ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ธนาคารไม่ใช่เพื่อน

 

                                                                     ธนาคารไม่ใช่เพื่อน

 

    ในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจของไทยกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก ผู้ประกอบการ SMEs จำนวนมากต่างล้วนประสบความเดือดร้อน ทั้งรายได้หรือยอดขายที่ลดลง ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และยังไม่เห็นแนวโน้มที่ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายจะลดลงหรือไม่เพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ ทางเลือกของผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดก็คือ การติดต่อขอสินเชื่อกับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่เมื่อผู้ประกอบการได้ไปติดต่อกับธนาคาร ก็มักพบว่ามีปัญหาหรือได้รับการปฏิเสธ หรือการติดเงื่อนไขต่างๆในการพิจารณาจำนวนมาก จนมีผู้ประกอบการจำนวนมากมักตำหนิธนาคารหรือสถาบันการเงินว่า ชอบที่จะให้เงินกู้แก่คนรวย ให้เงินกู้แก่ธุรกิจที่ไม่เดือดร้อน โดยไม่ยอมให้กู้เงินกับธุรกิจที่เดือดร้อนหรือต้องการเงินกู้จากธนาคารเพื่อแก้ไขปัญหา ไม่เหมือนในโฆษณาที่บอกว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งคำตำหนิบ่นว่าดังกล่าวผู้เขียนได้รับฟังอยู่บ่อยครั้ง

    ดังนั้นการเขียนเรื่อง “ธนาคารไม่ใช่เพื่อน” นี้น่าจะเป็นคำตอบหนึ่ง สำหรับผู้ประกอบการซึ่งชอบตำหนิธนาคาร สถาบันการเงิน หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐก็ตาม ว่าการที่ธนาคารไม่ให้ตนเองกู้เงินนั้นมาจากสาเหตุใดกันแน่ โดยเรื่องที่ผู้เขียนมักชอบยกตัวอย่างขึ้นมาในคำตอบนี้ มักเป็นช่วงการบรรยายเกี่ยวกับการจัดทำแผนธุรกิจที่ผู้เขียนเป็นวิทยากร เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแผนธุรกิจ โดยเฉพาะเมื่อเสนอต่อธนาคารหรือสถาบันการเงิน โดยผู้เขียนมักจะเลือกที่จะตั้งถามคำถามต่อผู้ประกอบการในการเข้าอบรม โดยเฉพาะถ้าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเป็นเพื่อนกัน จะเห็นภาพได้ดีเป็นพิเศษ โดยคำถามจะเริ่มต้นดังนี้

    “สมมติว่าคุณซึ่งเป็นผู้ประกอบการมีเพื่อน 2 คนซึ่งรักกันมาก โตมาด้วยกัน เรียนมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก สมมติว่าชื่อนาย A และนาย B โดยนาย A มาขอยืมเงินจากคุณ 300,000 บาท โดยมีเหตุผลว่า ธุรกิจของนาย A มีความเจริญเติบโตมาก มียอดสั่งซื้อจากลูกค้ามากเกินกว่าทุนของธุรกิจที่นาย A มีอยู่ นาย A จึงต้องมาขอยืมเงินจากคุณเพื่อใช้ในการซื้อเครื่องจักรเพื่อเพิ่มการผลิต และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบ เพื่อผลิตสินค้าขายให้แก่ลูกค้าตามคำสั่งซื้อที่รออยู่ ในขณะเดียวกัน นาย B ซึ่งก็เป็นเพื่อนรักของคุณ มาขอยืมเงินคุณ 300,000 บาทเช่นกัน โดยมีเหตุผลว่า ธุรกิจของนาย B กำลังประสบปัญหา ไม่สามารถขายสินค้าได้ตามที่คาดการณ์ และการที่มาขอยืมเงินจากคุณนี้ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายเงินเดือนพนักงานและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ของธุรกิจที่เป็นอยู่ โดยคุณมีเงินเก็บซึ่งเป็นเงินสดอยู่ 1,000,000 บาท คุณจะให้เพื่อนทั้งสองคนยืมเงินตามที่ร้องขอคุณหรือไม่?”

                

    คำตอบส่วนใหญ่ของผู้ประกอบการที่ผู้เขียนสอบถามเมื่อต้องตอบคำถามนี้ก็คือ ให้ทั้งนาย A และนาย B ยืมเงินตามต้องการ เนื่องจากเป็นเพื่อนรักกันมาก และตนเองก็มีเงินเพียงพอที่จะช่วยเพื่อนทั้งสองคนซึ่งเป็นเพื่อนรักได้ และคำตอบบางส่วนก็คือให้นาย A ยืม โดยไม่ให้นาย B ยืมและก็มีผู้ประกอบการบางรายที่ตอบเลยว่าไม่ให้ยืมเงินเลยทั้งนาย A และนาย B โดยมีเหตุผลว่า “ให้เพื่อนยืมเงินแล้วทวงยาก” ซึ่งหลังจากได้รับคำตอบดังกล่าวแล้ว ผู้เขียนก็จะถามคำถามต่อดังนี้คือ

“จากตอนแรกที่คุณมีเงิน 1,000,000 บาท ตอนนี้คุณมีเงินเหลือแค่ 600,000 บาท หรือคุณสามารถให้เพื่อนรักทั้งสองคนของคุณนี้ ยืมเงินได้เพียงคนเดียวเท่านั้น คุณจะให้ใครยืมระหว่าง นาย A กับ นาย B?”

คำตอบเกือบทั้งหมดก็คือ ให้นาย A ยืม และก็มีคำตอบบางส่วนที่ไม่ให้ใครยืมเพราะ “ให้เพื่อนยืมเงินแล้วทวงยาก” เช่นกัน ผู้เขียนก็ได้ถามเหตุผลว่าทำไมเลือกให้ยืมเงินกับ นาย A โดยไม่ให้นาย B คำตอบในเหตุผลนี้เกือบทั้งหมดก็คือ “ให้นาย A ยืมมีสิทธิ์ได้คืน ถ้าให้นาย B มีสิทธิ์ไม่ได้คืน” ผู้เขียนก็จะถามต่อว่า

“คนที่เดือดร้อนคือใครระหว่าง นาย A กับ นาย B”

ทุกคนก็จะตอบว่า นาย B ผู้เขียนก็จะถามต่อไปว่า

“ถ้าคุณไม่ให้นาย A ยืมเงินตามที่ขอ นาย A จะเดือดร้อนหรือทำให้กิจการประสบปัญหาหรือไม่”

คำตอบส่วนใหญ่ก็คือ ไม่เดือดร้อน เพียงแต่เสียโอกาสในการทำกำไรไป

“แล้วถ้าไม่ให้นาย B ยืมเงิน นาย B จะเดือดร้อนหรือทำให้กิจการประสบปัญหาหรือไม่”

คำตอบก็คือ เดือดร้อนแน่นอน หรือธุรกิจอาจต้องปิดกิจการไป ผู้เขียนก็จะถามต่อว่า

“ทำไมคุณซึ่งเป็นเพื่อนรักกับคนทั้งสอง ถึงเลือกให้ยืมเงินกับคนที่ไม่เดือดร้อน หรือเรียกได้ว่ารวยอยู่แล้ว คือนาย A ในขณะที่ไม่ให้คนที่กำลังประสบปัญหา หรือกำลังเดือดร้อนอยู่เช่นนาย B”

คำตอบก็คือ “ให้นาย A ยืมมีสิทธิ์ได้คืน ถ้าให้นาย B มีสิทธิ์ไม่ได้คืน” เช่นเดียวกัน ถึงตรงนี้อาจมีผู้อ่านบางท่านคิดว่าถ้าเป็นท่านยังไงก็ให้ให้ยืมทั้งคู่ เพราะเพื่อนรักขอความช่วยเหลือทั้งที จะไม่ช่วยได้อย่างไร แต่ถ้าย้อนกลับไปดูข้อจำกัดตอนต้น โดยคิดถึงความเป็นจริงที่ท่านมีเงินอยู่เพียง 600,000 บาท การให้เพื่อนทั้งสองคนยืมไปท่านจะไม่เหลือเงินเลย ท่านอาจจะคิดอีกอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ถ้าท่านยืนยันว่าจะทำอย่างนั้นจริงๆ ผู้เขียนก็ต้องขอยกย่องในน้ำใจอันประเสริฐของท่านด้วยก็แล้วกัน เพราะสิ่งที่ผู้เขียนได้ระบุไว้ตรงจุดนี้เป็นเพียงคำตอบของ “เกือบทั้งหมด” ของผู้ประกอบการ มิได้หมายความว่าผู้ประกอบการทั้งหมดจะต้องแนวความคิดแบบนี้  เมื่อถึงจุดนี้ผู้เขียนก็จะถามคำถามต่อผู้ประกอบการว่า

“แล้วคุณคิดว่าธนาคารเป็นเพื่อนของคุณหรือเปล่า?”

    ผู้ประกอบการทั้งหมดก็จะเข้าใจได้ในสิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงมาทั้งหมดได้เองว่า ขนาดเพื่อนรักกันจะให้ใครยืมเงินยังต้องคิดก่อนว่าจะให้เพื่อนคนไหนยืม มีสิทธิ์ได้คืนหรือไม่ แล้วนับประสาอะไรกับธนาคารที่ไม่ได้รู้จักกับผู้กู้เลย  จะไม่เลือกผู้ขอกู้เงินที่มีความสามารถที่จะคืนเงินกู้ให้กับทางธนาคารได้ (ตรงจุดนี้มิได้หมายความถึงการรู้จักกันเฉพาะตัวบุคคล เช่น ผู้จัดการธนาคารซึ่งรู้จักผู้ขอกู้ซึ่งเป็นอีกกรณีที่แยกต่างหากออกไป) เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากมักตำหนิธนาคารหรือสถาบันการเงินว่า ชอบที่จะให้เงินกู้แก่คนรวย ให้เงินกู้แก่ธุรกิจที่ไม่เดือดร้อน หรือแทบจะวิ่งไปขอให้ธุรกิจที่ไม่เดือดร้อนเหล่านี้ช่วยกู้เงินหน่อย ในขณะที่ไม่ยอมให้กู้เงินกับธุรกิจที่เดือดร้อน หรือมีปัญหาที่ต้องการเงินกู้จากธนาคาร ซึ่งสาเหตุก็มาจากเรื่องทั้งหมดที่ผู้เขียนได้กล่าวถึงมาก่อนหน้านั่นเอง เพราะขนาดตัวคุณเองยังคิดอย่างนี้กับเพื่อนรัก ธนาคารซึ่งก็คือธุรกิจประเภทหนึ่งย่อมต้องคิดเช่นกัน แถมยังอาจจะคิดมากกว่าคุณเสียอีก เพราะในเมื่อธนาคารก็คือธุรกิจ ธุรกิจย่อมต้องแสวงหาผลกำไร คงไม่มีธุรกิจใดที่ตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการให้ขาดทุน ดังนั้นเมื่อกำไรมาจากการให้กู้ยืม เงินจากการกู้ยืมก็ต้องมั่นใจว่า จะได้รับคืนมาพร้อมผลตอบแทนคือดอกเบี้ยของธนาคารนั่นเอง

 

    มาถึงตรงจุดนี้อาจมีผู้ประกอบการหรือผู้อ่านบางรายเข้าใจว่า ถ้าเป็นเช่นนี้ธุรกิจของตนซึ่งมีปัญหาอยู่ ก็จะไม่สามารถขอเงินกู้จากธนาคารได้ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะก็มีธุรกิจจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งติดต่อขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อการขยายกิจการ แต่ก็ได้รับการปฏิเสธเช่นกัน โดยสาเหตุมาจากสิ่งเดียวกัน คือ ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับทางธนาคารได้ว่า ธุรกิจมีความสามารถในการชำระคืนเงินที่กู้ยืมจากธนาคารไปได้นั่นเอง แม้ว่าจะมีองค์ประกอบสำคัญอื่นๆครบถ้วน โดยเฉพาะเรื่องของหลักประกันในการค้ำประกันสินเชื่อ นอกเหนือจากการตรวจสอบธุรกิจที่ดำเนินการอยู่

            

    โดยกุญแจสำคัญดอกหนึ่งสำหรับธุรกิจที่ประสบปัญหา และต้องการขอกู้ยืมเงินจากธนาคาร นั่นคือ “แผนธุรกิจ” ที่ผู้ประกอบการจัดทำขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าธุรกิจสามารถนำเงินกู้ที่ได้รับจากธนาคาร ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจในการแก้ไขปัญหาที่เป็นอยู่ และจากวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนั้นจะทำให้ธุรกิจไม่เกิดปัญหาขึ้นอีก รวมถึงธุรกิจมีกระแสเงินสดอย่างเพียงพอในการดำเนินธุรกิจ และสามารถชำระคืนเงินกู้ให้กับทางธนาคารได้ตามกำหนด ซึ่งข้อสังเกตุหนึ่งที่ผู้เขียนพบก็คือ ธุรกิจที่ประสบปัญหาซึ่งได้เคยติดต่อขอกู้เงินจากธนาคาร และได้รับการปฏิเสธ มักจะไม่เคยมีการจัดทำแผนธุรกิจ หรือแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้นไม่มีคุณภาพหรือรายละเอียดเพียงพอ ในการที่จะสร้างความมั่นใจให้กับทางธนาคารว่าธุรกิจสามารถอยู่รอด หรือปัญหาที่เกิดขึ้นมีวิธีการแก้ไขที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยเป็นเพียงความเข้าใจของตัวผู้ประกอบการเองเท่านั้นว่า ถ้าตนเองได้รับเงินกู้ยืมตามต้องการแล้ว ปัญหาที่เป็นอยู่จะหมดไป เนื่องจากปัญหาทางการเงินที่เป็นอยู่ของธุรกิจนั้น แท้จริงเป็นเพียง “ผลลัพธ์” จากการดำเนินธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ การบริหารจัดการบุคคล การตลาด การผลิต หรือการเงิน ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เช่น บุคคลากรไม่มีประสิทธิภาพ ไม่มีการดำเนินการตลาดที่เหมาะสมกับลูกค้า การผลิตที่มีกระบวนการที่ล่าช้าหรือมีส่วนสูญเสียมาก หรือการบริหารเงินทุนหมุนเวียน การบริหารเงินสด ที่ไม่ดีเพียงพอ ล้วนแล้วแต่ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเงินทั้งสิ้น ซึ่งแผนธุรกิจจะเป็นตัวบอกถึงการบริหารจัดการดังกล่าวทั้งหมด ว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ดังนั้นผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาจึงต้องให้ความใส่ใจในการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อเสนอต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นพิเศษ ซึ่งอาจมากกว่าธุรกิจที่ต้องการขยายกิจการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากยอดสั่งซื้อ หรือการเคลื่อนไหวในบัญชีธนาคารได้โดยตรง

    จากที่กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องของ “ธนาคารไม่ใช่เพื่อน” นี้คงพอที่จะเป็นแนวทางสำหรับผู้อ่านซึ่งเป็นผู้ประกอบการ ทราบถึงเหตุผลในการอนุมัติหรือการปฏิเสธในขอกู้ยืมจากธนาคารได้มากยิ่งขึ้น ขนาดเพื่อนกันยังต้องคิดแล้วคิดอีกว่าจะให้เพื่อนคนไหนยืมเงิน แล้วธนาคารเป็นใคร เพื่อนก็ไม่ใช่ ก็ต้องคิดเหมือนกันว่าจะให้ใครยืมเงินถึงมีสิทธิ์ได้คืน
 
 

บทความโดย : รัชกฤช  คล่องพยาบาล

ที่ปรึกษา SMEs ด้านการเงินและการร่วมลงทุน

ฝ่ายประสานและบริการ SMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)  
 




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน