ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



5 “สาย”

 

                                                                                 5 “สาย”

 

    คำว่า “สายเกินไป” ถือเป็นคำพูดที่บ่งบอกอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับเรื่องราวหรือการกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในการที่จะตัดสินใจหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด ในช่วงเวลาที่ล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นหรือภายในช่วงเวลาที่ต้องทำ และกว่าจะรู้ว่าตนเองนั้น “สายเกินไป” ก็มักจะเกิดความเสียหายขึ้นกับตนเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือเสียโอกาสในการได้รับบางสิ่งบางอย่างที่ควรจะได้ไป และคำพูดที่ได้ยินบ่อยๆที่ตามมาสำหรับผลลัพธ์จากคำว่า “สายเกินไป” ก็คือ “รู้อย่างนี้…” ซึ่งก็ไม่ได้ก่อประโยชน์ใดๆให้เกิดขึ้นกับผู้พูดเลยแม้แต่น้อย เพราะมนุษย์เราไม่สามารถย้อนอดีตเพื่อกลับไปแก้ไขในเรื่องราวในอดีตได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวถือเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติและพบเห็นได้อยู่ทั่วไป โดยสำหรับการประกอบการหรือการดำเนินธุรกิจก็ไม่ได้มีข้อยกเว้นสำหรับเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด ที่ผู้ประกอบการตัดสินใจอะไรบางอย่างช้ากว่าที่ควรจะเป็น หรือไม่ทำในช่วงเวลาที่ต้องทำ อันทำให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจหรือต่อตนเอง หรือธุรกิจเสียประโยชน์จากความล่าช้าจากการตัดสินใจของผู้ประกอบการ ดังนั้นถ้าพิจารณาถึงช่วงเวลาและลักษณะการตัดสินใจของผู้ประกอบการ ว่าตรงจุดใดที่จะเป็นจุดที่จะบอกว่า “สายเกินไป” มักมาจาก 5 ช่วงเวลาที่สายเกินไป หรือ 5 “สาย” ที่ผู้ประกอบการควรหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นกับตนเอง โดยประกอบด้วย

 

“เริ่มสาย” ถือเป็นเวลาสายในช่วงที่หนึ่ง หรือเป็นช่วงเวลาแรกสุดสำหรับธุรกิจ โดยการเริ่มสายนี้มักเกิดขึ้นกับผู้ที่อยากจะเป็นผู้ประกอบการ หรือต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ ที่อาจมีความคิดในการดำเนินธุรกิจใหม่ มีความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สินค้า การให้บริการแบบใหม่ หรือเห็นช่องทางใหม่ในการสร้างธุรกิจของตนเองให้เกิดขึ้น แต่ทว่าบุคคลเหล่านี้มักจะมีความกลัวหรือไม่ต้องการที่จะเสี่ยงในการเริ่มต้นธุรกิจ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากตนเองมีงานประจำที่มั่นคงอยู่แล้วหรือยัง “ใจไม่ถึง” พอที่จะเสี่ยงเริ่มต้นธุรกิจ เนื่องจากเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับความล้มเหลวของการประกอบธุรกิจ ทำให้คิดว่าตนเองต้องเตรียม “ความพร้อม” ให้เพียงพอเสียก่อนจึงจะเข้ามาเริ่มต้นทำธุรกิจ ซึ่งเรื่องการเตรียม “ความพร้อม” ดังกล่าวก็ถือเป็นข้อเท็จจริงที่ผู้ที่อยากจะเป็น “ผู้ประกอบการ” หรือ “เจ้าของธุรกิจ” ต้องมีอยู่ในตนเอง จึงจะสามารถเริ่มต้นและสามารถประคองธุรกิจให้ไปได้ตลอดรอดฝั่ง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อใดที่ตนเองจะมี “ความพร้อม” เป็นเรื่องที่มีแต่บุคคลนั้นเองเท่านั้นที่จะตัดสินหรือบอกได้ โดยไม่สามารถพึ่งพิงความเห็นจากบุคคลภายนอกได้เลย เพราะไม่มีใครที่จะรู้ข้อจำกัดของผู้อื่นนอกจากตัวบุคคลนั้นเอง จึงเห็นได้อยู่เสมอว่ามีผู้ประกอบการมากมายที่เริ่มต้นธุรกิจด้วย “ความไม่พร้อม” ในสายตาของบุคคลภายนอกแต่กลับประสบความสำเร็จในธุรกิจ ในขณะที่ก็มีคนจำนวนมากอีกเช่นกันที่มี “ความพร้อม” ทุกประการในสายตาของบุคคลภายนอก แต่ประสบความล้มเหลว หรือเป็นผู้ที่ได้แต่พูดว่าตนเองอยากทำธุรกิจ แต่ก็ไม่เคยได้เริ่มต้นธุรกิจเลยแต่อย่างใด และมักบอกว่า “รู้อย่างนี้…” เมื่อมีธุรกิจหรือผู้ประกอบการรายอื่น ที่มีความคิด มีผลิตภัณฑ์ สินค้า การให้บริการแบบใหม่ หรือมีช่องทางใหม่ในการสร้างธุรกิจ ที่เหมือนกับของตนเองที่ทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จเกิดขึ้นแล้วเท่านั้น

 

“โตสาย” ถือเป็นเวลาสายในช่วงที่สอง หรือเป็นช่วงเวลาต่อมาหลังจากได้เริ่มต้นธุรกิจแล้ว กล่าวคือหลังจากธุรกิจของตนเองเริ่มต้นหรือ “ใจถึง” พอที่จะเสี่ยงเริ่มต้นธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการหรือธุรกิจเหล่านี้มักจะประสบความสำเร็จในการดำเนินการ มีช่องทางใหม่ในการขยายตลาด มียอดขายที่เติบโต ซึ่งธุรกิจมีความจำเป็นต้องขยายกิจการออกไป ไม่ว่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิต ลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือขยายสาขาหรือช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น แต่ก็จะคิดว่าน่าที่จะให้ตนเอง “พร้อม” กว่านี้ก่อน จึงรีรอที่จะขยายธุรกิจออกไป จนในที่สุดคู่แข่งขันหรือธุรกิจในตลาดใช้โอกาสจากช่วงเวลาในการรอคอยความพร้อมของผู้ประกอบการรายดังกล่าว ทำการขยายตลาดหรือขยายธุรกิจออกไป ในช่องทางการตลาดที่ผู้ประกอบการรายดังกล่าวเห็นก่อนหน้า ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่ผู้ประกอบการรายนี้ทำการลงทุนขยายธุรกิจ กลับปรากฎว่าช่องทางดังกล่าวถูกยึดครองโดยคู่แข่งขันหรือธุรกิจในตลาดอื่นแล้ว หรือโอกาสรวมถึงผลประโยชน์ต่างๆที่ตนเองควรจะได้กลับถูกแบ่งไปโดยคู่แข่งขันหรือธุรกิจอื่น เนื่องจากการที่ตนเองนั้นตัดสินใจที่จะ “โต” สายเกินไปนั่นเอง

 

“หยุดสาย” ถือเป็นเวลาสายในช่วงที่สาม หรือเป็นช่วงเวลาต่อมาหลังจากการทำธุรกิจมาช่วงหนึ่งแล้ว โดยการ “หยุดสาย” นี้มักเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการที่มีนิสัย “ใจถึง” หรือเป็นคนประเภท “กล้าได้กล้าเสีย” หรือเป็นธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ประกอบการรายดังกล่าวตัดสินใจขยายธุรกิจออกไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนขยายกำลังการผลิต ลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์เพิ่มเติม หรือขยายสาขาหรือช่องทางจัดจำหน่ายให้มากขึ้น โดยเชื่อว่าจะเป็นการช่วยเพิ่มรายได้ และป้องกันการเข้ามาแข่งขันจากคู่แข่งขันหรือธุรกิจอื่น ซึ่งแม้ว่าการขยายธุรกิจจะสามารถสร้างรายได้หรือธุรกิจขยายได้ตามที่ตนเองต้องการ แต่ทว่าเนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดข้อบกพร่องหรือเกิดความเสี่ยงในธุรกิจตามไปด้วย ไม่ว่าจะมาจากด้านมาตรฐานคุณภาพของสินค้าหรือบริการ การบริหารจัดการระบบงานต่างๆ ทักษะความชำนาญของบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของเงินทุนหมุนเวียนที่จะใช้ในการดำเนินธุรกิจ ที่จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้วยความระมัดระวังและต้องมีประสิทธิภาพมากกว่าปกติ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการลักษณะดังกล่าวไม่สามารถบริหารจัดการได้ดี เนื่องจากยังไม่มี “ความพร้อม” เพียงพอ ขนาดของธุรกิจที่ขยายออกไปก็จะกลับกลายเป็นภาระย้อนกลับมาสู่ผู้ประกอบการในที่สุด ซึ่งเมื่อถึงช่วงดังกล่าวตัวอย่างคำพูดเช่น “รู้อย่างนี้ไม่น่าจะขยายสาขา” หรือ “รู้อย่างนี้ไม่น่าจะ...”ก็จะเกิดขึ้น ซึ่งหมายถึงว่าตนเองนั้นหยุดขยายธุรกิจในช่วงเวลาที่สายเกินไป และก็พบเห็นได้ในช่วงที่ผ่านมาที่มีธุรกิจบางธุรกิจเติบโตและขยายสาขาอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ แต่ต่อมาก็ต้องลดสาขาที่เพิ่งจะเปิดใหม่หรือพบกับภาวะขาดทุน อันเนื่องมาจากการหยุดการขยายขนาดธุรกิจสายไปนั่นเอง

 

“ลดสาย” ถือเป็นเวลาสายในช่วงที่สี่ และอาจถือเป็นช่วงเวลาบอกเหตุหรือเป็นสัญญาณเตือนว่าธุรกิจของผู้ประกอบการกำลังจะไปไม่รอด ซึ่งจะนำไปสู่การที่ผู้ประกอบการต้องตัดสินแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน หรือการตัดสินว่าสมควรที่จะเลิกกิจการหรือไม่ ซึ่งการ “ลด” ที่กล่าวถึงนี้จะหมายถึง “การลดขนาดของธุรกิจ” ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายปกติในการดำเนินการของธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประคองให้ธุรกิจอยู่รอดภายใต้สถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น เพราะอาจส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้หรืออาจสู่ภาวะล้มละลายได้ ซึ่งตัวอย่างของการลดขนาดของธุรกิจในภาวการณ์หรือช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เช่น การลดจำนวนพนักงานลง การขายสินทรัพย์ของกิจการที่ไม่ก่อประโยชน์หรือสร้างรายได้ให้เกิดกับธุรกิจ หรือแม้แต่การขายสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ให้เกิดกับธุรกิจบางส่วนออกไป เช่น เครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต อาคารร้านค้า สาขา หรือแม้แต่การขายสินค้าคงเหลือที่มีอยู่ในราคาทุนหรือต่ำกว่าทุนออกไป เพื่อนำเงินมาชำระให้กับเจ้าหนี้หรือใช้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือใช้เพื่อรักษาสภาพคล่องของธุรกิจ ซึ่งในการตัดสินใจดังกล่าวนี้ถือเป็นเรื่องยากสำหรับผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ที่ติดยึดกับความเป็นเจ้าของธุรกิจที่ตนเองได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจลงไป และมักจะไม่ยอมที่จะดำเนินการอะไรที่ต้อง “ยอมขาดทุน” จึงมักพบอยู่เสมอว่าแนวทางการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มักจะใช้การแสวงหา “แหล่งเงินทุน” ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองหรือไม่ก็ตาม โดยคิดว่าน่าที่จะเป็นวิธีการในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง โดยทั้งที่แท้จริงแล้วคำตอบในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอาจอยู่ที่ “การลดขนาดธุรกิจ” ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจเข้าสู่ช่วงเวลาที่ตนเองสามารถบอกได้ว่าตนเองนั้น “ลดสาย” แล้ว ตัวผู้ประกอบการหรือธุรกิจดังกล่าวก็มักจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติเกินกว่าจะแก้ไขได้ และมักมีความจำเป็นจะต้องเลิกธุรกิจไปในไม่ช้า

 

“เลิกสาย” ถือเป็นเวลาสายช่วงที่ห้า หรือเป็นเวลาสายท้ายสุดของธุรกิจ ซึ่งมักจะเกิดตามมาหลังจากช่วงเวลาที่ผู้ประกอบการรู้ว่าตนเองนั้น “ลดสาย” ไปแล้ว โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลด้านลบต่อการประกอบธุรกิจ และยังไม่เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งเชื่อได้อย่างแน่นอนว่าจะต้องมีผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการติดสินใจว่า ธุรกิจของตนเองจะยังสามารถดำเนินต่อไปได้หรือไม่ สมควรที่จะเลิกกิจการไปในตอนนี้หรือไม่ ซึ่งภาวะที่ต้องตัดสินใจที่จะเลิกธุรกิจนี้ก็เกิดขึ้นได้ยากจากผู้ประกอบการ เนื่องจากมีผู้ประกอบการเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถยอมรับกับตนเองได้ว่า ธุรกิจของตนเองไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้อีกแล้ว จำเป็นต้องเลิกก่อนที่จะเกิดภาวะขาดทุนอย่างต่อเนื่อง จนมีภาระหนี้สินล้นพ้นตัวเกินกว่าที่จะชำระคืนเจ้าหนี้ของตนเองได้ และมักจะพยายามต่อสู้ดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อให้ธุรกิจของตนยังอยู่ได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการหรือธุรกิจแต่ละรายว่าจะตัดสินใจอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามก็หวังว่าคงจะไม่มีคำกล่าวว่า “รู้อย่างนี้น่าจะเลิกเสียตั้งแต่ตอนนั้น” ในขณะที่ตนเองถูกยึดทรัพย์หรือมีหมายศาลจากธนาคารมาแปะอยู่หน้าบ้าน

 

จากที่กล่าวมา การจะบอกว่าเมื่อใดจึงจะ “สาย” หรือ “ไม่สาย” นั้น ไม่มีเกณฑ์กำหนดที่แน่นอนว่าจะบอกได้อย่างชัดเจนว่าจะเป็นเมื่อใด เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการทั้งจากสภาพแวดล้อม และตัวผู้ประกอบการเอง แต่อย่างไรก็ตามคำกลอน “เวลาไม่คอยท่า ดั่งจะว่าอุทกไหล ไหลแล้วก็ไหลไป มิได้ไหลกลับคืนมา” ยังคงเป็นข้อเท็จจริงอยู่เสมอ ดังนั้นสำหรับท่านที่ต้องการจะเป็นผู้ประกอบการหรือเป็นผู้ประกอบการแล้วทั้งหลาย พึงตัดสินใจแต่เนิ่นๆว่าตนเองจะตัดสินใจดำเนินการอะไรกับธุรกิจของตนเอง อย่าปล่อยให้ต้องมาเสียใจว่า “สาย” เกินไปแล้ว สำหรับการตัดสินใจในการทำอะไรบางอย่างที่ไม่สามารถย้อนกลับมาได้อีก

บทความโดย: รัชกฤช  คล่องพยาบาล   ที่ปรึกษ า SMEs ด้านการเงินและการร่วมลงทุน

ฝ่ายประสานและบริการ SMEs ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)




จดทะเบียนธุรกิจ

ก้าวแรกของการขายของออนไลน์
เป็นกรรมการบริษัทต้องรับผิดชอบอะไรบ้าง
บทเริ่มต้นของนักธุรกิจมือใหม่
กลยุทธ์เพื่อความสำเร็จของธุรกิจ
กรรมการกับความผิดทางอาญา
เมื่อซื้อหุ้นแล้วไม่จ่ายค่าหุ้นจะเกิดอะไรขึ้น
ความรับผิดของกรรมการบริษัท
คุณควรมีหุ้นส่วนทางธุรกิจหรือไม่
คำแนะนำ...สำหรับการตั้งชื่อบริษัท
6 วิธีป้องกันไม่ให้ธุรกิจล่วงเวลาของคุณล้ม
ความผิดพลาด 8 ประการ ของนักธุรกิจมือใหม่
"อ่านตรงนี้ก่อน! ริจะเป็นเถ้าแก่"
ข้อดี /ข้อเสีย ของการประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ
การโอนหุ้น
เริ่มธุรกิจใหม่ ด้วย “แผนธุรกิจ”
ทำธุรกิจทั้งที ต้องทำให้ดีจนได้ซิน่า!
"อยากจะค้าขาย"
10 วิธีเริ่มธุรกิจแบบ "ฉลาดๆ"
การเลือกหุ้นส่วนนั้นสำคัญไฉน
แปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด
อยากทำธุรกิจของตนเองต้องทำอย่างไร
คุณก็เป็นเศรษฐีได้
หลายหลายวิธีที่จะเริ่มต้นธุรกิจ
คิดก่อนการตัดสินใจ : คุณพร้อมที่จะเริ่มต้นธุรกิจหรือยัง
ปัจจัยสู่ความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs
โม้ทุนจดทะเบียน + กรรมการไซฟ่อนเงิน
สรุปประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท
หุ้น...ลมๆ....แล้งๆ
เริ่มต้นจากเล็ก
คุณสมบัติ 7 ประการของผู้เป็นเจ้าของธุรกิจ
10 ปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการกู้เงินจากธนาคารไม่ได้
คำแนะนำในการเลือกรูปแบบของการประกอบธุรกิจ
7 ก้าวที่ 'พลาด' ในการเริ่มธุรกิจ
บริษัทห้างหุ้นส่วนกับบุคคลธรรมดา
กระทรวงพาณิชย์โอนเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ให้กับกรุงเทพมหานคร และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผย สถิติจดทะเบียนธุรกิจเดือน ธันวาคม และ รอบปี 2550
อยากมีธุรกิจเป็นของตนเองต้องคิดถึงอะไรบ้าง
ก้าวแรกบนถนนธุรกิจ
ใครบ้าง...ที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ข้อควรรู้ก่อนจดทะเบียนธุรกิจ
ประเภทของธุรกิจ / ธุรกิจแบ่งเป็นกี่ประเภท
ความรู้เกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
ข้อควรทราบในการจดทะเบียน article
วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม article
จดทะเบียนธุรกิจ หน้า 2
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 3)
จดทะเบียนธุรกิจ (หน้า 4)