแก้ไขเรื่องนี้ คือ ให้คิดว่าตัวเองเป็นลูกค้า แล้วถามตัวเองว่าคุณพอใจกับบริการนี้หรือไม่ นอกจากนี้คุณควรให้เวลากับการรู้จักลูกค้าของคุณให้มากขึ้นด้วยเพื่อจะได้ดูแลเขาตรงใจมากขึ้น

2. การตลาดที่ไม่เพียงพอ ป้ายประกาศ “เปิดกิจการแล้ว” ไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะไม่มีใครสนใจว่าคุณกำลังทำอะไร ลูกค้าต้องการรู้ว่ากิจการของคุณช่วยอะไรเขาได้ มีอะไรที่ทำให้ชีวิตเขาสะดวกขึ้น มีทางเลือกที่ดีขึ้น คุณต้องตีโจทย์ให้แตกว่าใครเป็นลูกค้า ใครเป็นโอกาส และใช้งบประมาณ วิธีการ และรูปแบบให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย อย่าทำการตลาดแบบไม่มีกลยุทธ์

3. ทัศนคติของเจ้าของ ในบางครั้งคุณอาจจะเคยพบเห็นเจ้าของกิจการที่คิดว่าตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ที่ทุกคน ซึ่งรวมถึงพนักงานและลูกค้าจะต้องทำตามคำสั่ง ตามใจของเขา ทัศนคติเช่นนี้คงใช้ไม่ได้ในทศวรรษนี้ หลายครั้งที่คุณคงเคยได้ยินร้านอาหารเจ้าอร่อยที่ไม่ง้อลูกค้า สั่งก็ไม่ได้ ถามก็ไม่ได้ เข้ามาแล้วนั่งรออย่างเดียว สมัยนี้ลูกค้าก็แค่ฟังดูขำขำ อย่างดีก็ไปลองดูสักครั้ง ต้องอย่าลืมว่ายุคนี้ลูกค้ามีทางเลือกมากมาย

4. การฝึกอบรมพนักงานที่ไม่ได้มาตรฐาน พนักงานที่ไม่ได้ร้บการฝึกอบรมด้านการบริการลูกค้ามาเป็นอย่างดีอาจทำให้ลูกค้าหัวเสียและไม่อยากอุดหนุนกิจการอีกต่อไป ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะเล็กสักเพียงใดก็ตาม อย่าลืมว่ามันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่สำหรับคุณ คุณควรจะทำธุรกิจนี้ด้วยใจรัก และให้พนักงานของคุณมีใจรักที่จะให้บริการลูกค้าอย่างถูกวิธี และในมาตรฐานเดียวกัน การอบรมและติดตามผล รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขอย่างต่อเนื่องจะเป็นสิ่งที่ทำให้ธุรกิจของคุณมีจุดแข็งครองใจลูกค้าได้ยาวนาน

5. การใช้จ่ายเกินความจำเป็น คุณไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รุ่นใหม่ล่าสุดเสมอไป ในหลายๆ ครั้ง ข้าวของเก่าๆ ก็ยังสามารถใช้การได้ดี การเดินทางไปติดต่อธุรกิจโดยนั่งเครื่องบินระดับเฟิร์สคลาส หรือชั้นธุรกิจและพักโรงแรมระดับห้าดาวเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นสำหรับกิจการที่กำลังอยู่ในช่วงเติบโต ขอให้แยกฐานะส่วนตัวกับฐานะของธุรกิจออกจากกัน อย่าลืมว่าการทำกำไรทางธุรกิจมีอยู่ 2 ทางหลัก คือ เพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่าย ความท้าทายอยู่ที่คุณจะสามารถเพิ่มรายได้ และลดค่าใช้จ่ายได้อย่างสร้างสรรค์เพียงใด

6. ความละเลยของเจ้าของ การที่คุณเปิดกิจการขนาดย่อมและไม่ค่อยเข้าไปที่ร้าน ถือเป็นการสร้างปัญหาให้ตัวเอง แม้แต่การมอบหมายให้ผู้จัดการ หรือญาติที่มีความสามารถดูแลก็ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดหากคุณไม่ได้ทำการติดตามความเป็นไปด้วยตัวเอง ยอดขายไม่ได้เป็นสิ่งที่บอกให้ทราบเกี่ยวกับคุณภาพในการดูแลลูกค้าและความจำเป็นด้านการฝึกอบรมพนักงาน คุณควรสร้างระบบในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้าอยู่เสมอเพราะนี่คือ ปัจจัยสู่ความสำเร็จของคุณ

7. การขาดความรู้เกี่ยวกับธุรกิจ หากคุณไม่ได้ทำธุรกิจแบบแฟรนไชส์ คุณก็ต้องพึ่งตนเองและจำเป็นต้องมีความรู้ด้านพื้นฐานในการทำธุรกิจ และควรลงลึกในธุรกิจที่คุณทำ การอ่านหนังสือ เข้าอบรม สัมมนาหรือสรรหาพนักงานที่เป็นมืออาชีพสามารถช่วยคุณได้ เนื่องจากการดำเนินธุรกิจนั้นมีอะไรมากกว่าแค่การขายของ

8. เงินเดือนที่สูงเกินไป ในช่วงที่ธุรกิจกำลังเริ่มเติบโต อย่าเสนอค่าตอบแทนให้กับพนักงานหรือตัวเองสูงเกินไป จ่ายค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเหมาะสมกับราคาตลาดให้กับพนักงานใหม่ เพิ่มเงินเดือนและจ่ายโบนัสให้กับพนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น พนักงานควรได้รับค่าตอบแทนโดยพิจารณาจากเหตุผลต่างๆ นอกเหนือจากระยะเวลาที่ทำงานอยู่กับองค์กร การดูแลใส่ใจ มีความเป็นธรรม เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ และสร้างกำลังใจให้เขาอย่างถูกทาง มีคุณค่ากว่าการให้เงินเดือนสูงๆ แต่ขาดการดูแลเอาใจใส่แน่นอน

9. สินค้าหรือบริการที่ล้าสมัย หากร้านของคุณไม่ใช่ร้านขายวัตถุโบราณ คุณควรก้าวให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป และสรรหาหรือพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ในอุตสาหกรรมของคุณ มีร้านขายของชำมากมายที่ต้องปิดกิจการไปเมื่อร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่มาเปิดในย่านใกล้เคียง แต่ก็ต้องบอกว่ามีหลายร้านที่ยังอยู่ยงคงกระพันและลูกค้าก็ยังเหนียวแน่น ร้านเหล่านี้ถ้าสังเกตให้ดี เขาจะมีสินค้าที่อยู่ในความต้องการของลูกค้าเสมอ ตามยุคตามสมัย และลูกค้าสามารถคาดหวังได้โดยไม่ผิดหวัง

10. การเปลี่ยนเจ้าของ ธุรกิจที่ถูกขายหรือส่งต่อให้ญาติสืบทอดโดยที่คิดว่าตนเองมีวิธีการทำธุรกิจที่สามารถทำเงินได้ดีกว่าเดิม แต่ทว่า การตัดการบริการออกไปหรือการขายสินค้าที่มีคุณภาพต่ำไม่ใช่คำตอบสำหรับการเพิ่มผลตอบแทนที่สูงขึ้น ในเมื่อลูกค้ารู้สึกคุ้นเคยกับการบริการในระดับที่ได้รับอยู่ในปัจจุบัน และถ้ามาตรฐานการบริการมีคุณภาพลดลง ลูกค้าจะมาอุดหนุนกิจการของคุณต่อไปทำไม หากคุณกำลังจะซื้อกิจการของคนอื่น ให้ศึกษาให้ดีว่าทำไมเขาจึงขาย และคุณมีกลยุทธ์ที่ดีกว่าอย่างไร

11. ไม่มีการสำรองเงินสด ช่วงรุ่งเรืองของกิจการถือเป็นเวลาที่ควรเก็บออมทรัพยากรต่างๆ ไว้ใช้ในช่วงเวลาที่ธุรกิจซบเซา การนำเงินทุนหรือผลกำไรที่เหลือไปลงทุน เช่น ในตลาดเงินหรือกองทุนรวมจะช่วยให้คุณมีเงินใช้เมื่อยามที่กระแสเงินสดของคุณไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ การกู้ยืมเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงๆ เป็นอาการชักหน้าไม่ถึงหลัง เป็นภาระอย่างหนึ่งที่หลายกิจการอาจต้องปิดไปเพราะรับภาระไม่ไหว การจัดระเบียบการใช้เงินของกิจการอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการทำธุรกิจส่วนตัว

12. ขาดความหลากหลายของสินค้า ให้สำรวจดูในกิจการของคุณ มีสินค้าและบริการอะไรบ้างที่ตื่นตาตื่นใจลูกค้ามากกว่าที่คู่แข่งมี หรือคุณมีอะไรบ้างที่เพิ่มความหลากหลายในการเลือกใช้ คุณอาจต้องฟังลูกค้าให้มากๆ เวลาลูกค้าถามหาสิ่งที่คุณไม่มี จด จำ และจัดหามานำเสนอ สิ่งที่คุณต้องทำให้ได้ คือ การสร้างความตื่นตาตื่นใจ และทำให้ลูกค้ารู้สึกประทับใจตลอดเวลา

13. ราคาที่โดดจากตลาด คุณกำลังพยายามที่จะทำเงินจากการคิดราคาที่ไม่สมเหตุสมผลกับลูกค้าหรือเปล่า อย่าลืมว่าลูกค้าหูตากว้างและมีแวดวงเพื่อนฝูงมากมาย การตั้งราคาแพงเกินเหตุ ในไม่ช้าลูกค้าจะรู้ทัน โกรธ และหยุดอุดหนุนคุณ ยกเว้นแต่คุณมีบริการที่เพิ่มคุณค่า และเป็นคุณค่าที่ลูกค้าต้องการ เช่น รับประกันตลอดอายุการใช้งาน รับซื้อคืนเมื่อต้องการเปลี่ยนรุ่น หรือบริการซ่อมถึงบ้าน เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้ลูกค้าจะยอมจ่ายแพงกว่าอย่างเต็มใจ

14. การสูญเสียลูกค้ารายใหญ่ การกระจายความเสี่ยงถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากสำหรับธุรกิจขนาดย่อม เนื่องจากหากคุณดำเนินธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งพลาด ทั้งบริษัทอาจตกอยู่ในภาวะหน้าสิ่วหน้าขวานได้ การมีลูกค้ารายใหญ่ถือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้น แต่อย่าพลิกโฉมธุรกิจทุกอย่างของตัวเองเพียงเพื่อเอาใจลูกค้ารายดังกล่าว และอย่ายอมลดราคาจนเกินไป คุณควรบริหารกิจการให้เจริญเติบโตโดยยึดลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง พร้อมกับมองว่าคำสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้าใหญ่เป็นโบนัส

15. ปัญหาด้านภาษี ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ คุณก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการจ่ายภาษีได้ ดังนั้น คุณควรที่จะปฏิบัติตามกฎและจ่ายภาษีอย่างตรงเวลา หากคุณไม่เชี่ยวชาญเรื่องภาษี คุณควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่ายบ้างแต่ผลที่ได้รับจะทำให้คุณพอใจ และสบายใจ ทั้งยังเพิ่มความเป็นมืออาชีพให้คุณได้ในระยะยาว การชำระภาษีล่าช้าสามารถส่งผลให้เกิดปัญหากับหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นโทษความผิดและค่าปรับ และจะทับถมรวมกันเป็นเงินก้อนโตได้ตามเวลาที่ผ่านไป

   จะสังเกตเห็นได้ว่าการแข่งขันและสภาพเศรษฐกิจไม่ได้ถูกนำมาพูดถึงในบทความนี้ เนื่องจากถือเป็นสถานการณ์ด้านธุรกิจที่ปกติซึ่งทุกธุรกิจจะต้องเผชิญและไม่สามารถควบคุมได้ การเติบโตและการถดถอยของภาวะเศรษฐกิจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ คุณจำเป็นที่จะต้องมีแผนสำหรับรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้น ไม่ค่อยมีธุรกิจใดที่ปิดตัวลงเพียงเพราะมีคู่แข่งขันรายใหญ่ก้าวเข้ามาในตลาด เว้นเสียแต่ว่าธุรกิจดังกล่าวจะยอมแพ้ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ลอง พยายามหาตลาดเฉพาะกลุ่มและเข้าถึงลูกค้าของตนเองให้มากยิ่งขึ้น คู่แข่งสามารถทำให้กิจการของคุณดียิ่งขึ้นด้วยซ้ำ เนื่องจากจะกดดันให้คุณต้องหันมาใส่ใจกับลูกค้ามากขึ้น คำว่า “ลูกค้า” ยังเป็นหัวใจสำคัญอยู่เสมอ

ที่มา : วารสาร K SME Inspired




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
5 “สาย”
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)