ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เงื่อนไขควรรู้...พึงระวัง!! ทำประกันอย่างไร? ได้ประโยชน์สูงสุด

 

                  เงื่อนไขควรรู้...พึงระวัง!! ทำประกันอย่างไร? ได้ประโยชน์สูงสุด   

 

                                                                  

   ใครที่กำลังคิดอยากทำประกันชีวิต แต่กลัวโดนหลอกหรือกลัวได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าเงินที่เสียไป วันนี้เรามีขั้นตอนการทำประกัน ที่ถูกต้อง รวมทั้งข้อควรรู้และ พึงระวังสำหรับการทำประกันในหลากหลายรูปแบบมาบอกกันเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ
 
ประการแรก คือเราต้อง ทราบก่อนว่าตัวเราเองต้องการผลประโยชน์แบบใดและมีความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยได้มากน้อยเพียงใด ตัวอย่างเช่น ต้องการให้ผลประโยชน์กับบุคคลในครอบครัว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่เสียชีวิต เราควรเลือกซื้อประกันแบบประกันชีวิตให้ความคุ้มครอง การเสียชีวิต แต่หาก ต้องการผลประโยชน์เพื่อตนเอง ควรเลือกซื้อแบบประกันชีวิตที่มีการจ่ายผลประโยชน์เมื่อมีชีวิตอยู่ ที่สำคัญเราต้องแน่ใจว่ารายได้ของตัวเองเพียงพอสำหรับการชำระเบี้ยประกันตลอดระยะเวลาของสัญญา
 
ขั้นตอนการทำประกัน ที่ถูกต้อง จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความรู้ว่า ควรซื้อประกันชีวิตกับตัวแทนหรือนายหน้าประกันชีวิตที่มีใบอนุญาต ก่อนตัดสินใจซื้อประกันชีวิตต้องเข้าใจเอกสารเสนอขายว่ามีผลประโยชน์และความคุ้มครองตรงตามความต้องการหรือไม่
 
เราควรกรอกใบคำขอเอาประกันภัยด้วยตนเองตามความเป็นจริง หากให้ตัวแทนประกันชีวิตเป็นผู้กรอกข้อมูลจะต้องอ่านหรือให้บุคคลอื่นอ่านให้ฟังก่อนลงลายมือชื่อ เมื่อเราชำระเบี้ยประกันภัยแล้วต้องได้รับใบรับเงินชั่วคราวของบริษัทจากตัวแทนประกันชีวิตและตรวจสอบข้อความในใบรับเงินชั่วคราวให้ถูกต้องครบถ้วนมีลายเซ็นผู้รับเงินและหลังจากนั้นเรา ต้องได้รับใบรับเบี้ยประกันภัยตัวจริงงวดแรกพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัยภาย ใน 30 วัน นับจากวันที่ลงในใบรับเงินชั่วคราว
 
การเซ็นเอกสารที่เราควรระมัดระวังในจุดต่าง ๆ คือ ไม่ควรเซ็นลายมือชื่อในเอกสารที่ไม่ใช่ใบคำขอเอาประกัน และควรตรวจสอบข้อมูลในใบคำขอเอาประกันให้ตรงตามความจริงก่อนลงลายมือชื่อเพราะหากปรากฏภายหลังว่าข้อมูลคลาดเคลื่อนหรือไม่ตรงกับข้อเท็จจริงอาจเข้าข่ายเป็นการแถลงเท็จหรือปกปิดความจริงมีผลอาจทำให้บริษัทปฏิเสธการจ่ายเงินผลประโยชน์ตามกรมธรรม์
 
ถ้าหากเราตกลง  ทำประกันชีวิตแล้ว เลขาธิการฯ คปภ. บอกว่าเงื่อนไขสำคัญบางข้อที่ควรทราบซึ่งตัวแทนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยบอกเราคือ กรณีที่ซื้อประกันกับตัวแทนแล้ว ผู้เอาประกันสามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ประกันภัยโดยจะได้รับเบี้ยคืนหลังจากหักค่าใช้จ่ายฉบับละ 500 บาท และค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริง แต่หากพ้น 15 วันนับจากวันที่ผู้เอาประกันภัยรับกรมธรรม์ ผู้เอาประกันไม่สามารถขอคืนเบี้ยประกันได้เต็มจำนวน เนื่องจากบริษัทหักค่าใช้จ่ายและค่าคุ้มครองการเสียชีวิต ซึ่งไม่เหมือนการฝากเงินกับธนาคารที่สามารถถอนได้ตลอดเวลาโดยจะได้รับเงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย กรณีที่เราซื้อประกันทางโทรศัพท์สามารถยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 30 วัน และไม่ต้องเสียค่า ใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะบางครั้งเราอาจจะซื้อประกันด้วยความเกรงใจคนขายแต่เมื่อได้รับกรมธรรม์มาแล้วก็มีสิทธิที่จะเปลี่ยนใจยกเลิกกรมธรรม์ได้ ดังนั้นเงื่อนไขข้อนี้เราควรทราบเป็นอย่างยิ่งหากหลงใจอ่อนซื้อกรมธรรม์ไปแล้ว
 
กลวิธีต่าง ๆ ของตัวแทนบางรายที่พยายามโน้มน้าวให้เราซื้อประกัน ตัวอย่างเช่น ตัวแทนจะบอกผู้สนใจทำประกันว่าการทำประกันชีวิตเหมือนการฝากเงินกับธนาคาร สามารถถอนเงินได้ทุกเวลาที่ต้องการหรือชักจูงให้ผู้เอาประกันเลือกความคุ้มครองที่มีเบี้ยประกันจำนวนเงินที่สูงและต้องชำระเบี้ยทุก ๆ ปี ทำให้ผู้เอาประกันอาจไม่สามารถชำระได้ เพราะฉะนั้นอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด
 
สำหรับ ข้อดีของการทำประกันชีวิต นั้นจะสามารถเป็นหลักประกันให้กับครอบครัว ของผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและเป็นหลักประกันให้กับตนเองในอนาคตเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในยามเกษียณ เช่น การประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือกรณีที่ผู้เอาประกันภัยซื้อประกันแม้ชำระเพียงงวดเดียวเมื่อเสียชีวิต บริษัทก็จะจ่ายผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตให้
 
ส่วนข้อเสียตรงที่หาก เราชำระเบี้ยประกันภัยไม่ตรง ตามกำหนดจนกระทั่งมีผลให้กรมธรรม์สิ้นผลบังคับ ท่านจะไม่ได้รับความคุ้มครองเมื่อเกิดภัยขึ้นและจะสูญเสียเงินเบี้ยประกันภัยจำนวนที่ได้ชำระไปแล้ว แต่ตามปกติจะมีระยะเวลาผ่อนผันให้ค้างชำระได้ไม่เกิน 31 วัน นอกเหนือจากนี้แล้วผู้ที่ซื้อกรมธรรม์จะต้องอ่านกรมธรรม์ให้เข้าใจเพื่อให้ทราบถึงเงื่อนไข ข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ และ หากอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือมีปัญหาใด ๆ สามารถสอบถามได้ที่สำนักงาน คปภ.สายด่วนประกันภัย 1186 หรือ www. oic.or.th

       

การทำประกันชีวิตทุก รูปแบบจะคุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด หากเราซื้อตรงตามความต้องการและปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างถูกต้อง.

กฏหมายความรู้ควบคู่กับการทำประกัน
 
อาจารย์ประมาณ เลืองวัฒนะวณิช ทนายความและที่ปรึกษากฎหมาย ประธานบริหารบริษัท อาณาจักรกฎหมาย จำกัด ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายการทำประกันชีวิตว่า ข้อกฎหมายที่โต้เถียงกันบ่อย ๆ คือ ปัจจุบันบริษัทประกันยอมให้กับลูกค้าทำประกันสุขภาพโดยไม่ต้องตรวจสุขภาพ ซึ่งเป็นหน้าที่ของลูกค้าพึงสังวรไว้ว่า ถ้า เรามีประวัติป่วยเป็นโรคร้ายไม่ควรปกปิด ยกตัวอย่างเช่น เราประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตแต่ประกันไม่จ่ายเนื่องจากตรวจพบว่าคุณเป็นมะเร็งก่อนเสียชีวิต ถือว่าคุณปกปิดจึงทำให้สัญญาเป็นโมฆียะ
 
อีกกรณีคือหลังจากตกลงทำประกันเป็นที่เรียบร้อย ตัวแทนได้รับเงินจากผู้เอาประกันและออกใบรับเงินชั่วคราวให้แล้ว แต่ไม่ได้ส่งเข้าบริษัท ทางบริษัทประกันมักจะผลักภาระให้ลูกค้า ตรงนี้เราควรรู้ไว้เลยว่าบริษัทจะต้องรับผิดชอบไปไล่บี้ตัวแทนเองในข้อหายักยอกทรัพย์ไม่ใช่ให้เราถูกตัวแทนฉ้อโกงและต้องชำระเบี้ยซ้ำซ้อน เพราะการที่เราส่งเบี้ยให้ตัวแทนที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทถือว่าเราส่งให้บริษัทแล้ว
 
สำหรับกรณีที่น่าวิตกของผู้ทำประกันอีกข้อหนึ่งคือ บริษัทประกันล้มละลาย โดยที่ผู้ทำประกันจ่ายเบี้ยอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ บางรายส่งจนเกือบหมดแต่บริษัทประกันเกิดเจ๊ง กรณีนี้หากเกิดขึ้นทางรัฐบาลจะเข้ามาดูแลเพราะการทำประกันเป็นเรื่องความสงบเรียบร้อยของประชาชน ก่อนจะมีการล้มละลายทางรัฐจะส่งคนเข้ามาตรวจสอบ ควบคุม บริหารจัดการให้ประชาชน เสียหายน้อยที่สุด
 
  ปัญหานี้สิ่งที่ผู้ซื้อประกันพึงกระทำคือ

1.รอให้รัฐเข้ามาเยียวยาแก้ปัญหาให้โดยจัดเฉลี่ยทรัพย์สินของบริษัทคืนให้เท่า ๆ กันและ

2.ใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องดำเนินคดีเอง หากศาลตัดสินให้บริษัทจ่าย ต้องบังคับคดีโดยการยึดทรัพย์ วิธีการนี้ใครทำก่อนได้ก่อน หากช้าเงินที่ต้องได้คืนอาจจะไม่เหลือถึงเรา ดังนั้นก่อน ตกลงทำประกันเราควรตรวจสอบดูให้ละเอียดเสียก่อนว่าตัวแทนขายประกันและบริษัทที่เราจะซื้อประกันมีความมั่นคงมากน้อยเพียงใด

บทความโดย : กรวิกา คงเดชศักดา   ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552