ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว

 

                                                               วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว 

 

         ธุรกิจจะถือว่าอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวถ้าธุรกิจไม่มีทรัพย์สินเพียงพอกับหนี้สิน หรือพูดง่ายๆ คือ ไม่มีเงินจ่ายหนี้เมื่อถึงเวลาต้องชำระนั่นเอง ซึ่งถ้าผู้ประกอบการมีการติดตามผลการดำเนินงานของธุรกิจอย่างจริงจัง โดยทำการคาดการณ์กระแสเงินสดและงบประมาณอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยส่งสัญญานเตือนในกรณีที่เกิดความไม่ชอบมาพากล เพื่อให้รีบทำอะไรสักอย่างสำหรับหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าว

เกร็ดความรู้ตอนนี้จะแนะนำวิธีในการลดความเสี่ยงของการมีหนี้สินมากเกินไป และทางออกที่เป็นไปได้ของภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวของประเภทธุรกิจที่แตกต่างกัน

สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวคือ การปรับปรุงกระแสเงินสดให้ดีขึ้น (Improve cashflow)

การรักษาเงินสดให้มีการไหลอย่างต่อเนื่องภายในธุรกิจถือเป็นสิ่งท้าทายสำหรับธุรกิจขนาดเล็กมากพอควร ดังนั้น มาดูกันถึงวิธีต่างๆ ที่จะช่วยทำให้สถานการณ์กระแสเงินสดดีขึ้น

เรียกเก็บเงินอย่างตรงเวลา - การออกใบกำกับสินค้าที่ตรงเวลาและสม่ำเสมอจะช่วยให้เกิดความมั่นใจหนักแน่นขึ้นว่าจะมีเงินไหลเข้ามาในธุรกิจ มีการต่อรองสำหรับการจ่ายเงินเป็นงวดๆ อย่างสม่ำเสมอตลอดระยะเวลาสัญญาระยะยาว

หลีกเลี่ยงการค้าเกินตัว – อย่ารับคำสั่งซื้อโดยที่ไม่มีเงินสดหรือทรัพยากรการผลิตที่เพียงพอ

เรียกเก็บหนี้ – ต้องไล่เก็บหนี้จากลูกหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด

ลดจำนวนสินค้าคงคลัง – สินค้าคงคลังเป็นตัวที่ทำให้ธุรกิจขาดเงินสดหมุนเวียน ควรมีการวางแผนในการที่จะลดปริมาณสต็อคลงให้เหลือน้อยที่สุด

ต่อรองการให้เครดิตของซัพพลายเออร์ – โดยการขอขยายระยะเวลาการชำระเงินในการซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์

คุยกับธนาคาร – ว่าจะสามารถสนับสนุนเงินทุนเพิ่มขึ้นได้หรือไม่

Factoring – โดยการขายใบกำกับสินค้าให้กับมือที่สาม ที่เรียกว่า ธุรกิจ Factor ซึ่งเขาจะหักเงินส่วนหนึ่งไว้ก่อนที่จะได้รับชำระจริง

ขายทรัพย์สิน – โดยเฉพาะทรัพย์สินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ไม่เต็มที่แล้วค่อยใช้วิธีเช่าซื้อมาภายหลัง ซึ่งต้องกระทำด้วยความรอบคอบว่า ทรัพย์สินจะต้องถูกขายไปในราคาที่แท้จริง (Real Value) และตรวจสอบถึงผลที่ได้รับจากการขายว่าจะส่งผลต่อกำไรหรือขาดทุน

ต้องรู้จักที่จะต่อรองกับเจ้าหนี้

เจ้าหนี้สามารถที่จะขออำนาจศาลในการเข้ามาจัดการธุรกิจของคุณได้ เพราะฉะนั้น ต้องอย่าเพิกเฉยต่อการทวงหนี้ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งก็ตาม
คุยกับเจ้าหนี้ก่อนที่จะประสบกับภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว อาจจะมีหนทางประนีประนอมหนี้ได้บ้าง ที่สำคัญต้องเปิดเผยและแสดงความจริงใจในการที่จะระบุถึงความสามารถในการชำระหนี้ของคุณ และให้เน้นไปที่เจ้าหนี้ที่มีความตั้งใจจะลดจำนวนของลูกหนี้ที่กำลังจะมีปัญหาลง เพราะนั่นหมายถึงความเต็มใจที่จะร่วมเจรจาด้วยกันอย่างประนีประนอม
แต่ถ้าในกรณีที่หลังจากต่อรองกันไปแล้ว และยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญา ต้องรีบติดต่อกับเจ้าหนี้ล่วงหน้า ในขณะเดียวกัน ชำระหนี้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่ทำได้พร้อมทั้งคำมั่นสัญญาที่จะชำระส่วนที่เหลือ หรือต่อรองเงื่อนไขกันใหม่ ที่สำคัญคือ อย่ารอจนกระทั่งเลยกำหนดเส้นตายในการชำระหนี้ใหม่ไปแล้ว

ที่แน่ๆ คงต้องลดต้นทุนค่าโสหุ้ยลง

เป็นความคิดที่ดีที่จะต้องทบทวนต้นทุนค่าโสหุ้ยของธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นต้นทุนส่วนที่มีผลต่อเงินสดมาก แต่ต้องระวังไม่มากจนกระทั่งไม่สามารถทำงานได้ ค่าโสหุ้ยที่มักจะถูกตัดก่อนได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าวิจัยและพัฒนา ที่เห็นผลได้ทันที ส่วนค่าโสหุ้ยอื่น เช่น ต้นทุนในทรัพย์สิน หรือสินค้าทุน เป็นต้น จะใช้ระยะเวลานานกว่าที่จะส่งผลต่อสถานะของงบดุล
คุณอาจตัดต้นทุนทางด้านบุคลากรลง ด้วยการจำกัดการทำงานล่วงเวลา หรือตัดชั่วโมงการทำงานลง หรือแม้กระทั่งการลดจำนวนบุคลากร ซึ่งอาจต้องใช้เงินจำนวนมากในระยะสั้น แต่ต้องระวังผลเสียหายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้กับธุรกิจ และในเชิงศีลธรรม รวมไปถึงบุคลากรหลักเองอาจรู้สึกไม่มั่นคงและออกจากธุรกิจได้เช่นกัน จึงควรที่จะมีการพูดคุยกันก่อนที่จะตัดสินใจ บางทีคุณอาจได้รับข้อเสนอแนะดีๆ จากบุคลากรเหล่านั้นในการช่วยลดต้นทุนก็เป็นได้
ยังมีวิธีอื่นอีกที่คุณอาจลดค่าโสหุ้ยลงได้ชั่วคราว เช่น เลื่อนการซื้อเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆ ออกไป ซึ่งถึงแม้อาจทำให้คุณไม่สามารถลงทุนเพื่อขยายกิจการได้เพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ต้องทำภายใต้ความมั่นใจที่ยังคงสามารถแข่งขันได้ในธุรกิจนี้อยู่ การยอมปล่อยทรัพย์สินทางธุรกิจส่วนหนึ่งไป การเช่าซื้อเครื่องไม้เครื่องมือแทนการซื้อ หรือแม้แต่การต่อรองสัญญาใหม่กับซัพพลายเออร์ เป็นต้น

ควรหาข้อแนะนำที่ดีจากแหล่งต่าง ๆ

จะเป็นการดีถ้าได้มีโอกาสขอคำแนะนำทางกฎหมายและทางการเงินทันทีที่ธุรกิจมีปัญหา เพราะจะทำให้มีเวลาพอสำหรับการหาทางออกที่ดีสำหรับธุรกิจคุณ สถานการณ์ที่ควรหาคำแนะนำดีๆ ได้แก่

เมื่อไม่สามารถชำระหนี้ได้
เมื่อได้รับหมายศาล
เมื่อไม่สามารถจ่ายค่าจ้างให้กับบุคลากร
เมื่อขาดทุนดำเนินงานอย่างมาก
นักบัญชีซึ่งคุ้นเคยกับธุรกิจของคุณดีจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการให้ข้อแนะนำ สำนักงานกฎหมายต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน หรือไม่อาจจะไปขอคำปรึกษาจากหน่วยงานภาครัฐที่ให้คำปรึกษาทางธุรกิจ อย่างเช่น สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นต้น

ทางออกที่เป็นไปได้สำหรับกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัด (Limited Companies)

ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัวเช่นนี้ได้ จำเป็นที่คุณต้องคิดหาวิธีที่จะจัดการกับปัญหานี้ ซึ่งมีหลายทางเลือก

ขายทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ (Liquidation) ซึ่งจะทำให้ธุรกิจหยุดดำเนินการเมื่อทรัพย์สินถูกขายให้กับเจ้าหนี้

เตรียมการประนีประนอมหนี้ ซึ่งธุรกิจสามารถใช้ที่ปรึกษาในการจัดการภาระหนี้สิน เพื่อเตรียมตัวและต่อรองจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจ้าหนี้และคุณ กรณีนี้คุณและที่ปรึกษาต้องจัดทำแผนการชำระหนี้ใหม่ที่น่าประทับใจ มีความเป็นไปได้สูง และแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงนำเสนอต่อเจ้าหนี้

จัดหาผู้ที่จะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการ (Receiver) กรณีนี้เกิดขึ้นเมื่อจำเป็นต้องมีผู้ที่จะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการ โดยมักจะได้รับการแต่งตั้งมาจากเจ้าหนี้ให้เข้ามาประเมินสถานการณ์ว่าควรจะขายกิจการ หรือดำเนินงานต่อ หรือปิดตัวลง ส่วนใหญ่มักจะเป็นเจ้าหนี้ในระบบอย่างเช่น ธนาคาร เป็นต้น ในบางกรณี ธุรกิจที่เป็นบริษัทจำกัดอาจขอจัดหาผู้ที่จะเข้ามารับช่วงดูแลกิจการเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการขายกิจการที่ไม่ถูกต้องได้

จัดหานักบริหารมืออาชีพ (Administrator) มากู้สถานการณ์ นักบริหารที่พูดถึงนี้จะมีบทบาทในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นและพยายามให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปอีกครั้งถ้าเป็นไปได้ บุคคลเหล่านี้อาจได้รับการแต่งตั้งจากศาล เจ้าหนี้ หรือตัวธุรกิจเอง โดยมีหน้าที่ฟื้นฟูธุรกิจ หรือถ้าเป็นไปไม่ได้ก็จะทำหน้าที่หาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าหนี้ทุกราย

หรืออาจจะเลือกที่จะหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับเจ้าหนี้รายสำคัญเป็นหลักโดยไม่ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียประโยชน์อย่างไม่จำเป็น ซึ่งนักบริหารมืออาชีพนี้จะบริหารธุรกิจและเรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อตัดสินใจร่วมกันว่าจะทำอะไรต่อกับกิจการที่เข้ามาดูแล

ทางออกที่เป็นไปได้สำหรับกิจการในรูปแบบห้างหุ้นส่วนหรือเจ้าของกิจการคนเดียว (Partnerships and Sole Traders)

เจ้าของกิจการคนเดียวตกอยู่ในภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว จะมีหนี้สินและกระบวนการที่แตกต่างเล็กน้อยกับบริษัทที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน เจ้าของกิจการคนเดียวสามารถยอมให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ถ้ามีภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว ซึ่งผู้ที่เข้ามาดูแลกิจการจะเข้ามาควบคุมสิ่งปลูกสร้าง และทำตัวเหมือนเป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน (Trustee) สามารถจำหน่ายหรือเปลี่ยนแปลงสถานะของทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ ซึ่งก่อนหน้าที่จะยอมเป็นบุคคลล้มละลาย มีความเป็นไปได้ที่จะมีการประนีประนอมหนี้เกิดขึ้น โดยมีแผนการชำระเงินที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าไม่สามารถทำตามแผนดังกล่าวคุณจะต้องถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลายทันที

สำหรับธุรกิจที่อยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วน การขายทรัพย์สินเพื่อนำมาชำระหนี้ (Liquidation) การเตรียมการประนีประนอมหนี้ และการจัดหานักบริหารมืออาชีพ (Administrator) มากู้สถานการณ์ สามารถกระทำได้เช่นเดียวกับกรณีของบริษัทจำกัด

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)

                 และ  www.businesslink.gov.uk 




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน