ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



โรคเบื่องาน...ต้องแก้ที่ความคิด

 

โรคเบื่องาน...ต้องแก้ที่ความคิด

 

 ท่านเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่

   ...ตื่นเช้ามาอย่างหมดแรง หมดอาลัยตายอยาก ไม่คิดอยากเดินทางไปทำงาน
   ...บ่นให้คนรอบข้างฟังเสมอว่า เบื่อ เซ็ง กับงานที่ทำอยู่
   ...ทนทำงานให้หมดไปวัน ๆ และเฝ้ารอให้ถึงวันศุกร์เร็ว ๆ เพื่อวันเสาร์อาทิตย์จะได้เที่ยวพักผ่อน
   ...ทำงานอย่างเช้าชามเย็นชามไปวัน ๆ ไปทำงานสายเป็นประจำ แต่ตกเย็นมักจะรีบกลับบ้านก่อนเพื่อน

หากส่อเค้ามีอาการดังกล่าว พึงระวัง! ท่านอาจกำลังป่วยเป็น “โรคเบื่องาน” เข้าให้แล้ว

โรคเบื่องานเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น ความเบื่อหน่ายจากลักษณะงาน อาทิ บทบาทงานที่ตนรับผิดชอบนั้นไม่ตรงกับความชอบ ความถนัด การได้ทำงานเดิม ๆ ซ้ำซากจำเจ ไม่ท้าทายความสามารถ หรือความเบื่อหน่ายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน อาทิ เบื่อระบบงานที่เชื่องช้าซ้ำซ้อนไร้ประสิทธิภาพ มีปัญหากับเจ้านายหรือเพื่อนร่วมงานจนทำให้พาลเบื่องานไปด้วย


ผู้ที่มีอาการของโรคเบื่องานมักจะหาทางออกให้ตนเองหลุดพ้นจากความเบื่อหน่ายที่มีอยู่ โดยในขั้นแรกอาจด้วยการพยายามอดทนทำงานนั้น ๆ ต่อไป เนื่องจากยังไม่มีทางออกอื่นที่ดีกว่า ต่อมา เมื่อความเบื่อดำเนินมาถึงขีดสุดจึงอาจผันตัวจากงานที่ตนทำอยู่ด้วยการเปลี่ยนงาน หรือลาออกจากงาน เดิมไปหางานอื่นทำ เพื่อหลีกหนีจากความซ้ำซากจำเจเดิม ๆ ไปสู่สภาพแวดล้อมใหม่ งานใหม่ที่คิดว่า น่าจะดีกว่า ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริง ไม่ว่าเราจะทำงานที่ใดองค์กรใดก็ตาม ย่อมประสบปัญหาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก การเปลี่ยนงานอาจไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องความเบื่อหน่ายที่ถูกต้องตรงจุดก็ เป็นได้

ผมพบว่ามีงานเขียนและบทความจำนวนมากที่ได้กล่าวถึง วิธีการ (How to) ต่าง ๆ เพื่อ รักษาอาการของโรคเบื่องานที่เกิดขึ้น ซึ่งโดยมากมักจะเน้นไปแก้ไขในด้านของ “อารมณ์ความรู้สึก” เป็น หลัก เช่น แก้เบื่อด้วยการหาเวลาพูดคุย เที่ยวเตร่ สังสรรค์กับเพื่อน ๆ ในที่ทำงานและหลังเลิกงาน หรือไปท่องเที่ยวต่างจังหวัดในวันหยุดสุดสัปดาห์..การตกแต่งโต๊ะทำงานใหม่ให้แปลกตา...หารูปแบบการแต่งกายใหม่ ๆ ที่สวยงามไม่ซ้ำซากจำเจ.. ฯลฯ โดยเชื่อว่าการสร้างสีสันในชีวิตเช่นนี้จะสามารถลบล้างอาการ เบื่องานได้

ทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการแก้ไขด้วยวิธีการดังกล่าวเป็นเพียงการเยียวยาเฉพาะเปลือกนอกที่สร้างความตื่นเต้นแปลกใหม่ให้กับชีวิตโดยการพยายามปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมรอบตัวให้ พ้นจากความจำเจเดิม ซึ่งอาจช่วยให้อาการเบื่องานทุเลาลงไปได้บ้างแต่ก็เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะอีกไม่นานสภาวะใหม่ที่สร้างขึ้นในปัจจุบันย่อมจะกลายเป็นสภาพแห่งความเบื่อหน่ายซ้ำซากจำเจในอนาคต
ต่อไป

ดังนั้นในสภาพความเบื่อหน่ายอย่างถึงที่สุดนี้ หากลองฮึดสู้สักตั้งก่อนที่จะหนีไปจากมันโดยการปรับทัศนคติ มุมมอง ความคิดของเราให้ตอบสนองได้อย่างถูกต้องกับสภาพปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ เราจะเห็นถึงมิติใหม่ในการทำงานและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้แน่นอน

ผมเชื่อว่า

 "การคิด" (thinking) เป็นตัวกำหนดสิ่งที่เรารู้ 

 (knowing) ความรู้ที่เราได้จากการคิดนั้นจะเป็นตัวกำหนดความเป็นตัวเรา

 (being) เราคิดอย่างไร เรารู้อะไร เราจะเป็นเช่นนั้น

  และความเป็นตัวเราจะเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของเรา (living)

  ซึ่งจะทำให้เราแสดงออก (manifesting) ทั้งคำพูดและการกระทำ

  โดยอาจถ่ายทอดเป็นการเขียน (writing) การพูด (speaking) การกระทำ(doing) และการแสดงอากัปกิริยาต่าง ๆ (behaving) ดังที่ผมได้เขียนไว้ในหนังสือลายแทงนักคิดถึงกระบวนการกำหนดการแสดงออกของมนุษย์ (HumanManifesting Process)

 Thinking & Knowing & Being  Living & Manifesting     

  (การคิด)   ( การรู้)  (ความเป็นเรา) (วิถีชีวิต)   (การแสดงออก) etc. 

  Writing   Speaking     

      (การเขียน)   (การพูด)


สิ่งที่เราคิดจึงมีความสำคัญมาก เพราะสะท้อน “สาระแห่งความเป็นคน” ภายในตัวตนของเราออกมา เราคิดเช่นไร สิ่งที่เราแสดงออกมารวมทั้งแนวทางการตอบสนองต่อเหตุการณ์หรือปัญหาต่างๆ ย่อมสอดคล้องกับทัศนคติมุมมองความคิดของเรา

ตัวอย่างเช่น หากเรามีทัศนคติมุมมองเชิงลบต่อ “การทำงาน”รู้สึกว่างานที่ตนได้รับมอบหมายเป็นงานที่ต่ำต้อย เราย่อมไม่เห็นคุณค่าในงานที่กำลังทำอยู่ และเกิดความเบื่อหน่ายต่องานนั้น ๆ ตามมา โดยอาจแสดงออกด้วยการมาทำงานสายเป็นประจำ การไม่รับผิดชอบงานนั้น ๆ อย่างดีที่สุด ปล่อยเวลาให้หมดไปวัน ๆ เพียงเพื่อแลกกับเงินค่าจ้าง หรือ การพยายามหางานหรือเปลี่ยนงานใหม่ด้วยการลาออกจากที่ทำงานเดิม เป็นต้น

ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือการเป็นคนที่ไม่น่าเชื่อถือในสายตาของ เจ้านายและเพื่อนร่วมงาน ส่งผลให้พลาดโอกาสที่จะเจริญเติบโตในหน้าที่การงานในท้ายที่สุด

ในทางตรงกันข้าม หากเรามีทัศนคติมุมมองเชิงบวกต่องานที่ทำตระหนักว่างานทุกประเภทเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นโอกาสพิเศษที่เราจะได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนาตนเอง เราย่อมเต็มใจยินดีที่จะทำงานนั้นอย่างเต็มที่ ไม่มีความเบื่อหน่าย ผืนทน จำใจ จำเจต่องานที่ทำ แต่จะทำงานนั้นอย่างมีความสุขและพยายามทำงานนั้นให้ออกมาอย่างดีที่สุด แม้อาจต้องพบกับอุปสรรคปัญหาต่าง ๆ อาทิ ปัญหาจากเจ้านาย เพื่อนร่วมงาน แต่จะสามารถเผชิญหน้ากับปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นได้อย่างมีชัยชนะไม่หนีปัญหาเนื่องจาก มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงานและเห็นคุณค่าของงานที่ทำอยู่

ผลที่เกิดขึ้นตามมาคือเราจะกลายเป็นคนที่มีความสุขในการทำงาน เรียนรู้ที่จะเป็นคนหนักเอาเบาสู้ ได้รับการฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ รวมทั้งทักษะในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในทุกรูปแบบ อันเป็นการวางรากฐานสำคัญให้กับการทำงานในระดับสูงต่อไป

ในความเป็นจริง ไม่ว่าเราทำงานในองค์กรใด ย่อมประสบปัญหาที่ไม่แตกต่างกันมากนักถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วยกับปัญหาดังกล่าว แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่มีทางแก้ไข ก่อนตัดสินใจลาออกหรือเปลี่ยนงานเราพึงบอกกับตนเองให้ได้ก่อนว่าได้พยายามปรับตัวอย่างถึงที่สุดแล้วในทุกด้าน หากพยายามแล้วไม่เห็นแนวโน้มว่าสิ่งรอบตัวของเรามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ถึงเวลานั้นให้การตัดสินใจเปลี่ยนงานเป็นทางเลือกสุดท้ายของเรา แต่หากเรายังไม่ได้พยายามอย่างถึงที่สุดในการเผชิญกับปัญหาเหล่านี้

เราควรปรับเปลี่ยนที่ทัศนคติ มุมมองความคิด และพยายามหาแนวทางที่เป็นประโยชน์ในการทำงานท่ามกลางปัญหาหรือความเบื่อหน่ายที่เราประสบอยู่ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล อาทิ การมีมุมมองความคิดแง่บวกต่อการทำงาน การสำรวจตนเองเพื่อลดจุดอ่อนและพัฒนาจุดแข็ง การมีวิสัยทัศน์มุ่งเป้าหมายไม่ ท้อถอยต่อปัญหาที่กำลังเผชิญ

โรคเบื่องานในชีวิตของเราจะรักษาให้หายได้หรือไม่? ขึ้นอยู่มุมมองความคิดและทัศนคติในการทำงานของเราเอง เราให้นิยามการทำงานอย่างไร ชีวิตเราก็จะเป็นอย่างนั้น หากเราคิดว่าการทำงานเป็นสิ่งที่ดี ชีวิตเราก็จะมีความสุข แต่ถ้าเราคิดตรงกันข้าม เราจะจมกับความทุกข์ความเบื่อหน่ายกับงานไปตลอดชีวิต

   ตามล่า...หาความสุขในที่ทำงาน

   ทำยังไง ให้รักงานที่ทำ

 ทำอย่างไร เมื่อคุณไม่มีความสุขในการทำงาน

   11 วิธีทำงานอย่างมีความสุข

   ไม่มีกำลังใจ...ทำอย่างไรดี

 9 วิธี ทำงานกับ"คนที่ไม่ชอบหน้า" 

ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามนิวส์  วันที่ 16 พฤษภาคม 2550