ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ทำไมต้องวางแผนการเงิน

 

                                                                                     ทำไมต้องวางแผนการเงิน

                 

                                                               

 

การวางแผนการเงินว่ามีความสำคัญอย่างไร ใครบ้างจำเป็นต้องวางแผนการเงิน การวางแผนการเงินเป็นเรื่องของคนที่มีเงินเหลือเท่านั้นหรือ คนที่รายได้ไม่พอกับรายจ่ายต้องวางแผนการเงินหรือไม่ และหากต้องการวางแผนการเงินด้วยตนเอง สามารถทำได้ไหม ทำอย่างไร

เพราะว่าชีวิตของเรามีความไม่แน่นอน ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลง มีความท้าทายอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องวางแผนชีวิตและปรับเปลี่ยนแผนอยู่ตลอดเวลา การวางแผนการเงินเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนชีวิต และอาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด ในสังคมที่ใช้เงินเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ

การวางแผนการเงิน ช่วยให้เราสามารถวางแผนชีวิตในปัจจุบันและอนาคตได้ดีขึ้น มีทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกได้

การวางแผนการเงิน จำเป็นสำหรับทุกคนที่ต้องการวางแผนชีวิตให้ดี ไม่ขลุกขลัก ทำให้เกิดความมั่นคง แผนชีวิตรวมถึงการซื้อบ้าน แต่งงาน เลี้ยงดูลูก วางแผนการศึกษาให้ลูก ทำประกันชีวิตและทรัพย์สิน เก็บเงินเพื่อการเกษียณ การลงทุน และการวางแผนมรดกและภาษี

ในสมัยก่อน ผู้ที่สนใจวางแผนการเงินมักเป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งสูง และส่วนใหญ่จะวางแผนเพื่อจัดการมรดกและภาษี ส่วนคนทั่วไปก็เป็นสังคมเกษตรกรรม คือไม่ว่าอย่างไรก็มีกิน เรื่องมีใช้นั้นอาจจะติดขัดบ้าง สบายบ้าง ก็แล้วแต่สภาพ หรือหากทำงานเป็นข้าราชการ ซึ่งมีรัฐคอยดูแลสวัสดิการให้ตลอดชีวิต

แต่ในปัจจุบัน คนทำงานเป็นลูกจ้างรับเงินเดือนกันมากขึ้น แม้จะมีสวัสดิการ แต่ก็ไม่ได้รับไปตลอดชีวิต ซึ่งแม้จะทำงานในภาครัฐในปัจจุบัน ก็ไม่ได้รับสวัสดิการตลอดชีวิตแล้วเช่นกัน นอกจากนี้ คนเรายังอายุยืนมากขึ้น หากวางแผนชีวิตและแผนการเงินไม่ดี นอกจากตัวเองจะลำบากแล้ว ลูกก็จะลำบากด้วย

จากข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2550 ประเทศไทยมีประชากรสูงวัย คืออายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วน 8.2% ของประชากรทั้งหมด และมีประชากรในวัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน คือวัย 15-64 ปี จำนวน 70.2% ส่วนประชากรวัยเด็กคืออายุต่ำกว่า 14 ปี เป็นสัดส่วน 21.6% แต่ในปี 2580 คืออีก 30 ปีข้างหน้า เราจะมีสัดส่วนของผู้สูงวัยเพิ่มเป็น 15.6% ของประชากรทั้งหมด และมีวัยหนุ่มสาวและวัยทำงาน 67.4% ส่วนอีก 17.2% จะเป็นวัยเด็ก จะเห็นว่าสัดส่วนวัยทำงานลดลง แปลว่าในปัจจุบัน หากมีประชากร 100 คน จะเป็นคนทำงานเพื่อหาเลี้ยงผู้สูงวัยและเด็ก 70 คน แต่ในอนาคต จะมีคนทำงานเพียง 67 คนเท่านั้น และเมื่อสัดส่วนของเด็กลดลงไป สัดส่วนของคนทำงานในอนาคตต่อๆ ไปข้างหน้าก็จะลดลงไปด้วย คนที่อยู่ในวัยทำงานในปัจจุบันซึ่งจะกลายเป็นผู้สูงวัยในอนาคต จึงต้องเตรียมวางแผนชีวิตและวางแผนการเงินเพื่อเลี้ยงดูตัวเองในยามสูงวัย

การวางแผนการเงินเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำ และเริ่มทำได้เร็วที่สุดก็จะเป็นประโยชน์มากที่สุด จะเริ่มจากวัยเด็กที่เก็บค่าขนมบางส่วนเอาไว้ซื้อของชิ้นใหญ่ที่อยากได้ หรือจะเริ่มตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ก็ยังถือว่าเริ่มเร็ว เพราะสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่า “สภาพัฒน์” ได้เปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่า ครัวเรือนเกือบ 50% ที่รายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข แปลว่าต้องกระเบียดกระเสียร และต้องกู้ยืมมาใช้จ่ายหรือซื้อของ โดยหนี้สินของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจาก 82,485 บาทต่อครัวเรือนในปี 2545 เป็น 116,585 บาทต่อครัวเรือนในปี 2549 หรือเพิ่มขึ้นถึง 9.33% ในช่วงเวลา 4 ปี

หากเราไม่มีการวางแผนการเงิน ครัวเรือนของเราก็อาจเป็นหนี้มากขึ้น และไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งหนี้ไปได้ เพราะการกู้ไม่ได้เป็นการกู้ยืมมาลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นในอนาคต แต่มีการกู้ยืมส่วนหนึ่งที่กู้มาใช้จ่าย

การวางแผนการเงินสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย มี 2 ทางเลือกคือ การพยายามตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น กับการต้องทำงานพิเศษเพื่อหารายได้เสริม ทางเลือกและการตัดสินใจนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการเงินค่ะ

สำหรับกลุ่มที่มีเงินเหลือ จำเป็นต้องวางแผนการเงินเพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่ง เมื่อหยุดทำงานแล้วจะได้สบาย นอกจากนี้ การวางแผนการเงินมิได้จำกัดเฉพาะแผนส่วนบุคคล แต่ยังครอบคลุมไปถึงการวางแผนการเงินสำหรับธุรกิจด้วย

การวางแผนการเงินไม่ว่าจะเป็นเงินมากเงินน้อย ก็มีหลักการคล้ายๆ กัน คือ มีการตั้งเป้าหมายการเงินที่วัดได้ และมีความเป็นไปได้ เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วก็ต้องทบทวนแผนและสถานะเป็นระยะๆด้วย แผนการเงินนั้นสามารถวางได้เอง หากมีความรู้ความชำนาญเพียงพอ หรือสามารถให้ผู้วางแผนวางให้ได้ค่ะ ในสัปดาห์หน้าเรามาติดตามกันว่าหากจะวางแผนการเงินเองจะต้องทำอย่างไร และผู้วางแผนมืออาชีพมีไหม จะใช้บริการได้อย่างไร มีประโยชน์อย่างไรที่จะใช้บริการ

 วางแผนการเงินเป็นเรื่องของทุกคน

 10 เหตุผลดีๆที่ควรวางแผนการเงิน

บทความโดย : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ  กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 23 กรกฎาคม 2550




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ