ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



วิกฤตการณ์เงินบาทแข็ง

 

                                                                                 วิกฤตการณ์เงินบาทแข็ง     

 

ผมหายหน้าหายตาไปนานเนื่องจากเหตุผลหลายอย่างที่ทำให้ไม่อยากออกความคิดความเห็น เพราะอาจจะไปกระทบเพื่อนที่ทำงานอยู่ในรัฐบาลนี้ และทำให้พวกเขาเสียสมาธิได้

แต่เมื่อสถานการณ์ทางเศรษฐกิจกำลังเลื่อนไหลไปในทิศทางที่น่าเป็นห่วง ก็เลยตัดสินใจออกมาพูดเป็นครั้งแรก ในเรื่องเศรษฐกิจการเงินที่กำลังน่าเป็นห่วง โดยมิได้ตั้งใจจะให้กระทบกระเทือนถึงใคร

เรื่องแรกอยากจะพูดมานานแล้วว่า การส่งออกและการท่องเที่ยวนั้นมีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจของเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะประเทศเราเป็นประเทศเล็ก ตลาดเราก็เป็นตลาดเล็ก จะผลิตอะไรถ้าไม่ส่งออกก็ล้นตลาดเสียแล้ว อุตสาหกรรมการส่งออกและการท่องเที่ยวนั้น เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างกิจกรรมต่อเนื่องทางเศรษฐกิจมากมาย ประเทศเราเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติน้อยกว่าประเทศอื่นๆ มีความจำเป็นต้องนำเข้าของที่เราไม่มีมากมาย นับตั้งแต่น้ำมัน ถ่านหิน และพลังงานอื่นๆ วัตถุดิบ เครื่องจักร เรื่อยไปถึงเทคโนโลยี ยิ่งต้องนำเข้ามากเท่าไหร่ ความสำคัญของ การส่งออกและการท่องเที่ยวในฐานะเป็น แหล่งหาเงินตราต่างประเทศมาใช้ในการนำเข้า ก็ยิ่งมีความสำคัญ

หลายคนคิดว่า การที่สัดส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวของเราต่อรายได้ประชาชาติของเรา ซึ่งมีประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์นั้นสูงเกินไป ทำให้เราต้องพึ่งพาการส่งออกและการท่องเที่ยวมากเกินไป ผมกลับเห็นว่าไม่เป็นไร และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ประเทศที่เล็ก และมีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก สัดส่วนทางการส่งออก ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ก็ยิ่งสูงขึ้น บางประเทศมูลค่าการส่งออก มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเสียอีก เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และหลายๆ ประเทศที่เจริญกว่าเรา ดังนั้นสัดส่วนของการส่งออกและการท่องเที่ยวสูงหรือต่ำไม่สำคัญ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างประเทศ และทรัพยากรของประเทศนั้นๆ

ในระยะ 2 ปีมานี้ ค่าเงินบาทของเราแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันของเรา กล่าวคือนับจากต้นปี 2549 บาทเราแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ถึง 23 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เงินวอนเกาหลีใต้ แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับดอลลาร์ประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ ริงกิตมาเลเซียและดอลลาร์สิงคโปร์แข็งค่าขึ้นประมาณ 9-10 เปอร์เซ็นต์ ฮ่องกงตรึงค่าไว้กับดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนญี่ปุ่นมีค่าอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์

เมื่อเป็นอย่างนี้ การส่งออกและการท่องเที่ยวของเราก็ได้รับการกระทบกระเทือนอย่างหนัก ประสบกับการขาดทุน และแข่งขันกับต่างประเทศที่เป็นคู่แข่งไม่ได้ เมื่อขาดทุนและแข่งขันไม่ได้ก็ต้องทยอยปิดโรงงาน ทำให้คนตกงานมากขึ้นเรื่อยๆ อุตสาหกรรมหรือการส่งออกใดที่มีสัดส่วนใช้ของในประเทศมากกว่า คือใช้วัตถุดิบในประเทศมากก็ยิ่งขาดทุนมาก วิธีปรับตัวก็คือกดราคาวัตถุดิบที่ผลิตในประเทศลง เช่น กดราคายางพาราลง กดราคากุ้งลง กดราคาธัญพืช เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว รำข้าว รวมทั้งราคาข้าวลง เพราะราคาที่ผู้ส่งออกได้รับเมื่อนำมาแตกเป็นเงินบาทลดลง

ผลเสียจึงไม่ได้ตกอยู่กับผู้ส่งออกเท่านั้น แต่มีผลไปถึงทุกส่วนของเศรษฐกิจ ตั้งแต่ผู้ส่งออก ผู้ผลิตชิ้นส่วน และวัตถุดิบของผู้ส่งออก เรื่อยไปถึงชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนยาง

เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้น คนในเมืองเสียหายย่ำแย่ แต่เมื่อค่าเงินบาทตก คนในชนบท ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวนยางดีขึ้น เพราะราคาพืชผลดีขึ้น แต่เที่ยวนี้ที่ค่าเงินบาทแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลกระทบตกอยู่กับทั้งคนในเมือง ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน ในชนบทหมดทุกส่วน จะดีขึ้น ก็เฉพาะผู้นำเข้า หรือผู้ที่ใช้ของที่เราต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ หรือผู้ที่จะไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ หรือผู้ที่มีลูกเรียนหนังสืออยู่ในต่างประเทศเท่านั้น ด้วยเหตุนี้การเปลี่ยนแปลงของ ค่าเงินบาทจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องรักษาไว้ให้มีเสถียรภาพ และให้อยู่ในระดับที่ ไม่เสียเปรียบคู่แข่งของเรา เช่น จีน และประเทศอื่นๆ แต่ที่ผ่านมาเราไม่ได้ดูแลผู้ส่งออกและธุรกิจการท่องเที่ยวของเรา ซึ่งถูกกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบในภาคใต้และความผันผวนทางการเมืองของเราเอง

ที่ต้องถือว่าค่าเงินบาทเข้าสู่ภาวะวิกฤต เพราะเกิดการคาดการณ์ทั้งในตลาดในและนอกประเทศแล้วว่า ทางการไทยไม่มีความสามารถ ที่จะทำอะไรได้ เพราะมีทัศนคติที่แปลก ที่ไม่อยากจะทำอะไรที่ตนต้องรับผิดชอบ ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมาสู้อยู่เฉยๆ ดีกว่า ดังจะเห็นได้จากการให้สัมภาษณ์ที่ขัดกับเหตุผลทางเศรษฐกิจ หรือบางครั้งก็ออกมา "แก้ตัว" มากกว่าที่อยากจะ "แก้ไข" จนกลายเป็นการให้ท้ายนักเก็งกำไร ตัวอย่างเช่น

- อัตราแลกเปลี่ยนไม่กระทบกับการส่งออก ไม่กระทบกับเศรษฐกิจ ซึ่งไม่จริง ผู้พูดก็รู้ว่าไม่จริง

- ผู้ส่งออกต้องรู้จักปรับตัว เป็นการพูดที่ไม่ต้องรับผิดชอบ ผู้ส่งออกหรือเอกชนนั้นปกติปรับตัวอยู่ตลอดเวลา ถ้าเขาทำได้ไม่ต้องรอให้ทางการมาบอกหรอก

- ทางการทำอะไรไม่ได้แล้ว ทำหมดพุงแล้ว ทำดีที่สุดแล้ว ทำได้เพียงแค่นี้ซึ่งไม่จริง มีเรื่องที่จะทำได้อีกมากแต่ไม่ยอมทำ เพราะยึดติดกับสิ่งที่สร้างขึ้นมา อย่างเมื่อปี 2540 ที่ไม่ยอมลดค่าเงินบาทเพราะยึดติดกับตะกร้าเงินที่ตนสร้างขึ้นมา คราวนี้ก็ยึดติดกับ "สูตรเป้าหมายเงินเฟ้อ" ดอกเบี้ยซึ่งควรจะต้องใช้เป็นเครื่องมือร่วมกับเครื่องมือทางการเงินอื่นๆ พร้อมๆ กัน ก็เลย ทำไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงดอกเบี้ยก็ต้องรอกำหนด วันเวลาที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าตั้งแต่ต้น การยึดติดเช่นว่าเท่ากับเป็นการมัดมือมัดเท้าตัวเอง ทำให้ขาดความคล่องตัว นโยบายดอกเบี้ยไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้ว่าการ ธปท. แต่เป็นความรับผิดชอบของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ว่าการก็รอดตัวไปจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งไม่น่าจะถูก ทั้งผู้ว่าการ รัฐมนตรีคลัง และนายกรัฐมนตรียังต้องรับผิดชอบอยู่ดี เมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรก็ต้องรับผิดชอบโดยตรงต่อประเทศชาติและประชาชน

- พูดให้ท้ายนักเก็งกำไร เช่น ทางการ จะทำให้เงินอ่อนลงเป็น 36 บาทต่อดอลลาร์ไม่ได้ แต่เงินบาทอาจจะแข็งค่าขึ้นเป็น 30 บาทต่อดอลลาร์ได้ การพูดเช่นนี้ก็ยิ่งทำให้เกิดการ คาดการณ์ว่า เงินบาทจะแข็งต่อเป็น 28 บาท ต่อดอลาร์ ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวลง ไม่พูดเสียดีกว่า

- การให้ข่าวว่าอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยนไม่เกี่ยวข้องกัน ก็เป็นการพูดที่ไม่ตรง ความจริง อย่างไรก็เกี่ยวข้องกันเพียงแต่จะช้า หรือเร็ว เพราะอัตราดอกเบี้ยกับอัตราแลกเปลี่ยน เหมือนด้านหัวกับด้านก้อยของเหรียญอันเดียวกัน เงินเยนอ่อนลงเพราะดอกเบี้ยเงินเยนต่ำทั้งที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว ทำให้มี "carry trade" คนกู้เงินเยนมาเล่นดอลลาร์แล้วมาเล่นเงินบาท ต่อการพูดไม่ตรงความจริงทำให้เกียรติภูมิของสถาบันเสียหาย

- การที่ตลาดเงินบาทแยกเป็น 2 ตลาด คือ ตลาดภายในประเทศกับตลาดต่างประเทศ และมีค่าของเงินที่ต่างกันมาก เป็นเครื่องชี้ถึงความผิดปกติของตลาดเงินบาท และมีคนทำกำไรจากความแตกต่างนี้ได้โดยวิธี "โพยก๊วน" คือ จ่ายเงินที่กรุงเทพฯแล้วไปรับเงินที่สิงคโปร์ หรือฮ่องกง โดยไม่ผ่านธนาคาร และยังมีผลต่อการคาดการณ์ของตลาด ว่าอัตราแลกเปลี่ยน ในประเทศจะวิ่งเข้าหาอัตราแลกเปลี่ยนในตลาดต่างประเทศ สถานการณ์ดังกล่าวเกิดจากมาตรการให้ผู้นำเข้าดอลลาร์ต้องกันสำรองไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือต้องซื้อประกันความเสี่ยงเต็มตามจำนวน แต่เมื่อต้องยกเว้นให้นำเงินเข้ามาซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ มาตรการที่ไม่ได้ผลก็ควรเลิกเสียดีกว่า

ถ้าจะหยุดยั้งการแข็งค่าของเงินบาท โดยไม่ทำให้ตลาดถูกบิดเบือน ก็ต้องทำหลายอย่างพร้อมๆ กัน เพราะปัญหาหนักมากแล้ว

อย่างแรกก็คือลดดอกเบี้ยลงสัก 1.0 ถึง 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดยการลดดอกเบี้ยนโยบายและควรจะลดทีเดียวไม่ควรจะลดทีละ 0.25 เปอร์เซ็นต์ เพราะการค่อยๆ ลดจะทำให้ไม่เกิดผล และเกิดการคาดการณ์ต่อไปและต้องใช้เวลานานกว่าจะถึงอัตราเป้าหมาย เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว

พร้อมๆ กับการลดดอกเบี้ย ทางการก็เข้าแทรกแซงตลาด อาจจะต้องขัดใจกับไอเอ็มเอฟหน่อย และต้องทำให้พอจนเงินบาทอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ถ้าทำครึ่งๆ กลางๆ เงินบาทแข็งต่อไป ธปท.ก็จะขาดทุน ถ้าทำจนบาทอ่อนตัวลงได้ ธปท.ก็จะกำไร ถ้าอ่อนตัวลงได้ถึง 38 บาทต่อดอลลาร์ ก็จะล้างขาดทุนเก่าออกได้หมด ใครก็จะมาต่อว่าไม่ได้

เมื่อออกมาแทรกแซงตลาด เงินบาทในตลาดก็จะเพิ่มขึ้นมากเกิน ธปท.ก็ดูดซับเงินบาทกลับไปโดยการออกพันธบัตร ถ้าดอกเบี้ยเงินบาทต่ำ กว่าดอกเบี้ยดอลลาร์ ธปท.ก็ไม่ขาดทุน ดอกเบี้ยเท่ากัน ธปท.เปลี่ยนดอลลาร์ในทุนสำรองเป็นพันธบัตรซึ่งตลาดยังรับได้ แล้วถ้าตลาดพันธบัตรเกิดขึ้นได้ ก็จะเป็นผลดีกับการพัฒนาการลงทุนอีกโสตหนึ่งด้วย

การลดดอกเบี้ยอย่างแรงคงจะทำให้ราคาพันธบัตรในท้องตลาดที่มีอยู่แล้วขึ้นราคา แต่ก็ไม่น่าเป็นห่วง

การดำเนินการดังกล่าวไม่น่าจะพาบ้านเมืองเข้าไปเสี่ยงกับอะไร เพราะเป็นการซื้อดอลลาร์ เอามาเก็บไว้ ทำให้ทุนสำรองเพิ่ม

ขณะเดียวกันก็จัดการบริหารหนี้ต่างประเทศของภาครัฐ อันได้แก่หนี้ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ โดยออกพันธบัตรเอาเงินบาท ใช้เงินบาทซื้อเงินดอลลาร์แล้วไปใช้หนี้คืนก่อนกำหนดอย่างน้อยสักครึ่งหนึ่ง

ในส่วนของเอกชน ถ้าผ่อนคลายกฎของ ธปท.ที่จะทำให้ภาคเอกชนสามารถยืมเงินบาทจากธนาคารพาณิชย์ไปใช้คืนหนี้ดอลลาร์ได้ เพราะหนี้เงินต่างประเทศเป็นหนี้ของเอกชนเสียตั้งกว่า 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ถ้า ธปท.ผ่อนคลายได้ เอกชนคงรีบเปลี่ยนหนี้ดอลลลาร์มาเป็นหนี้เงินบาทแทน เพราะจะได้กำไร เพราะตอนได้มาเงินบาทมีราคากว่า 40 บาทต่อเหรียญ ถ้าคืนหนี้ตอนนี้เงินบาทมีราคา 33 บาทต่อเหรียญ เป็นการช่วยธุรกิจเอกชนด้วย ส่วนธนาคารพาณิชย์ให้สามารถปล่อยเงินที่เหลือกองอยู่ในธนาคารด้วย เพราะ สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขณะนี้มีอยู่เพียง 85 เปอร์เซ็นต์ของยอดเงินฝากเท่านั้น ที่เอกชนถูกบังคับให้ไปกู้ต่างประเทศ เพราะกฎ ธปท.ที่ให้นับสินเชื่อของบริษัทในกลุ่มเดียวกันเป็นสินเชื่อที่ต้องจำกัดปริมาณเพื่อความมั่นคงของธนาคาร ให้สินเชื่อไม่กระจุกตัวในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมากจนเกินไป

สุดท้ายเร่งโครงการพัฒนาต่างๆ ให้เร็วขึ้น โดยใช้เงินกู้เป็นเงินบาทในประเทศให้มากขึ้น แม้จะไม่เกิดผลทันที แต่ก็น่าจะมีผลทางจิตวิทยาว่า ประเทศยังต้องใช้เงินดอลลาร์อย่างมาก

ที่สำคัญนโยบายให้คนไทยเก็บเงินดอลลาร์ได้ ให้เอาเงินออกไปซื้อหุ้นเมืองนอกได้ ไม่ควรทำตอนนี้ ไม่มีผล เพราะผู้คนกำลังคาดการณ์ว่า เงินบาทกำลังจะแข็งต่อไป มีแต่คนอยากเก็บเงินบาท จะมีผลก็ตอนที่คนคาดว่าเงินบาทจะอ่อน คนก็จะเปลี่ยนเงินบาทเป็นดอลลาร์ ถึงตอนนั้นก็จะกลายเป็นปัญหาอีก ต้องสั่งยกเลิกอีก กลายเป็นตัวทำให้บาทไม่มีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคต ถึงตอนสถานการณ์พลิกกลับอาจจะมีปัญหาได้

ข้อสำคัญต้องตัดสินใจ จะอยู่เฉยๆ นอนรอความตายไม่ได้ ถ้าทำผิดก็เลิกแก้ไขใหม่ ไม่มีใครว่า แต่ถ้าไม่ทำอะไรเกิดความเสียหาย ผู้คนจะต่อว่าอย่างหนัก

ขอให้กำลังใจ ธปท.และรัฐบาลให้ประสบความสำเร็จ

ที่มา : คอลัมน์ คนเดินตรอก  โดย วีรพงษ์ รามางกูร  ประชาชาติธุรกิจ  วันที่ 23 กรกฎาคม 2550




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ