ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



วิธีการเขียนแผนธุรกิจ

 

                                                                   วิธีการเขียนแผนธุรกิจ 

 

   คุณต้องการเริ่มต้นธุรกิจของคุณเองใช่หรือไม่ ดีครับ แล้วคุณมีแผนธุรกิจหรือยัง หากยังไม่มี ธุรกิจของคุณเป็นเพียงแค่ความฝันเท่านั้น

ธนาคารและสถาบันสินเชื่อจะพิจารณาแผนธุรกิจของคุณอย่างละเอียดเพื่อตัดสินใจว่าจะให้คุณกู้เงินหรือไม่ แผนธุรกิจจะประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่คุณและพนักงานของคุณใช้ในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องช่วยคุณในการตัดสินใจว่าอะไรควรดำเนินการก่อน หรือหลัง หรือไม่ต้องดำเนินการใดๆ เลย

หากบริษัทของคุณมีขนาดเล็กและดำเนินการที่บ้าน คำแนะนำต่อไปนี้บางเรื่องอาจเป็นสิ่งไม่จำเป็น อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุด คุณควรมีแผนธุรกิจที่กำหนดเป้าหมายไว้ ประมาณการค่าใช้จ่าย แผนการตลาด และแผนการเลิกกิจการ แผนธุรกิจจะแสดงวิธีการสู่ความสำเร็จและแจกแจงรายละเอียดมาตรฐานต่างๆ สำหรับใช้วัดความสำเร็จดังกล่าว

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำง่ายๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์พื้นฐานของการจัดทำแผนธุรกิจที่ดี:

• บทสรุปเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในข้อมูลสรุป (Executive Summary)

ข้อมูลสรุป (Executive Summary) จะกล่าวถึงกลยุทธ์ทางธุรกิจของคุณ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับธนาคารและสถาบันสินเชื่อ คุณจะต้องโน้มน้าวเจ้าหน้าที่สินเชื่อให้รู้สึกมั่นใจว่าแผนธุรกิจที่คุณเสนอสามารถดำเนินการได้จริงภายใน 2-3 หน้าแรกของข้อมูลสรุป

ข้อมูลสรุปนี้ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อให้พนักงานและลูกค้าได้เข้าใจถึงแนวความคิดและธุรกิจของคุณก่อนที่เขาเหล่านั้นจะให้การสนับสนุนธุรกิจของคุณ
 
• การชี้แจงว่าบริษัทคุณก่อตั้งขึ้นได้อย่างไร

อธิบายการกำเนิดของบริษัท รวมทั้งเรื่องที่คุณหรือเพื่อนร่วมธุรกิจได้แนวความมาจากที่ใด
 
• เป้าหมายบริษัท

อธิบายสั้นๆ ประมาณ 2-3 ย่อหน้าถึงเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวของบริษัท อัตราการเจริญเติบโตที่คาดหวัง กลุ่มลูกค้าหลักของคุณคือใคร
 
• ประวัติของทีมผู้บริหาร

ในหัวข้อผู้บริหารให้ระบุชื่อและภูมิหลังของสมาชิกทีมผู้บริหาร รวมทั้งความรับผิดชอบในตำแหน่งหน้าที่ของแต่ละคนด้วย
 
• สินค้าหรือบริการที่คุณวางแผนที่จะเสนอลูกค้า

ส่วนที่สำคัญที่สุดของบทสรุปคือการแสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณแตกต่างจากของผู้อื่นที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไร
 
• ศักยภาพของตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการของคุณ

         

โปรดระลึกไว้ว่า คุณต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ให้สินเชื่อและพนักงานของคุณ รวมทั้งคนอื่นๆ ให้มีความรู้สึกว่าคุณมีตลาดเป้าหมายขนาดใหญ่และขยายตัวอยู่เสมอ คุณต้องทำการวิจัยมาบ้างก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้ของแผนธุรกิจ ในกรณีที่เป็นธุรกิจระดับท้องถิ่น ให้ตรวจสอบอุปสงค์ในสินค้าหรือบริการของพื้นที่รอบรัศมีที่กำหนด นำข้อมูลที่ได้เปรียบเทียบกับข้อมูลของพื้นที่ที่ไกลออกไปอีกจากจุดที่ตั้งธุรกิจของคุณ หากเป็นธุรกิจที่ดำเนินการในเว็บหรือเป็นธุรกิจที่ดำเนินการทั้งในเว็บและในตลาดท้องถิ่น ให้ประเมินอุปสงค์ของระดับท้องถิ่นและ/หรือระดับประเทศ สำหรับรายงานจากบริษัทวิจัยระดับมืออาชีพอาจมีราคาแพง คุณสามารถค้นหาข้อมูลพื้นฐานได้จากเว็บและจาก Search engines และดัชนีต่างๆ
 
• กลยุทธ์ในการขายสินค้าหรือบริการของคุณ

คุณมีแผนอย่างไรในการประกาศให้โลกรู้ว่าคุณได้เปิดธุรกิจแล้ว คุณจะใช้วิธีการบอกเล่าแบบปากต่อปากอย่างเดียวหรือไม่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ไม่ใช่แผนที่ดีนัก เว้นเสียแต่คุณเป็นผู้มีชื่อเสียงในวงการอยู่แล้ว คุณจะโฆษณาทางสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ เว็บ หรือทั้งสามช่องทางรวมกัน คุณจะใช้เครื่องมือทำการตลาดแบบออนไลน์ในการทำให้ชื่อบริษัทของคุณติดอยู่ใน Search engines และโฆษณาในเว็บไซต์อื่นๆ หรือไม่ และอย่าลืมที่จะกำหนดจำนวนเงินที่คุณจะใช้จ่ายในด้านการตลาดด้วย
 
• ประมาณการทางการเงิน 3 ถึง 5 ปี

ในหัวข้อนี้ให้ใส่ข้อสรุปของการประมาณการทางการเงินของคุณ พร้อมกับหน้ากระดาษคำนวณที่คุณใช้ทำประมาณการการเงินของคุณ แสดงงบดุลของคุณ งบรายได้ และประมาณการเงินสดหมุนเวียนของช่วงเวลาทั้งหมด หัวข้อนี้คือส่วนที่คุณจะบอกผู้ให้สินเชื่อผู้คาดหวังของคุณว่าคุณต้องการกู้เงินจำนวนเท่าใดเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเริ่มธุรกิจของคุณ การคาดการณ์ของคุณในหัวข้อนี้ สามารถมีผลทำให้ธุรกิจของคุณสำเร็จหรือล้มเหลวได้ หากคุณไม่มีความชำนาญในด้านการวางแผนทางการเงินดังกล่าว ก็ควรให้มืออาชีพช่วยดำเนินการให้ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

• แผนการเลิกกิจการ

ส่วนนี้เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของแผนธุรกิจที่ดี เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะวางแผนขายบริษัทของตนเมื่อตนต้องการเลิกกิจการ คุณอาจต้องการส่งมอบการบริหารให้คนบางคนหรือทำให้เป็นบริษัทมหาชน คุณสามารถใช้ข้อมูลตัวเลขต่างๆ ในการพิจารณาเลิกกิจการ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขทางการเงิน ความเติบโตของรายรับ การยอมรับของตลาดในแนวความคิดของคุณ หรือข้อตกลงการเลิกกิจการที่ทำกันระหว่างเจ้าหน้าที่ระดับสูง ไม่ว่าคุณจะใช้หลักเกณฑ์ใด คุณต้องมีแผนในการรับกับผลตอบแทนการลงทุนที่คุณและผู้ร่วมลงทุนของคุณได้ลงไป

Link ที่เกี่ยวข้อง : คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ ,Download แบบฟอร์มการเขียนแผนธุรกิจ

บทความโดย  C.E. Yandle   ที่มา : http://www.microsoft.com




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน