ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

 

 

                                       ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

 

การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) นั้น ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะกับบริษัทที่เข้าจดทะเบียนเท่านั้น ผู้ถือหุ้นของบริษัทก็จะได้รับประโยชน์ด้วย

ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียน : ต่อบริษัท

ประการที่ 1 แหล่งเงินทุนระยะยาวที่ปราศจากภาระดอกเบี้ย

การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ช่วยให้บริษัทสามารถระดมเงินทุนจากประชาชนทั่วไปได้โดยตรง เพื่อนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายธุรกิจของบริษัทได้โดยไม่มีภาระที่ต้องชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยตามงวดเวลาที่กำหนดเหมือนการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน ทำให้บริษัทมีความยืดหยุ่นในการบริหารเงินมากขึ้น

ประการที่ 2 เพิ่มช่องทางระดมทุนเพื่อช่วยในการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถระดมทุนเพิ่มเติมเมื่อมีความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้นได้ โดยการออกตราสารทางการเงินประเภทต่างๆ ได้หลากหลายยิ่งขึ้น ทั้งตราสารหนี้ ตราสารทุน และตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน เช่น หุ้นสามัญเพิ่มทุน หุ้นกู้ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ เป็นต้น ช่วยให้บริษัทสามารถจัดโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้

ประการที่ 3 เสริมสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท

การเป็นบริษัทจดทะเบียนจะช่วยเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีในการบริหารงานและมาตรฐานการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น ผ่านกลไกการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนสนใจลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทมากขึ้นแล้ว ยังช่วยสร้างความเชื่อถือให้แก่ลูกค้า คู่ค้า ทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

ประการที่ 4 สร้างความภักดี และผลตอบแทนที่ดีให้แก่พนักงาน

พนักงานของบริษัทนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ การให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ จะช่วยสร้างความภักดีและความภูมิใจให้แก่พนักงาน มีความทุ่มเทความสามารถอย่างเต็มที่ในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่บริษัท การเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นช่องทางหนึ่งที่บริษัทสามารถเปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัทได้ ผ่านโครงการเสนอขายหลักทรัพย์ให้แก่กรรมการหรือพนักงานของบริษัท (Employee Stock Option Program หรือ ESOP)

ประการที่ 5 สร้างความรับผิดชอบและการบริหารงานแบบมืออาชีพ

การที่บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร และความเคลื่อนไหวต่างๆ ผ่านช่องทางและระบบการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของตลาดหลักทรัพย์ ช่วยทำให้บริษัทเป็นที่รู้จักของผู้ลงทุนมากขึ้น ช่วยสร้างความสนใจของผู้ลงทุนในบริษัทมากขึ้นและกระตุ้นให้ผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนมีความรับผิดชอบในการบริหารงานมากขึ้นด้วย

ประการที่ 6 การดำรงอยู่ของธุรกิจในระยะยาว

การเป็นบริษัทจดทะเบียนจะช่วยให้บริษัทที่มีการบริหารงานแบบธุรกิจครอบครัวก้าวเข้าสู่การบริหารงานแบบมืออาชีพมากขึ้น มีผู้บริหารที่เป็นมืออาชีพเข้ามาร่วมบริหารกิจการ และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวของเจ้าของกิจการที่มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตหรือมีความถนัดที่แตกต่างกันไปสามารถเลือกประกอบอาชีพที่ต้องการโดยยังคงมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทและได้รับผลตอบแทนจากการถือหุ้นอยู่เช่นเดิม

 

ประโยชน์ของการเป็นบริษัทจดทะเบียน : ต่อผู้ถือหุ้น

ประการที่ 1 เพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ถือหุ้น

การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ช่วยให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทมีศูนย์กลางในการซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ที่ถือไว้เป็นเงินสดได้ง่ายและสะดวก ซึ่งจะช่วยให้เกิดสภาพคล่องให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้

ประการที่ 2 ลดภาระค้ำประกันของผู้ถือหุ้นและกรรมการ

การเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนจะช่วยให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทจะต้องปรับปรุงให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการเปิดเผยข้อมูลเพิ่มขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์กำหนด นอกจากนี้การเป็นบริษัทจดทะเบียนและเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ทำให้หลักทรัพย์ของบริษัทมีราคาอ้างอิง และมีสภาพคล่อง เป็นหลักทรัพย์ที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งผู้ถือหุ้นสามารถนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ หรือเพื่อใช้ลดการค้ำประกันการกู้ยืมเงินที่ทำไว้ก่อนการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนและเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้

ประการที่ 3 ได้รับยกเว้นภาษีกำไรจากการขายหุ้น

บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียนจะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำกำไรที่ได้จากการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

คุณสมบัติของการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) มุ่งมั่นสรรหาและคัดเลือกบริษัทที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน โดยบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนได้ ต้องเป็นบริษัทที่มีประวัติการดำเนินงานมาพอสมควร โดยมีผลกำไรที่ผ่านมาชัดเจน พร้อมกระจายการถือหุ้นให้สาธารณชน และที่สำคัญต้องมีบรรษัทภิบาลที่ดี มีความโปร่งใสและเชื่อถือได้ โดยคุณสมบัติของบริษัทจดทะเบียน มีดังนี้

ฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงาน

ทุนชำระแล้วและส่วนของผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท
มีผลการดำเนินงานต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 2 ปี ภายใต้การจัดการของผู้บริหารส่วนใหญ่กลุ่มเดียวกันอย่างน้อย 1 ปี ก่อนยื่นคำขอ และกำไรสุทธิในปีล่าสุดก่อนยื่นคำขอมีกำไรสุทธิ และมีกำไรสุทธิในงวดสะสมของปีที่ยื่นคำขอ
ในกรณีที่มีผลการดำเนินการเพียง 1 ปี สามารถเข้าจดทะเบียนได้ หากมีมูลค่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท

การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย

ผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่น้อยกว่า 300 ราย ถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 20% ของทุนชำระแล้ว
การเสนอขายหุ้นแก่ประชาชน
- โดยจำนวนหุ้นที่เสนอขาย ต้องไม่น้อยกว่า 15% ของทุนชำระแล้ว

การบริหารจัดการโปร่งใสมีมาตรฐาน

มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 3 ท่าน และมีระบบการควบคุมภายในที่สร้างความเชื่อมั่นได้ว่า ระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
ไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างผู้ยื่นคำขอกับผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และบริษัทอื่นซึ่งมีผู้บริหารหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มเดียวกัน
รายงานทางการเงินมีความน่าเชื่อถือ ผู้สอบบัญชีของบริษัทได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.
มี่ทีปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก.ล.ต.

 

ค่าใช้จ่ายในการระดมทุน

ค่าใช้จ่ายในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ประกอบด้วย ค่าใช้จ่าย 2 ส่วน ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรก (IPO One-Time Expenses) และ ค่าใช้จ่ายประจำปี (Recurring Expenses) ค่าใช้จ่ายในการเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ครั้งแรก เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระหว่างการเตรียมบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ อาทิ ค่าสอบบัญชี ค่าบริการที่ปรึกษาทางการเงิน ค่ารับประกันการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriting Fee) ค่าประชาสัมพันธ์และหนังสือชี้ชวน ค่าธรรมเนียม ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ และค่าใช้จ่ายจดทะเบียนเพิ่มทุน เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายประจำปี เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ได้แก่ ค่าสอบบัญชี ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนหลักทรัพย์ ค่าตอบแทนคณะกรรมการตรวจสอบ ค่าธรรมเนียมรายปี ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เป็นต้น

อัตราค่าใช้จ่ายมีดังนี้

1. เตรียมพร้อมเข้าจดทะเบียน

  ที่ปรึกษาทางการเงิน

ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางการเงิน ขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความพร้อมของบริษัท โดยมีอัตราขั้นต่ำประมาณ 1 ล้านบาท และมีวิธีการชำระค่าบริการหลายวิธี เช่น

คิดเป็นราคาเหมาจ่าย
คิดเป็นร้อยละของมูลค่าเงินทุนที่ระดมได้
คิดเป็นสัดส่วนตามงานที่ทำเสร็จ ฯลฯ 
 
2. ยื่นคำขอต่อสำนักงาน ก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)

  สำนักงาน ก.ล.ต.

ค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต: 50,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการยื่น Filing: 0.08% ของมูลค่าการเสนอขาย แบ่งชำระ ดังนี้
- 30,000 บาท ในวันนับ Filing วันแรก
- ส่วนที่เหลือ (ถ้ามี) ในวันที่ Filing มีผลใช้บังคับ
ค่าธรรมเนียมรายปี: คิดตามส่วนของผู้ถือหุ้น 
 

                       

       ส่วนของผู้ถือหุ้น (ล้านบาท)

 ค่าธรรมเนียม

               น้อยกว่า 500

   50,000  บาท

   ตั้งแต่ 500 - 1,000

  100,000  บาท

      มากกว่า 1,000

      300,000  บาท

 

  ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ

ค่าธรรมเนียมยื่นคำขอ: 25,000 บาท
ค่าธรรมเนียมแรกเข้า: 0.025% ของทุนชำระแล้ว ขั้นต่ำ 50,000 บาท ขั้นสูง 1,500,000 บาท
ค่าธรรมเนียมรายปี: 0.02% ของทุนชำระแล้ว ขั้นต่ำ 25,000 บาท ขั้นสูง 1,500,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการเพิ่มทุนในแต่ละครั้งที่มีการเพิ่มทุน: ยกเว้น

  นายทะเบียน

ค่าธรรมเนียมรายปีในการเป็นนายทะเบียนคิดอัตราค่าธรรมเนียมที่ลดลงตามจำนวนทุนชำระที่เพิ่มขึ้น โดยคำนวณตามทุนชำระทุก 1 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท

ทุนชำระ

(ล้านบาท)

 อัตราค่าธรรมเนียมติดตาม

ทุนชำระทุก 1 ล้านบาท

ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ

(บาท)

       ไม่เกิน 1,000

  430  บาท

   30,000

   1,000 -  5,000

  380  บาท

  430,000

   5,001 - 10,000

  320  บาท

1,900,000

  มากกว่า  10,000

 230 บาท

3,200,000

 

3. เสนอขายหุ้น

  ผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย

ค่าธรรมเนียมรับประกัน การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ประมาณ 3 % ของมูลค่าการระดมทุน
 

4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

-ผู้สอบบัญชี ประมาณ 300,000 – 1,000,000 บาท
-ค่าจัดพิมพ์หนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญ ประมาณ 100,000 – 300,000 บาท
-ค่าใช้จ่ายประชาสัมพันธ์

 อ่านข้อมูลเพิ่มเติม : ก้าวแรกสู่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์...คลิก (pdf)(1.15 MB)

 

ที่มาของข้อมูล : ตลาดหลักทรัพย์ MAI




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ
สร้างอุปนิสัยในการทำงาน