ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง

 

ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง

 

    การทำงานร่วมกันคงจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้งไปเสียมิได้ บ้างเป็นปัญหาระหว่างเพื่อนร่วมงาน บ้างก็เป็นปัญหาระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง นั่นก็นับเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการทำงาน เพราะต่างคนก็ต่างที่มา ต่างมุมมองความคิด ย่อมหลีกไม่พ้นเรื่องกระทบกระทั่ง ขึ้นอยู่ว่าเราจะจัดการกับมันอย่างไรให้กระทบต่อกันน้อยที่สุด

ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งคือ กรณีหัวหน้าไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นลูกน้อง ทีนี้เราจะมาโทษว่าใครผิดใครถูกคงไม่ได้ แต่ควรมามองว่าสาเหตุของปัญหานั้นๆ คืออะไร เพราะอะไรหัวหน้าถึงไม่ค่อยฟังลูกน้อง แล้วคนที่เป็นหัวหน้าเมื่อรู้ปัญหาของตนเองแล้ว ควรจะแก้ไขอย่างไร เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศในการทำงาน ให้น่าทำงานยิ่งขึ้น ไม่ใช่ต้องทำงานด้วยกันอย่างมีอะไรติดค้างในใจตลอดเวลา

การที่หัวหน้าไม่ฟังความคิดเห็นของลูกน้องนั้นอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น

1. ลูกน้องไม่เก่งพอ เวลาลูกน้องที่ไม่เก่งเสนออะไรไป หัวหน้าก็จะรู้สึกว่าฟังไม่ขึ้น ทำไปก็ผิดอยู่ดี ทำไปก็มีโอกาสทำให้ธุรกิจไม่ไปไหน ลูกน้องก็มักจะบ่นว่า เสนออะไรหัวหน้าไปก็ไม่เคยฟัง ไม่เคยนำมาใช้แล้วจะมาถามทำไม

วิธีแก้นั้น หัวหน้าต้องพูดกับลูกน้องตรงๆ ว่าจุดอ่อนคืออะไร ถ้าหัวหน้าไม่บอกลูกน้อง ลูกน้องก็จะไม่รู้หรอกว่าตัวเองไม่เก่งตรงไหน ต้องพัฒนาเรื่องใด ถ้าผู้เป็นหัวหน้ารู้สึกว่า การที่ตนเองไม่ฟังเข้าข่ายตามกรณีที่ 1 นี้ หัวหน้าต้องเริ่มที่จะกล้าให้ feedback ตรงๆ สิ่งสำคัญคือหัวหน้าต้องพูดแบบเฉพาะเจาะจงในจุดที่ลูกน้องทำได้ไม่ดี อ่อนจุดใด เช่น ลูกน้องอ่อนในเรื่องความรู้ในงาน มุมมอง ประสบการณ์ การมองในเชิงกลยุทธ์ ฯลฯ หัวหน้าก็ต้องอธิบายให้ชัดเจน เพื่อที่ลูกน้องจะได้นำไปพัฒนาปรับปรุงตนเองได้

2. หัวหน้ายึดในประสบการณ์ตนเองอย่างเดียว หัวหน้าที่ยิ่งมีประสบการณ์มากมักจะยึดในสิ่งที่ตนเองเคยทำ และเคยประสบความสำเร็จมาก่อน หัวหน้าจะเชื่อมโยงการแก้ไขสิ่งต่างๆ ไปกับประสบการณ์ที่ตนเองเคยทำมา เขามักมองว่ามีวิธีการที่ดีที่สุดวิธีการเดียว ซึ่งก็คือวิธีที่เขาเคยทำมาแล้วสำเร็จนั่นเอง จึงนับเป็นเรื่องยากที่เขาจะฟังความคิดเห็นของคนอื่น

วิธีแก้คือ หัวหน้าต้อง ใจกว้าง ไม่ยึดติดกับวิธีการที่ตนเองเคยทำสำเร็จ ต้องยอมรับในวิธีการใหม่ๆ หัวหน้าก็ต้องบอกกับตัวเองว่า ประสบการณ์เราก็อาจจะดี แต่จะมีวิธีอื่นๆ อีกหรือไม่ ต้องถามตัวเองว่าทุกวันนี้แต่ละครั้งที่เราตัดสินใจ เราอาศัยประสบการณ์เราอย่างเดียวหรือเปล่า ถ้ารู้สึกตัวว่าตนเองเป็นแบบนั้น ก็ต้องรีบแก้ไขทัศนคติของตนเอง

3. หัวหน้าเป็นคนประเภท Perfectionist กลัวความผิดพลาดไม่ยอมรับความเสี่ยง เมื่อมอบหมายงานให้ใครก็ต้องลงในรายละเอียดปลีกย่อยทุกครั้งทุกอณู ก็เลยจะดูเหมือนพูดเยอะไม่ฟังใคร

จะแก้ไขอย่างไรน่ะหรือ...หัวหน้าต้องเริ่มทบทวนตัวเองว่า ทุกครั้งที่มอบหมายงาน เราได้บอกเป้าหมาย วัตถุประสงค์และความคาดหวังแล้ว หากบอกครบถ้วนตามนั้นแล้ว เราไปลงในวิธีการปลีกย่อยอีกขนาดไหน หากเราบอกข้อมูลชัดเจนแล้วก็อาจจะไม่ต้องไปลงรายละเอียดมากนัก เพราะอาจจะทำให้ลูกน้องรู้สึกว่า หัวหน้าไม่ไว้ใจการทำงานของเขาก็เป็นได้

4. สไตล์หัวหน้าเองเป็นคนที่ไม่ชอบฟังใคร บางคนไม่ได้ถูกหล่อหลอมให้เป็นผู้ฟังที่ดี จึงไม่ค่อยอดทนที่จะฟังคนอื่น ฟังอะไรนานๆ ไม่ได้ ชอบตัดบท หากสาเหตุของการไม่ฟังของหัวหน้าตกอยู่ในข้อนี้นับว่าแก้ยากมาก เพราะเป็นสไตล์ที่ติดตัวมานาน ต้องใช้เวลาในการแก้ไข หากเกิดกรณีเช่นนี้ ต้องชี้ให้หัวหน้าเห็นข้อเสียของการไม่ฟังคนอื่น เน้นผลดีของการฟังคนอื่นว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานที่สำคัญสำหรับลูกน้องในยุคปัจจุบัน

หัวหน้าต้องเริ่มถามแล้วว่า เรากำลังเป็นผู้นำให้คนกลุ่มไหน คนยุคปัจจุบันต้องการได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น หัวหน้ารับรู้และรับฟังถือเป็นแรงจูงใจที่ดีอย่างหนึ่งสำหรับลูกน้อง

5. หัวหน้ามีความเชื่อมั่นในตนเองสูง การที่หัวหน้าได้ก้าวสูงขึ้นๆ ก็จะยิ่งมีความเชื่อมั่นในตนเองสูงขึ้นๆ พอเชื่อมั่นตนเองสูงขึ้น อาจจะทำให้เขารู้สึกชื่นชมมุมมองคนอื่นน้อยเกินไป ไม่ค่อยเห็นคุณค่าในไอเดียคนอื่น

 

แน่นอนว่าคนที่ก้าวไปในระดับสูงได้เป็นคนเก่ง แต่ที่สำคัญคือไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งสูงแค่ไหน แต่การเรียนรู้ก็ยังไม่มีวันสิ้นสุด คุณต้องพยายามให้คุณค่ากับความคิดเห็นและมุมมองคนอื่น คุณควรพยายามให้คุณค่ากับทุกไอเดีย ทุกความคิดเห็น พยายามมองข้อดีของไอเดียต่างๆ เปิดใจสักนิดที่จะรับฟังความคิดเห็นคนอื่นๆ อาจจะทำให้เราเห็นข้อดี หรือข้อแตกต่างในอีกมิติหนึ่งก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น เราฟังประชุม 1 ชั่วโมงเต็มอาจจะไม่ได้ไอเดียดีๆ มาทั้ง 1 ชั่วโมงเต็ม แต่อาจจะมีไอเดียดีๆ มาสัก 5 นาที ซึ่งอย่าคิดว่ามันน้อย 5 นาทีที่ได้มานั้นอาจจะมาต่อยอดงานของเรา และต่อเติมเราให้เต็มแก้วมากขึ้นก็ได้

6. ปัญหาในเรื่องกระบวนการ ในการฟัง มีคนบางกลุ่มที่ Hearing but not Listening มีปัญหา ในกระบวนการย่อยข้อมูล ทำได้แค่การได้ยินคนอื่น แต่ไม่มีกระบวนการในการเอาไปกรอง เอาไปคิด เอาไปต่อยอด ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าโทรมาบอกว่าไม่พอใจกับการให้บริการ คนที่แค่ "hear" ก็จะบอกข้อมูลแค่ว่าลูกค้าไม่พอใจ แต่คนที่ "listen" จะคิดต่อว่า.."อืม ลูกค้าไม่พอใจกี่ครั้งแล้วนะ โทนเสียงที่พูดแสดงว่าลูกค้าซีเรียสไหม

นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของกรณีนี้ ซึ่งนับว่าปัญหานี้แก้ยากมากๆ ยากกว่ากรณีข้อ 4 เสียอีก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีแก้ วิธีแก้ก็คือ บอกเขาตรงๆ ว่าเขามีปัญหาแบบนี้ ต้องบอกให้เขาทำเป็นขั้นเป็นตอนเลยว่าต้องอย่างไรบ้าง และให้ฝึกจนติดเป็นนิสัยก็จะช่วยให้ปัญหาเบาบางลง

จะเห็นว่ามีปัจจัยหลายอย่างด้วยกัน ที่ส่งผลให้หัวหน้าแสดงทีท่าไม่ฟังลูกน้อง เมื่อประสบปัญหาหัวหน้าไม่ฟังขึ้นมา ควรที่จะต้องมาแจกแจงก่อนว่า หัวหน้าคนนั้นจัดอยู่ในประเภทใด ซึ่งสาเหตุที่หัวหน้าไม่ฟังอาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุเดียวก็ได้ เราก็ต้องค่อยๆ มาวิเคราะห์ดูแล้วก็แก้ไปทีละจุด

ที่สำคัญผู้ที่เป็นหัวหน้าเองต้องตระหนักก่อนว่า การที่หัวหน้าไม่รับฟังลูกน้องนั้น มันก่อให้เกิดผลเสียอย่างไรบ้าง หากไม่อยากให้เกิดผลเสียที่จะตามมามากมาย ก็ต้องเร่งแก้ไข เปิดใจให้กว้างพร้อมที่จะยอมปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้พร้อมที่จะรับฟังผู้อื่น

การที่เราได้รับฟังคนอื่น เราได้เรียนรู้แน่นอนไม่มากก็น้อย น้ำไม่มีวันเต็มแก้ว ประสบการณ์เดียวไม่มีทางเหมาะที่สุดกับทุกสถานการณ์ หากหัวหน้าหรือผู้นำไม่ฟังคนในองค์กร ก็จะทำให้ไม่รู้วิธีการแก้ไขปัญหาในองค์กร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนในองค์กรกำลังคิดอะไร เราจะโค้ดเขาถูกจุดหรือไม่ หากเราได้ฟังมากก็จะทำให้เรารู้ว่าคนในองค์กรคิดอย่างไร เราจะแก้ไขอย่างไร ถ้ายิ่งหัวหน้าสร้างบรรยากาศให้ลูกน้องแสดงออกได้เต็มที่ ก็จะเป็นประโยชน์กับทั้งหัวหน้าและองค์กรเอง

    นายที่ลูกน้องไม่ชอบ

 ทำอย่างไรให้ลูกน้องรัก

 ตำหนิแบบไหน...ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า

บทความโดย : อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2551




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน