ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ความยินยอมของคู่สมรส

 

 

                                                                                 ความยินยอมของคู่สมรส    

      
เมื่อชายหญิงตกลงปลงใจแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ย่อมก่อให้เกิด ความผูกพันเป็นครอบครัว ที่จะต้องดูแลเลี้ยงดูกัน การจัดการทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ที่เรียกกันว่า "สินสมรส"

สิ่งใดบ้างที่ถือว่าเป็นสินสมรส กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 บัญญัติ ว่า "สินสมรส" ได้แก่ ทรัพย์สิน

 1.ที่คู่สมรสได้มา ระหว่างสมรส

 2.ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรม หรือ หนังสือยกให้ระบุว่า เป็นสินสมรส

 3. ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว

ถ้าเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส

คงจะเข้าใจแล้วนะครับว่าสินสมรสคืออะไร นอกจากนี้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังได้กำหนดวิธีจัดการสินสมรสไว้ในมาตรา 1476 อีกว่า สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งก่อนในกรณีที่จะกล่าวต่อไป มิฉะนั้นอาจถูกอีกฝ่ายหนึ่ง ฟ้องร้องต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ในภายหลัง คือ

1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือ โอนสิทธิจำนองซึ่งอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

2. ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพัน ในอสังหาริมทรัพย์

3. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี

4. ให้กู้ยืมเงิน

5. ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัว เพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือ ตามหน้าที่ธรรมจรรยา

6. ประนีประนอมยอมความ

7. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

8. นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล

การจัดการสินสมรสนอกจากที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง จะเห็นได้ว่า กฎหมายมิได้ปิดทางเสียทีเดียวยังมีกิจการอีกมากมายที่สามีหรือภริยาสามารถ ทำได้โดยลำพังตนเอง เช่น ถ้าเป็นเรื่องการให้เช่า อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เกิน 3 ปี หรือ การไปทำสัญญาค้ำประกัน การเช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ธรรมดาที่จำเป็นในโลกยุคปัจจุบัน เช่น เครื่องเสียง ตู้เย็น โทรทัศน์ เป็นต้น แต่ถ้าเกิดกรณีที่ฝ่ายสามีหรือภริยาประพฤติผิดแผกไปจากนี้ล่ะครับ เช่น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปจัดการสินสมรสที่กฎหมายบังคับให้ต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส อีกฝ่ายก่อนโดยไปทำนิติกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจากความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง

จึงเห็นได้ว่าเกิดความไม่เป็นธรรมต่อคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ที่มิได้รู้เห็นด้วยที่ต้องมารับกรรมผูกพันรับผิดชอบร่วมกัน กฎหมายจึงได้ให้ทางออกแก่คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ได้รู้เห็นด้วย ตาม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 โดยฝ่ายนั้นมีสิทธิที่จะฟ้องร้องต่อศาลภายใน1ปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุ แต่มิให้ฟ้องถ้าเกิน10 ปีแล้ว เพื่อให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมที่ตนมิได้รู้เห็นยินยอมนั้นได้ แต่มีข้อยกเว้นที่ห้ามฟ้อง คือ ฝ่ายที่มิได้รู้เห็นได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว คือยอมรับนิติกรรมนั้น หรือถ้าในขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมนั้น บุคคลภายนอกได้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน


กรณีหลังนี้มักเกิดข้อถกเถียงที่ต้องพิสูจน์กันมากครับว่า บุคคลภายนอกนั้นทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนจริงหรือไม่ หรือว่าคบคิดรู้เห็นเป็นใจกัน สมมติว่าถ้าสามีหรือภริยาจะจัดการสินสมรสในกิจการทั้ง 8 ข้อ ตามมาตรา1476 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรส อีกฝ่ายหนึ่ง ก่อนตามที่กฎหมายกำหนด จะทำได้หรือไม่ เราต้องมาดูกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476/1 ที่บัญญัติไว้ว่า ถ้าฝ่ายสามีหรือภริยา จะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่ระบุไว้ในมาตรา 1476 ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา1465 และมาตรา 1466 ถ้าเป็นเช่นนี้การจัดการสินสมรสก็ให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส ดังนั้นคำตอบคือ ทำได้

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อตกลงร่วมชีวิตกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การจะกระทำสิ่งใดต้องแสดงความจริงใจเปิดเผย ต้องให้คู่สมรสของตนได้ร่วมรับรู้ด้วย จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

บทความโดย : คุณพิทยา ลำยอง   ที่มา : http://www.geocities.com/ruammitra




รวมบทความกฎหมายน่ารู้

การทวงหนี้
กรรมการบริษัทต้องจ่ายเงินประกันสังคมหรือไม่
ไม้ตายจัดการเจ้าหนี้นอกระบบ
สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม
ค้ำประกันอย่างไร ไม่ให้เสียตังค์
ลิขสิทธิ์ Copyright Law
หมิ่นประมาท เหยียดหยาม
กฎหมายไม่ใช่เรื่องไกลตัว
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแพ่ง
คำแนะนำในการไปติดต่อที่สถานีตำรวจ
กฎหมายประกันสังคม
กฎหมายแรงงาน
มีไฟล์เพลงละเมิดลิขสิทธิ์ในเครื่องคอมฯ อย่างไร จึงไม่ผิดกฎหมาย
หมิ่นประมาท
กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้
ทำอย่างไร..เมื่อได้รับ "หมายศาล"
เมื่อมีปืน แล้วต้องรู้จักคำว่า ป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ความไม่รู้กฎหมาย จะอ้างเป็นข้อแก้ตัวไม่ได้
ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ เป็นอย่างไร
ผู้ต้องหามีสิทธิพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในชั้นสอบสวน
อายุความบัตรเครดิต 2 ปี หมายความว่าอย่างไร
เรียกดอกเบี้ยเงินกู้เกินที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็นโมฆะ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 2)
หลักประกันตัวในคดีอาญา
ผู้ให้และผู้รับ
ทะเบียนสมรส ( บทความที่ 1)
ข้อควรปฎิบัติเมื่อถูกฟ้อง