ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



Me Too Business

 

                                                                   Me Too Business

 

  “Me Too Business” หรือการทำธุรกิจแบบ Me Too เป็นคำที่ผู้เขียนเคยใช้เมื่อนานหลายปีมาแล้วในการกล่าวถึง การทำธุรกิจของผู้ประกอบการที่เริ่มต้นจากการเห็นธุรกิจของผู้อื่นประสบความสำเร็จ แล้วอยากจะทำหรือดำเนินการทำตามบ้าง โดยเชื่อว่าถ้าตนเองทำธุรกิจแบบเดียวกันก็น่าที่จะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน หรืออาจจะสามารถจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งได้ว่า Me Too Business คือธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการลอกเลียนหรือการก๊อปปี้ธุรกิจอื่นนั่นเอง โดยมีแนวคิดเริ่มต้นประเภท “ใครทำอะไร ฉันขอทำด้วย” หรือประเภท “เขาทำยังสำเร็จ ถ้าเป็นเราทำก็น่าจะสำเร็จเหมือนกัน”

ซึ่งแตกต่างจากการทำธุรกิจที่มีความคิดหรือวัตถุประสงค์ตั้งแต่ต้นว่าต้องการจะทำธุรกิจนั้น เราจะพบว่าบางช่วงมีธุรกิจ Pub Bar ธุรกิจร้านกาแฟและเบเกอรี่ ธุรกิจร้านอาหารไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารไทย จีน ญี่ปุ่น ธุรกิจร้านเสริมความงาม ไม่ว่าจะเป็นร้านเสริมสวย ร้านทำเล็บ ร้านนวดหน้านวดตัว  ธุรกิจขายสินค้าเกี่ยวกับการลดความอ้วน Studio รับถ่ายภาพ เกิดขึ้นอย่างมากมาย และที่แปลกก็คือดูเหมือนกับว่าจะนัดกันเปิดคือเปิดในช่วงเวลาต่อเนื่องกันเป็นแฟชั่น ธุรกิจที่มีลักษณะนี้ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่าเป็นลักษณะ Me Too คือเห็นว่ามีรายแรกๆที่ประสบความสำเร็จในการเข้ามาในตลาดเลยคิดว่าถ้าตนเองทำบ้างก็น่าจะสำเร็จได้เช่นเดียวกัน

คล้ายๆกับการซื้อหุ้นของนักเก็งกำไรประเภทแมงเม่าที่ชอบซื้อหุ้นในช่วงที่กำลังขาขึ้นเพราะคิดว่าราคาหุ้นจะสูงขึ้นไปอีก ถ้าไม่รีบซื้อไว้ก่อนจะเสียโอกาสการทำกำไร แต่กลับพบอยู่เสมอว่าผู้ประกอบการบางส่วนซึ่งมักจะเป็นส่วนใหญ่ที่ทำธุรกิจแบบ  Me Too เหล่านี้มักจะไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจอย่างที่ตนเองคาดหวัง แต่ที่กล่าวมามิได้หมายความว่าธุรกิจแบบ Me Too เป็นธุรกิจที่ไม่ดีหรือไม่สมควรทำ เพราะการทำธุรกิจที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือเป็นธุรกิจที่เป็นแนวคิดใหม่ของตลาดใช่ว่าจะเกิดขึ้นได้โดยง่าย ซึ่งเกือบทั้งหมดของธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีต้นแบบหรือเคยมีการทำมาก่อนหน้าแล้วทั้งสิ้น และการลอกเลียนหรือการก๊อปปี้ธุรกิจถ้าสามารถลอกเลียนหรือก๊อปปี้ให้ดี หรือลอกเลียนหรือก๊อปปี้ให้เป็น การทำธุรกิจแบบ Me Too ก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน หรือบางครั้งอาจประสบความสำเร็จมากกว่าธุรกิจต้นแบบเสียอีก

“ศิลปินชั้นดีต้องลอกเลียน ศิลปินชั้นเซียนต้องก๊อปปี้” ผู้เขียนมักใช้คำพูดประโยคนี้สำหรับเปรียบเทียบลักษณะของการทำธุรกิจในปัจจุบัน เหมือนการลอกแบบหรือเลียนแบบภาพวาดของศิลปินหรือจิตรกร ที่ภาพที่วาดแล้วเสร็จโดยการลอกเลียนดูยังไงก็ยังรู้ว่าเป็นของปลอม แต่ส่วนใหญ่แล้วภาพที่วาดออกมาจะเหมือนหรือคล้ายคลึงกับต้นแบบมาก ส่วนการก๊อปปี้คือภาพที่วาดออกมาแล้วจะดูหรือแยกแยะไม่ออกว่าเป็นของจริงหรือของปลอม นั่นก็คือถ้าธุรกิจแบบ Me Too สามารถลอกเลียนหรือก๊อปปี้ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริงแล้ว ก็จะมีโอกาสในการประสบความสำเร็จได้เช่นเดียวกันถ้าไม่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง

ธุรกิจแบบ Me Too ที่กล่าวถึงในที่นี้จะไม่รวมถึงการทำธุรกิจแบบ Franchise ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจแต่อาจจะยังไม่มีความรู้ความชำนาญในการบริหารจัดการธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าธุรกิจทั้ง 2 แบบนี้จะมีรูปแบบหรือลักษณะพื้นฐานบางประการที่เหมือนกัน คือ การลอกเลียนหรือการก๊อปปี้ธุรกิจ เพราะธุรกิจต้นแบบที่ลอกเลียนหรือก๊อปปี้มานั้นซึ่งเป็น Franchisor มีรูปแบบ ระบบ และมาตรฐาน ที่ครบถ้วนดีและประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งอยู่แล้ว และที่สำคัญก็คือ Franchisor จะทำการถ่ายทอดรูปแบบ ระบบ และมาตรฐานรวมถึงควบคุมการบริหารจัดการให้กับ Franchisee ในการทำธุรกิจให้เหมือนกับธุรกิจ “ต้นฉบับ” ซึ่งต่างจากธุรกิจแบบ Me Too ที่ผู้ประกอบการอาจจะต้องอาศัย “ครูพักลักจำ” หรือจากประสบการณ์ของตนเองเป็นหลักในการดำเนินการ โดยถ้าพิจารณาถึงลักษณะของธุรกิจแบบ Me Too ส่วนใหญ่แล้วจะมีลักษณะสำคัญๆที่เห็นได้ดังต่อไปนี้ คือ

เกิดขึ้นและหายไปเป็นพักๆ ธุรกิจแบบ Me Too จะมีแนวโน้มที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นจำนวนมาก และเมื่อผ่านไปช่วงระยะเวลาหนึ่งที่จะทยอยปิดตัวลง แล้วก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งหมุนเวียนเป็นวัฏจักร อันอาจเนื่องมาจากเห็นว่าธุรกิจนั้นสามารถสร้างผลกำไรในระดับสูง หรือสามารถคืนทุนได้เร็ว ก็จะมีการแห่กันทำธุรกิจประเภทนั้นอย่างมากมายโดยคิดว่าต้องรีบทำหรือรีบเปิดกิจการให้เร็วที่สุดเพราะยังมีคู่แข่งน้อยราย โดยมักจะไม่มีการศึกษาในรายละเอียดที่แท้จริงในการดำเนินการของธุรกิจ แต่จะใช้วิธีการก๊อปปี้หรือลอกเลียนรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จนั้นแทน เช่น ลักษณะสินค้าหรือการให้บริการ การตกแต่ง หรืออาจรวมถึงทำเลที่ตั้ง เป็นต้น เช่น ร้านอาหาร หรือประเภท Pub Bar ซึ่งภายหลังจากการดำเนินการไปสักช่วงระยะเวลาหนึ่งก็จะเริ่มประสบปัญหาและปิดตัวเองไปในที่สุด หรืออาจจะขายกิจการให้ผู้อื่นต่อไป โดยทำเลหรือย่านธุรกิจที่เกิดขึ้นและซบเชาไป เช่น ย่าน RCA ย่านคลองประปา ย่านรัชดาภิเษก ย่านสีลม ย่านทองหล่อ บางย่านจะไม่สามารถกลับฟื้นตัวหรือรุ่งเรืองเหมือนเดิมได้อีก โดยอาจเปลี่ยนแปลงในรูปลักษณะของย่านธุรกิจไป เช่น ย่านทองหล่อ เป็นต้น หรือแม้จะยังคงรักษาการเป็นแหล่งหรือย่านประเภทธุรกิจนั้นไว้ได้ แต่ทว่าผู้ประกอบธุรกิจมักจะไม่ใช่ผู้ประกอบการรายเดิมตั้งแต่สมัยเริ่มแรก แต่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาดำเนินการแทนทั้งในชื่อธุรกิจใหม่หรือคงชื่อเดิมของธุรกิจเอาไว้

เจ้าของมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม ธุรกิจแบบ Me Too บางรายมักจะมีเจ้าของหรือผู้ประกอบการที่เคยมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ลอกเลียนหรือก๊อปปี้มา เช่น เคยเป็นพนักงานหรือผู้บริหารในหน่วยงานของธุรกิจนั้นมาก่อน เช่น เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายการผลิต เป็นผู้จัดการด้านการตลาด หรือเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นต้น โดยอาจเห็นช่องทางหรือโอกาสโดยคิดว่าตนเองสามารถทำได้ เช่น ผู้จัดการฝ่ายการผลิตรู้ว่าต้นทุนการผลิตสินค้าราคาชิ้นละ 20 บาท แต่บริษัทขายราคาชิ้นละ 100 บาท ถ้าตนทำธุรกิจแล้วขายชิ้นละ 80 บาท ก็น่าที่จะทำได้ เพราะตนรู้รายละเอียดทุกอย่างในการผลิตสินค้า และจากราคาขายที่ต่ำกว่าก็น่าที่จะมีลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของตน หรือผู้จัดการฝ่ายขายที่ดูแลลูกค้าในมืออาจคิดว่าถ้าตนเองออกไปทำธุรกิจเองแบบเดียวกัน ก็น่าที่จะสามารถชักชวนลูกค้าที่ตนดูแลให้มาซื้อสินค้าของตนเองได้ถ้าราคาสินค้าของตนไม่แพงกว่าการซื้อจากรายเดิม เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะเป็นหุ้นส่วนหรือเครือญาติที่อาจมีความเห็นที่แตกต่างกับผู้บริหารเดิมหรือเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ จึงได้แยกตัวออกมาดำเนินการธุรกิจของตนเองในรูปแบบเดียวกันกับธุรกิจเดิมหรือออกมาแข่งขันกับธุรกิจเดิมก็เป็นได้

ใช้ทุนไม่มาก ธุรกิจแบบ Me Too โดยส่วนใหญ่จะใช้เงินลงทุนไม่มากนัก เช่น ธุรกิจบริการ หรือธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากผู้ประกอบการไม่กล้าเสี่ยงในการลงทุนในการทำธุรกิจ คือคิดว่าถ้าไม่ประสบความสำเร็จก็จะไม่มีผลขาดทุนมากนัก การลงทุนส่วนใหญ่จึงมักจะเป็นเรื่องของค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างผลิตสินค้า และค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ โดยน้อยรายที่จะมีการลงทุนในการซื้อที่ดิน ปลูกสร้างอาคาร ปลูกสร้างโรงงาน ซื้อเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ หรือซื้อวัตถุดิบเพื่อผลิตสินค้าเอง (ในอดีตก็มีธุรกิจแบบ Me Too ที่ใช้เงินลงทุนสูงๆ เช่น ธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ แต่เงินลงทุนโครงการส่วนใหญ่จะอาศัยเงินกู้เป็นหลัก ซึ่งก็ได้ล้มหายตายจากไปเกือบหมดแล้ว หรือบางรายก็สามารถฟื้นกลับมาได้ แต่ก็มีเพียงน้อยรายและมักจะสะบักสะบอมกันไปพอสมควร ทำให้ธุรกิจแบบ Me Too ในปัจจุบันจึงเหลือเฉพาะรายเล็กๆเป็นส่วนใหญ่ หรือถ้าเป็นรายใหญ่ที่จะขอ Me too ด้วย เช่น ธุรกิจชาเขียว หรือเครื่องดื่มบำรุงกำลังทั้งหลาย แม้ว่าจะลงทุนอย่างครบเครื่องทั้งด้านการตลาดและการผลิต ก็ไม่ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกรายที่เข้ามาในตลาด) ซึ่งถ้าเป็นธุรกิจแบบ Me Too ที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากก็มักจะมีการชักชวนญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงมาเข้าหุ้นโดยสัญญาว่าจะแบ่งผลกำไรให้ตามการเข้าหุ้น หรือให้ผลตอบแทนเมื่อธุรกิจมีกำไรในอัตราใดอัตราหนึ่ง เช่น 20% หรือ 30% ของเงินที่ลงทุน โดยจะมีตนเองเป็นผู้บริหารจัดการธุรกิจ และให้หุ้นส่วนเหล่านี้สามารถเข้ามาดูหรือสามารถตรวจสอบบัญชีเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่ายของธุรกิจได้ เป็นต้น

เป็นอาชีพเสริม ธุรกิจแบบ Me Too บางธุรกิจจะเป็นการทำธุรกิจที่สอง หรือผู้ประกอบการมีงานประจำอยู่แล้ว แต่โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเภทมีงานประจำหรือพนักงานกินเงินเดือนที่ต้องการหารายได้เสริม หรือเตรียมช่องทางในการที่จะเริ่มประกอบธุรกิจของตนเองหรือตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ดารานักแสดงซึ่งส่วนใหญ่ในอดีตมักจะเปิดร้านอาหาร หรือ Pub โดยมักบอกว่าเป็นแหล่งสังสรรค์ของเพื่อนฝูงในวงการ ซึ่งผลลัพธ์ส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่ประสบความสำเร็จและปิดตัวไปในระยะเวลาไม่นาน โดยในปัจจุบันสำหรับธุรกิจเสริมของดารานักแสดงจะเป็นแนวโน้มด้านธุรกิจความงาม เช่น ร้านเสริมความงาม ร้านทำเล็บ Spa ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ซึ่งมีทั้งการลงทุนด้วยตนเองหรือการลงทุนในลักษณะหุ้นส่วนจากการเป็นพรีเซนเตอร์ให้กับธุรกิจ เป็นต้น โดยถ้าสอบถามเชิงลึกกับผู้ประกอบการเหล่านี้จะพบว่าคำตอบที่ได้มักจะเป็น “ถ้ากำไรดีหรือขยายตัวมากๆ ก็อาจจะกระโดดออกมาทำเต็มตัว” หรือ “อาจจะทำซักสองสามปีแล้วจะไปทำธุรกิจใหม่” เป็นต้น โดยมีน้อยรายที่จะออกจากงานประจำมาเริ่มต้นธุรกิจอย่างจริงจัง

ไม่เป็นที่หนึ่งแต่ขอเป็นที่สองก็ยังดี แต่ถ้าไม่ได้ ที่สามสี่ห้าก็พอไหว ธุรกิจแบบ Me Too เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการลอกเลียนหรือก๊อปปี้ธุรกิจเดิม ทำให้บ่อยครั้งที่พบว่าผู้ประกอบการเหล่านี้ตั้งเป้าหมายในการแย่งส่วนแบ่งตลาดหรือขอส่วนแบ่งการตลาดจากธุรกิจเดิมเป็นส่วนใหญ่ โดยน้อยรายจะกล้าประกาศว่าจะทำธุรกิจให้เหนือหรือดีกว่าธุรกิจเดิม (ส่วนใหญ่ธุรกิจแบบ Me Too ก็มักจะไม่กล้าประกาศตัวอยู่แล้วว่าลอกเลียนหรือก๊อปปี้ธุรกิจอื่น)

จากลักษณะที่สังเกตุได้ดังกล่าวของธุรกิจแบบ Me Too อันมาจากความคิดเริ่มต้น “ใครทำอะไร ฉันขอทำด้วย” ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ของการทำธุรกิจแบบ Me Too นี้คือมักจะไม่ประสบความสำเร็จ โดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการที่ “ลอกเลียนหรือก๊อปปี้มาไม่หมด” โดยอาจจะระบุเกี่ยวกับสาเหตุอันเป็นการพิจารณาจากลักษณะของธุรกิจแบบ Me Too ได้ดังนี้ คือ

ถ้าขึ้นต้นด้วยกำไรลงท้ายมักขาดทุน เนื่องจากการเริ่มต้นธุรกิจแบบ Me Too ที่มีการตั้งเป้าหมายเริ่มต้นไว้คือต้องการกำไรให้มากที่สุด หรือคืนทุนให้เร็วที่สุด เมื่อมีคู่แข่งที่เป็นธุรกิจแบบ Me Too เข้ามาในตลาดพร้อมๆกัน ทำให้ผลกำไรไม่เป็นไปตามเป้าหมายหรืออาจจะถึงขั้นประสบกับภาวะการขาดทุน อันอาจเกิดจากลูกค้าก็ยังเลือกที่จะซื้อสินค้าหรือบริการจากธุรกิจเดิมหรือรายได้ถูกกระจายไปยังคู่แข่งขันรายอื่นๆ ที่เป็นธุรกิจแบบ Me Too เช่นเดียวกัน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเริ่มต้นส่วนใหญ่จะสูงกว่าเนื่องจากเป็นธุรกิจใหม่ที่เข้ามาในตลาด ลูกค้ายังไม่รู้จักสินค้าหรือบริการ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทางด้านการตลาดเพื่อการสร้างความรับรู้ให้แก่ลูกค้า เช่น ค่าโฆษณา ค่าประชาสัมพันธ์ ส่วนลดต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องของเครดิตทางการค้า เป็นต้น ทำให้เมื่อหักลบกลบหนี้ระหว่างรายได้ที่น้อยกว่าคาดกับรายจ่ายที่มากกว่าที่คิดแล้ว คงเหลือกำไรน้อยหรือไม่เหลือกำไรเลยจนถึงขั้นขาดทุน อันส่งผลให้ธุรกิจแบบ Me Too ต้องปิดกิจการไปในเวลาอันสั้นถ้าเงินทุนไม่หนาพอ

รู้ไม่จริง อาจจะถือเป็นสาเหตุหลักสำคัญในเรื่องของความล้มเหลวของธุรกิจแบบ Me Too เนื่องจากในแต่ละธุรกิจจะมีลักษณะเฉพาะในการดำเนินการที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ที่ไม่มีความรู้ในการทำธุรกิจนั้นมาก่อนเมื่อลองมาทำธุรกิจด้วยตนเอง ก็มักจะไม่สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การเงิน ทำให้เมื่อประสบปัญหาก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เช่น ไม่รู้ว่าลุกค้าเป้าหมายที่จะซื้อสินค้าหรือบริการเป็นใครแต่คิดว่าในเมื่อธุรกิจยังมีลูกค้าซื้อ สำหรับธุรกิจของตนเองก็น่าจะเป็นเช่นเดียวกัน หรือไม่รู้ว่าจะผลิตสินค้าอย่างไร โดยคิดว่าสามารถว่าจ้างผู้ผลิตอื่นให้ใส่ยี่ห้อสินค้าของตนเองแล้วขายได้  นอกจากการ “รู้ไม่จริง” แล้ว สำหรับการ “รู้บางส่วน” เช่น เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายการผลิต เป็นผู้จัดการด้านการตลาด หรือเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย ก็จะมีความรู้เฉพาะส่วนที่ตนเองรู้หรือรับผิดชอบเท่านั้นถ้าไม่ทำการศึกษาหรือเรียนรู้งานในส่วนอื่น เช่น ผู้จัดการฝ่ายการผลิตอาจจะรู้แต่ต้นทุนผลิตว่าชิ้นละ 20 บาท แต่ไม่เคยรู้ว่ามีต้นทุนการตลาดและค่าบริหารจัดการอื่นๆอีก 50 บาท รวมเป็นต้นทุนขายชิ้นละ 70 บาท ทำให้ธุรกิจเดิมต้องขายชิ้นละ 100 บาท เพราะเมื่อหักเครดิตการค้า ค่าเงินกู้ ค่าภาษีแล้วยังคงเหลือกำไรอีก 10 บาทเป็นต้น ดังนั้นเมื่อตนคาดว่าจะขายสินค้าในราคา 80 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายอื่นแล้วจึงไม่เหลือกำไรเลยหรือขาดทุน เป็นต้น หรือถ้าเป็นผู้จัดการฝ่ายขายที่ดูแลลูกค้าของธุรกิจก็จะรู้จักรายชื่อลูกค้าหรือเคยดำเนินติดต่อค้าขายกับลูกค้า แต่เมื่อออกมาทำธุรกิจเองโดยจะขายสินค้าให้กับลูกค้าของตนที่ดูแลอยู่ก็อาจจะได้รับการปฏิเสธ เพราะลูกค้าเหล่านั้นอาจจะไม่เชื่อถือในธุรกิจใหม่ของผู้จัดการฝ่ายขายนี้ ในเรื่องความสามารถในการบริหารจัดการ เช่น การผลิตสินค้า หรือ มาตรฐานสินค้า หรือเงื่อนไขอื่นๆ เช่น เครดิตการค้า เพราะธุรกิจเดิมก็ให้เงื่อนไขที่ดีอยู่แล้วและธุรกิจใหม่มักจะไม่สามารถให้เงื่อนไขที่ดีกว่าเดิมได้เพราะเงินทุนไม่พอ รวมถึงการที่ลูกค้าจัดสินใจซื้อสินค้านั้นเนื่องจากตัวสินค้าและเงื่อนไขที่ดีมิใช่มาจากการเลือกซื้อเพราะผู้จัดการฝ่ายขายที่ดี เป็นต้น

ทุนไม่พอ สำหรับธุรกิจแบบ Me Too ที่ใช้ทุนของผู้ประกอบการเองเป็นหลัก ถ้าเกิดปัญหาด้านการเงินไม่ว่าจะเป็นการขาดเงินทุนหมุนเวียนหรือภาวะขาดทุน ก็มักจะยืนระยะได้พอสมควรจนกว่าจะแบกรับภาระไม่ไหวแล้วปิดกิจการไป แต่สำหรับธุรกิจที่มีการระดมทุนจากหุ้นส่วน เช่น เพื่อนฝูง หรือบุคคลภายนอก เมื่อเกิดปัญหาด้านการเงินขึ้น หุ้นส่วนเหล่านี้ก็มักจะรีบขอถอนหุ้นอันเนื่องจากเห็นว่าถ้าปล่อยให้ยืดระยะเวลาออกไป นอกจากจะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้แล้ว เงินที่ลงทุนอาจจะสูญเสียหรือสูญไปจนหมด และที่สำคัญก็คือหุ้นส่วนที่มาลงทุนในธุรกิจนี้โดยส่วนใหญ่จะมุ่งหวังในส่วนแบ่งจากผลกำไรเป็นสำคัญ มิใช่ต้องการที่จะลงทุนเพื่อการทำธุรกิจอย่างแท้จริง เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจึงมักจะขอให้เจ้าของธุรกิจซื้อหุ้นคืนจากส่วนของตน ซึ่งตัวผู้ประกอบการก็ไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะซื้อหุ้นคืนในส่วนดังกล่าว หรือบางกรณีอาจเกิดจากความไม่ไว้วางใจโดยอาจคิดว่าผู้ประกอบการไม่มีความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจ หรือมีการทุจริตยักยอกรายได้เป็นของตนเอง ทำให้ธุรกิจ Me Too ที่มีจุดเริ่มต้นในลักษณะนี้มักจะมีรายการ “เพื่อนรักหักเหลี่ยมโหด” อยู่บ่อยครั้งถ้าผู้ประกอบการหรือผู้ดำเนินการหลักไม่มีทุนหนาเพียงพอ

ไม่มีเวลา เนื่องจากการที่มีบางส่วนของธุรกิจแบบ Me Too ที่ดำเนินการในลักษณะรายได้เสริมโดยเฉพาะจากเจ้าของที่เป็นพนักงานประจำ ทำให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของกิจการไม่มีเวลาที่จะมาบริหารจัดการธุรกิจอย่างเต็มตัว โดยอาจจะต้องมีการว่าจ้างลูกจ้างหรือพนักงานให้มาดำเนินการแทน โดยตนเองจะเข้ามาควบคุมดูแลเป็นระยะๆ เช่น หลังเลิกงาน หรือ เฉพาะวันหยุด ทำให้กรณีที่เกิดปัญหาขึ้นในการทำธุรกิจในช่วงเวลาที่เจ้าของไม่อยู่ดูแลอันเนื่องมาจากลูกค้าหรือจากคู่ค้าของธุรกิจ ในบางกรณีลูกจ้างหรือพนักงานจะไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาหรือตัดสินใจใดๆได้ในทันทีถ้าไม่ได้มอบหมายอำนาจการตัดสินใจไว้ให้ หรือเกินความสามารถที่จะตัดสินใจได้โดยต้องรอการตัดสินใจจากเจ้าของ ทำให้ธุรกิจเกิดการสะดุดหรือเกิดปัญหาการเสียลูกค้าไป นอกจากนี้การที่เจ้าของไม่สามารถมาดูแลธุรกิจเองได้ด้วยตนเอง หรือไม่สามารถควบคุมการดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจก่อให้เกิดการทุจริตจากลูกจ้างหรือพนักงานจนทำให้เกิดภาวะขาดทุนและต้องปิดกิจการไปในที่สุด

คนเราจำได้แต่ที่หนึ่ง ในการทำธุรกิจแล้วหลักการหนึ่งก็คือ ลูกค้าจำชื่อธุรกิจที่เป็นผู้นำหรือที่หนึ่งในตลาดได้ก่อนหรือธุรกิจที่มีความคุ้นเคยอยู่เท่านั้น เหมือนกับที่คนส่วนใหญ่จะจำชื่อนักกีฬาที่ชนะเลิศหรือได้เหรียญทองเท่านั้น แต่ถ้าถามว่าใครได้เหรียญเงินหรือเหรียญทองแดงก็มักจะนึกไม่ออก เหมือนถ้าถามเกี่ยวกับเรื่องสุกี้ จะนึกถึง M.K. ถ้าถามเรื่องร้านสะดวกซื้อจะนึกถึง เซเว่น-อิเลฟเว่น ทั้งๆที่มี โค-คาสุกี้ สุกี้เรือนเพชร Family-Mart V-shop ซึ่งก็เป็นธุรกิจที่ดำเนินการแบบดียวกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นธุรกิจที่ไม่ใช่ผู้นำตลาดลูกค้าก็จะมีความคุ้นเคยกับธุรกิจที่ตนเองได้เคยติดต่อซื้อสินค้าหรือบริการเป็นหลักใหญ่ การจะเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือในการตัดสินใจของลูกค้าจึงเป็นเรื่องยากโดยเฉพาะธุรกิจที่มีการแยกตัวออกมาจากธุรกิจเดิมไม่ว่าจะมาจากการเคยเป็นพนักงาน ผู้บริหาร หรือหุ้นส่วนก็ตาม เพราะอย่างไรก็ดีธุรกิจที่ทำก็คือหมายเลขสองในใจของลูกค้าอยู่เสมอ

จากที่กล่าวมาเบื้องต้นดูเหมือนว่าการทำธุรกิจแบบ Me Too จะมีแต่ปัญหา และยากที่จะประสบความสำเร็จได้ แต่ในข้อจริงแล้วก็มีธุรกิจ Me Too บางส่วนที่สามารถประสบความสำเร็จเช่นกัน เพราะสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับการทำธุรกิจแบบ Me Too ก็คือความเข้าใจเรื่อง “ถ้าจะทำธุรกิจแบบ Me Too ต้อง Do Better” สำหรับผู้ประกอบการที่เข้าใจหลักพื้นฐานนี้ จะนำเอาเฉพาะข้อดีของธุรกิจที่ตนเองลอกเลียนหรือก๊อปปี้แบบมาใช้กับธุรกิจของตนเอง ในขณะที่จุดอ่อนที่มีอยู่ในธุรกิจนั้น ตนเองก็จะหาแนวทางแก้ไขหรือไม่ปฏิบัติตามแนวทางอันก่อให้เกิดจุดอ่อนนั้นขึ้น แล้วทำการพัฒนาส่วนดีให้ดีขึ้นไปอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินค้าหรือบริการ การผลิต การตลาด การเงิน นำมาปรับให้เข้ากับธุรกิจของตนเองโดยอิงพื้นฐานจากปัจจัยที่ตนเองมีอยู่เป็นหลัก เช่น ทำเลที่ตั้ง เงินทุน เงื่อนไขการค้า เครือข่าย หรือปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องนอกเหนือ เป็นต้น คือพัฒนาให้ดีกว่าหรือแตกต่างจากธุรกิจเดิมโดยใช้ของที่มีอยู่ ไม่ใช่ทำธุรกิจแบบลอกเลียนหรือก๊อปปี้ โดยไม่พิจารณาหรือศึกษาถึงเงื่อนไขหรือปัจจัยของธุรกิจที่ลอกเลียนหรือก๊อปปี้มาว่ามีอะไรบ้าง เพราะบางอย่างตนเองก็ไม่สามารถมีได้หรือบางอย่างตนเองอาจจะมีดีกว่า ตนเองสามารถทำได้เหมือนภายใต้ปัจจัยหรือเงื่อนไขนั้นหรือไม่ หลักพื้นฐานนี้คือสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างธุรกิจ Me Too ที่ล้มเหลว กับธุรกิจแบบ Me Too ที่ประสบความสำเร็จ

ปรัชญาในการทำธุรกิจของ Google เสริช์เอ็นจิ้นที่ในปัจจุบันกลายเป็นอันดับ 1 ของโลกในปัจจุบัน ทั้งๆที่ Google เองก็ไม่ใช่รายแรกที่ทำธุรกิจแบบนี้อาจเรียกไว้ว่า Google ก็เป็นธุรกิจแบบ Me Too ได้เช่นเดียวกัน เป็นปรัชญาที่ง่ายและตรงความหมายที่สุดไม่เฉพาะกับธุรกิจแบบ Me Too แต่ยังรวมถึงธุรกิจทั่วไปอีกด้วย ปรัชญานี้ก็คือ คือ 1.ต้องทำสิ่งนั้นเป็นสิ่งแรก 2.ต้องทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด และ 3.ถ้าทำไม่ได้ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ต้องทำให้สิ่งนั้นให้แตกต่างออกไป ซึ่งในปัจจุบัน Google ก็ได้แสดงถึงการดำเนินการทางธุรกิจตามปรัชญาของบริษัทดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น Google Earth (เป็นสิ่งแรก) Google Search Engine (ดีที่สุด) G-mail (ทำให้แตกต่างออกไปคือเป็น Free-Email ที่มีขนาดเมล์บ๊อกซ์ที่ใหญ่ที่สุด) เป็นต้น หวังว่าผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจแบบ Me Too หรือเป็นธุรกิจแบบ Me Too ที่ดำเนินการอยู่จะเข้าใจประเด็นต่างๆเหล่านี้ แล้วไปปรับปรุงธุรกิจให้กลายเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จได้ อย่าลืมประโยคนี้ “ศิลปินชั้นดีต้องลอกเลียน ศิลปินชั้นเซียนต้องก๊อปปี้” แต่ถ้าจะให้คบถ้วนจริงๆต้องเป็น “ศิลปินชั้นดีต้องลอกเลียน ศิลปินชั้นเซียนต้องก๊อปปี้ ถ้าอยากให้ศิลปินเรียกพี่ ต้องเขียนให้ดีกว่าของเดิม”

บทความโดย : ศศิ คล่องพยาบาล
          ที่ปรึกษา ส่วนบริการปรึกษาการเงินและการร่วมลงทุน
          ฝ่ายประสานและบริการ SMEs 

          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)     




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน