ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



แฟรนไซส์ (Franchise) คืออะไร

 

                                                   แฟรนไซส์ (Franchise) คืออะไร

 

                   

 

1.นิยามของคำว่าแฟรนไชส์ (Franchise)

แฟรนไชส์ คือ กระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรธุรกิจหนึ่งๆ ได้พัฒนาวิธีการและรูปแบบ จนได้รับการพิสูจน์ด้วยระยะเวลาแล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจในระดับหนึ่ง และถ่ายทอดสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจ ตามวิธีการและรูปแบบดังกล่าวพร้อมกับตัวสินค้าหรือบริการ ให้กับบุคคลอื่นภายใต้ตราหรือเครื่องหมายการค้า / บริการอันหนึ่งอันใดโดยกระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการทำนิติกรรมระหว่างบุคคล 2 กลุ่มในข้างต้น ในบางกรณีอาจรวมถึงบุคคลอื่น

นิยามของคำว่าแฟรนไชซอ

แฟรนไชซอ คือ บุคคลผู้เป็นเจ้าของตราหรือเครื่องหมายการค้า / บริการ ซึ่งได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการอันได้รับการพิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จในการประกอบการและการจัดการธุรกิจ ที่สามารถทำเลียนและดำเนินการโดยบุคคลอื่นได้

นิยามของคำว่าแฟรนไชซี่

แฟรนไชซี่ คือ บุคคลซึ่งได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายและการดำเนินธุรกิจ ภายใต้รูปแบบและตราหรือเครื่องหมายการค้า/ บริการ อันมีแฟรนไชซอเป็นเจ้าของ โดยแฟรนไชซี่ที่ร่วมกิจการไม่ได้อยู่ในฐานะของพนักงานหรือลูกจ้าง ตรงกันข้ามแฟรนไชซี่จะเป็นเจ้าของกิจการที่ทำหน้าที่บริหารงานสาขาตามรูปแบบที่แฟรนไชซอกำหนดและถ่ายทอดให้ซึ่งผู้เป็นแฟรนไซซี่จำเป็นต้องมีความรับผิดชอบมากกว่าพนักงานโดยปกติเพราะผลสำเร็จหมายถึง เวลา จำนวนเงินที่ลงทุนไป

รูปแบบของการทำแฟรนไชส์ (Product/Service or Brand Franchising)

เป็นการให้สิทธิ์ในการให้บริการหรือทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะและ/ หรือให้สิทธิ์ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้เครื่องหมายการค้า/ บริการของแฟรนไชซอ
Business Format Franchising    เป็นการให้สิทธิ์ในการให้บริการหรือทำการผลิตสินค้าที่มีสูตรหรือส่วนประกอบเฉพาะและ/ หรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ภายใต้รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้า/ บริการของแฟรนไชซอ โดยมีการถ่ายทอดในระบบและวิธีการดำเนินธุรกิจแบบร้านมาตรฐานซึ่งจะมีคู่มือประกอบเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของทุกส่วนงานให้แฟรนไชซึ่งปฏิบัติตาม   

Conversion Franchising    เป็นระบบแฟรนไชส์ที่ออกแบบเพื่อใช้กับผู้ประกอบการอิสระที่มีอยู่เดิมให้เข้าสู่ระบบ/ รูปแบบและเครื่องหมายทางการค้าเดียวกันหรือร่วมกัน ซึ่งจะให้ประโยชน์ร่วมกันในด้านการโฆษณาที่ทำให้เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจการรับทำบัญชี เป็นต้น

ประเภทของการให้สิทธิ์แฟรนไชส์

ประเภทของการให้สิทธิ์แฟรนไชส์ ซึ่งอาจจะแบ่งรูปแบบได้ 3 แบบ ดังนี้

แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise)
แฟรนส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Framchise)
แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)

ประเภทการให้สิทธิ์ทั้ง 3 แบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่ในตัวเองขึ้นอยู่กับเป้าหมายและลักษณะธุรกิจของแฟรนไชซอเป็นเกณฑ์ แต่แฟรนไชซอหลายท่านก้มีการใช้รูปแบบทั้ง 3 ผสมผสานกันในกลยุทธ์ของแฟรนไชส์ ตามแต่เงื่อนไขของธุรกิจและการตลาด รวมถึงการแข่งขัน จากนี้มาดูกันว่าการให้สิทธิ์ในแต่ละประเภทเป็นอย่างไร

1. แฟรนไชส์แบบบุคคล (Individual Franchise or Sub-Franchise)
        เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แฟรนไชส์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือนิติบุคคลองค์กรหนึ่งองค์กรใดให้ดำเนินธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า/ บริการจากแฟรนไชซอเพียงแค่เฉพาะตัวเฉพาะพื้นที่ตามข้อตกลงไม่สามารถถ่ายทอดสิทธิ์ที่ได้รับมาให้กับบุคคลอื่นได้ ซึ่งมี 2 ลักษณะคือ

Single unit Franchise : แฟรนไชซี่จะไร้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัวได้เพียงหนึ่งแห่ง
Muli unit Francgise : แฟรนไชซี่จะได้รับสิทธิ์ในการดำเนินกิจการเฉพาะตัวได้หลายแห่งภายในพื้นที่กำหนด

2. แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่ (Sub-Area License or Development Franchise)
        เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดหรือนิติบุคคลในการทำตลาดแฟรนไชส์ในอาณาเขตที่กำหนด โดยที่แฟรนไชซี่จะสามารถดำเนินธุรกิจที่ได้รับมาภายในระยะเวลาที่ได้ตกลงกัน โดยปกติจะไม่สามารถขายสิทธิ์ที่ได้รับมาต่อให้กับบุคคลอื่นได้

3. แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)
        เป็นรูปแบบการให้สิทธิ์แก่บุคคลใดหรือนิติบุคคลหนึ่ง เป็นรายแรกในอาณาเขตภูมิภาคหรือระดับประเทศตามที่กำนหด เพื่อให้บุคคลหรือนิติบุคคลดังกล่าวดำเนินการขยายสาขาและทำการขยายการให้สิทธิ์หน่าวยย่อยทั้งแบบ Individual Franchise หรือแบบ Sub-Area License แก่บุคคลอื่นในพื้นที่ต่อไป

----------------------------------------------------------------------

ซื้อเฟรนไชส์ เรื่องต้องคิดก่อนการตัดสินใจ

2. ได้อะไร – เสียอะไรจากแฟรนไชส์

2.1 ข้อได้เปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์ คืออะไร ?
     ธุริจแฟรนส์เป็นธุรกจิที่ร่วมกันของบุคคล 2 ฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งขาดซึ่งความรู้ ความชำนาญ คือ แฟรนไชซี่ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ คือ แฟรนไชซอ หากแฟรนไชซอไม่สามารถสร้างให้แฟรนไชซี่ประสบความสำเร็จได้ ก็เป็นการยากที่แฟรนไชซอจะประสบความสำเร็จได้เช่นกัน ในทางกลับกันหากแฟรนไชซี่ประสบความส้มเหลวก็ย่อมส่งผลกระทบถึงแฟรนไชซอได้เช่นกัน การให้เข้าร่วมแฟรนไชส์จึงน่าจะมีข้อได้เปรียบ ดังนี้

1.โอกาสแห่งความสำเร็จที่สูงขึ้น  
         ในการทำธุรกิจใดๆ ย่อมมีความเสี่ยงที่จะไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เนื่องจากมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมายแต่แนวคิดของการทำแฟรนไชส์ (franchisign) คือการดำเนินธุรกจิตามวิธีที่ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาของแฟรนไชซอมาเป็นระยะเวลาแรมปี แล้วยังสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้โดยเป็นที่ยอมรับของตลาดซึ่งแสดงให้เห็นถึงความชำนาญและประสบการณ์ในการประกอบการดังนั้น โอกาสของการประสบความสำเร็จในฐานะแฟรนไชซี่จึงนับว่ามีสูงกว่าการประกอบธุรกิจอิสระของตนเอง

2.ย่นระยะเวลาการเรียนรู้
        แฟรนไชซอได้ทุ่มเทเวลาและเงินไปเป็นจำนวนไม่น้อยเพื่อที่จะสร้างและพัมนาระบบ พร้อมกับได้บันทึกขั้นตอน ในการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในระดับหนึ่งออกมาเป็นคู่มือ ซึ่งแฟรนไชซี่จะได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอด ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ความรู้ที่ถูกรวบรวมไว้นี้จากแฟรนไชซอ ดังนั้นจึงเป็นการประหยัดเวลาในการเรียนรู้ถึงวิธีการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้ในทันทีและมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้นเร็วขึ้นเนื่องจาก ไม่เกิดการลองผิดลองถูก

3.เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการยอมรับ
        เครื่องหมายการค้า/ บริการ เป็นทรัพย์สินที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของทุกๆ ธุรกิจ และเป็นสิ่งที่อาจจะเรียกได้ว่ามีค่าสูงสุดในบรรดาทรัพย์สินต่างๆ ยิ่งเมื่อธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จ ทั้งนั้ก็เพราะเครื่องหมายการค้าเป็นเสมือนตัวแทนของธุรกิจต่อสายตาผุ้บริโภค เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความมีคุณภาพ มาตรฐาน หรือความแตกต่างใดๆ ของสินค้าหรือบริการของแต่ละธุรกิจ ธุรกิจแฟรนไชส์ก็เช่นกัน เนื่องจากเครื่องหมายการค้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ควบคู่ไปกับการใช้สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อธุรกิจของแฟรนไชซอได้ผ่านการดำเนินการมาระยะเวลาหนึ่ง ตราหรือเครื่องหมายทางการค้า/ บริการของแฟรนไชซี่ย่อมเป็นที่คุ้นเคยและยอมรับในระดับหนึ่งของผู้บริโภค ซึ่งแฟรนไชซี่ย่อมได้รับประโยชน์จากเครื่องหมายการค้า/ บริการ ที่ได้รับการยอมรับในตลาดแล้วไปด้วย ทำให้การเริ่มต้นธุรกิจของแฟรนไชซี่เป็นไปได้รวดเร็วกว่า เพราะไม่ต้องสร้างเครื่องหมายการค้าใหม่มาทำตลาดในพื้นที่ดังกล่าว

4.การประหยัดต่อขนาดจากการซี้อทีละมากๆ
        ผู้ประกอบกิจการขนาดย่อมโดยทั่วไปมักพบว่าเป็นเรื่องยากที่ตนจะสามารถซื้อสินค้าและบริการในราคาถูกเนื่องจากปริมาณในการสั่งซื้อที่น้อย อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการทำแฟรนไชส์ (Franchising) แฟรนไชซอสามารถรวบรวมความต้องการสั่งซื้อสินค้าของแฟรนไชซี่เข้าด้วยกันและเพิ่มอำนาจต่อรองของตน ทำให้สามารถซื้อสินค้าและบริการในต้นทุนที่ถูกลง และแฟรนไชซี่ย่อมได้รับสินค้าหรือวัตถุดิบในราคาที่ถูกลงตามไปด้วยซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน

5.การโฆษณาและสนับสนุนการขายร่วมกัน        
        โดยทั่วไปแล้วธุรกิจที่มีขนาดใหญ่เพียงพอเท่านั้นจึงจะสามารถรองรับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา โดยเฉพาะการโฆษณาที่อาศัยสื่อแพงๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือโทรทัศน์ได้
        ธุรกิจอิสระขนาดเล็กๆ เป็นจำนวนมากที่มีจำนวนสาขาไม่มาก เพราะเงินทุนไม่พอ การลงทุนค่าใช้จ่ายยิ่งเกิดขึ้นได้ยาก โดยเฉพาะการโฆษณาในระดับภาค หรือระดับประเทศ ดังจะเห็นตัวอย่างของร้านอาหารดังๆ ในจังหวัดต่างๆ ซึ่งก็เป็นผู้นำในตลาดมีผู้คนมากมายเป็นลูกค้า แต่ก็ไม่สามารถจะลงทุนการโฆษณาเพื่อสร้างชื่อเสียงและภาพลักษณ์ได้
        แต่ด้วยเหตุที่การขยายตัวของแฟรนไชส์ อยู่ภายใต้เครื่องหมายการค้าเดียวกันและเมื่อมีจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนของทั้งแฟรนไชซอเองและการลงทุนชองแฟรนไชซี่ ซึ่งต่างก็เป็นเจ้าของกิจการร่วมระบบ ทำให้มีความได้เปรียบในเรื่องของความประหยัดต่อขนาดการลงทุนด้านโฆษณา สามารถส่งผลให้แก่ระบบโดยรวมได้โดยง่าย ก่อให้เกิดทั้งภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดีกว่าร้านค้าอิสะทั่วไปที่การขยายตัวช้ากว่าเพราะเงินทุนที่จำกัดกว่า ในทำนองเดียวกันแฟรนไชซอสามารถรวบรวมทรับพยากรเข้าด้วยกันเพื่อที่จะผลักดันให้เกิดการโฆษณาและส่งเสริมการขายร่วมกันในต้นทุนที่ต่ำ นอกจากนี้การทำแฟรนไชส์ ยังเป็นผลดีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์ที่เข้มแข็งและสอดคล้องกัน ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการจากแฟรนไชซี่

6.การถ่ายโอนความเชี่ยวชาญ
        โดยปกติแฟรนไชซอจะมีการสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญในการประกอบธุรกิจ เมื่อมีการขายสิทธิ์แฟรนไชซอจะให้ความสนใจกับการถ่ายทอดความรู้ต่อแฟรนไชซี่ เพื่อส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จ เนื่องจากความสำเร็จและผลกำไรของแฟรนไชซอย่อมเกี่ยวโยงกับความสำเร็จของแฟรนไชซี่โดยตรง

7.การฝึกอบรม
        แฟรนไชซี่ย่อมได้รับการฝึกอบรมแนะแนวทางจากแฟรนไชซอ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประกอบการได้ดีขึ้นภายใต้มาตรฐานที่เป็นหนึ่งเดียว

8.บริการช่วยเหลือจากแฟรนไชซอ
        แฟรนไชซี่สามารถรับากรบริการช่วยเหลือจากแฟรนไชซอในต้นทุนที่ต่ำ ยกตัวอย่างเช่น ความช่วยเหลือในการรับสมัครพนักงานทำบัญชี ย้ายที่ตั้งไปสู่ทำเลที่ดีขึ้น และอื่นๆ

2.2 ข้อเสียเปรียบของการเข้าร่วมแฟรนไชส์ คืออะไร?

แม้ว่าการทำแฟรนไชส์ (franchising) จะเป็นแนวคิดที่ดีแต่ก็ไม่ได้เป็นรูปแบบที่ดีที่สุดเนื่องจากการทำแฟรนไชส์ยังมีข้อจำกัดหรือไม่เหมาะสำหรับบางคน ในเรื่องต่างๆ พอสรุปได้ดังนี้

1.สูญเสียอิสระภาพในการดำเนินธุรกิจ
        ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าแนวคิดของการทำแฟรนไชส์ คือ การดำเนินธุรกิจตามวิธีที่ได้รับการพัฒนาจากแฟรนไชซอ การดำเนินธุรกิจตามรูปแบบที่กำหนดไว้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องรองรับความสำเร็จของแฟรนไชซี่ ดังนั้น แฟรนไชซี่จึงไม่มีอิสรภาพเต็มที่ต่อการตัดสินใจอย่างเช่น ควรขายสินค้าอะไรที่ราคาเท่าใด หรือเมื่อไหร่ที่จะเสนอขายสินค้าลดราคาและอื่นๆ นอกจากนี้แฟรนไชซี่ยังไม่สามารถตัดสินใจกระทำการใดๆ เพียงลำพังเนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของแฟรนไชซอ หรือของแฟรนไชซี่รายอื่นๆ อย่างไรก็ตามยังมีแฟรนไชซอจำนวนไม่น้อยให้ความสำคัญกับการปรึกษาหารือกับแฟรนไซซี่อย่างสม่ำเสมอเพื่อทราบความต้องการของลูกค้าซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละท้องที่

2.ไม่มีหลักประกันความสำเร็จ
        ถึงแม้จะมีโอกาสสูงในการประสบความสำเร็จจากการซื้อแฟรนไชส์ แต่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหลักประกันที่แน่นอนในเรื่องนี้ ทั้งที่ในแง่ของแนวคิดแล้วแฟรนไชส์นั้นจะดูดีก็ตาม เนื่องจากความเสี่ยงทางธุรกิจสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยที่ทำให้ประสบความล้มเหลวทั้งที่เกิดจากตัวแฟรนไชซี่เอง หรือเกิดจากแฟรนไชซอ เช่นเรื่องการขาดเงินทุนที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ ขาดวิสัยทัศน์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง แหล่งระบายสินค้าไม่เหมาะสม การที่แฟรนไชซี่ไม่สามารถปฏิบัติตามระบบของแฟรนไชซอ หรือคุณสมบัติของแฟรนไชซอที่ยังไม่เพียงพอ เนื่องจากมีระยะเวลาในการดำเนินงานที่ยังไม่ได้พิสูจน์ความสำเร็จหรือได้รับการยอมรับจากตลาด

3.ค่าใช้จ่ายสูง
        แฟรนไชซี่จำเป็นจะต้งอเสียค่าใช้จ่ายล่วงหน้าเพื่อการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในการประกอบกิจการ นอกจากนี้แฟรนไชซี่ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างเช่น เงินลงทุนเพื่อตกแต่งร้านค้า และค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเป็นประจำสำหรับบิรการสนับสนุนที่ได้รับจากแฟรนไชซอ เมื่อรวมค่าใชจ่ายเหล่านี้เข้าด้วยกันจะพบว่าเป็นจำนวนเงินที่สูง ดังนั้นเงินจำนวนนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนก็ต่อเมื่อแฟรนไชซี่ได้รับผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน อย่างไรก็ดีนับว่าเป็นที่จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจลงนามในสัญญาที่เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใดๆ ที่ต้องจ่ายให้กับแฟรนไชซอ

---------------------------------------------------------------------- 

             3. การทำแฟรนไชส์ (franchising) เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไรบ้าง ?

 
 3.1 ระยะเวลาของข้อผูกมัด

  ระยะเวลาของข้อผูกมัดคือ ช่วงเวลาที่สัญญาหรือนิติกรรมมีผลบังคับใช้ระหว่างแฟรนไชซอและแฟรนไชซี่ ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกกำหนดโดยฝ่ายแฟรนไชซอ สัญญานี้อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 ปีจนถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้น โดยทั่วไปยิ่งอายุสัญญานานเท่าใด ค่าใช้จ่ายในการซื้อแฟรนไชส์ก็จะยิ่งมากขึ้น และเงื่อนไขของการต่อสัญญาก็มักจะมีการระบุไว้เรียบร้อย ในบางกรณี แฟรนไชซออาจอนุญาตให้มีการต่อสัญญาโดยมีระยะเวลานานเท่าเดิมโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ แต่สำหรับในบางกรณี แฟรนไชซออาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการต่อสัญญาใหม่ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะศึกษาว่าช่วงระยะเวลาของข้อผูกมัดยาวนานเท่าใดสำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไปในการซื้อแฟรนไชส์ เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียม เพื่อหาระยะเวลาในการคืนทุน 

 3.2 ค่าธรรมเนียมเริ่มต้น (Initial/ Entrant fee)
        ค่าธรรมเนียมเริ่มต้นคือ ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าที่แฟรนไชซี่จะต้องค่ายให้แก่แฟรนไชซอ เพื่อให้ได้มาซึ่งลิขสิทธิ์ในากรประกอบธุรกิจหรือใช้ตราหรือเครื่งอหมายการค้า/ บริการภายในระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ดีแฟรนไชซอส่วนใหญ่จะเสนอบริการต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนรายจ่ายนี้ ยกตัวอย่างเช่น การให้ความรู้และการอบรม ความช่วยเหลือในการเปิดร้านค้า หรือออกแบบจุดขาย (outlet) ที่ได้แสดงการจัดวางตำแหน่งในพื้นที่ที่เหมาะสม การให้คำปรึกษา เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นผลประโยชน์เพิ่มเติมต่อผู้ซื้อแฟรนไชส์ ดังนั้นผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องพยายามสอบถามว่าจะได้รับขอเสนอในบริการหรือสินค้าในลักษณะใดสำหรับจำนวนเงินที่จะต้องจ่ายไป โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเปิดดำเนินกิจการจนกระทั่งเกิดรายได้ 
 
 3.3 เงินรายงวด/ ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Royalty/ Managrment fee)
 
        เงินรายงวดหรือค่าธรรมเนียมการจัดการเป็นค่าใช้จ่ายระหว่างดำเนินกิจการ ซึ่งโดยปกติแฟรนไชซี่จะจ่ายให้แก่แฟรนไชซอคิดเป็นอัตราร้อยละของยอดขายหรือรายได้ของกิจการตามรอบระยะเวลา ที่มักจะเป็นรอบรายเดือน ราย 2 เดือน หรือไตรมาส ก็เพื่อช่วยให้แฟรนไชซอสามารถตรวจสอบหรือควบคุม ในกรณีที่แฟรนไชซี่มีผลประกอบการที่ไม่ดีก็จะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันท่วงที ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจจะถูกกำหนดให้คงที่หรือผันแปรก็ได้ หรืออาจจะเป็นทั้งสองแบบรวมกัน แฟรนไชซออาจแลกเปลี่ยนด้วยการให้บริการต่างๆ เช่น จัดรายการโฆษณาและสนับสนุนการขาย (Marketing or Advertising Fee) ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับขึ้นตอนต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อเปรียบก็เสมือนหนึ่งค่าภาษีที่ทุกคนในฐานะพลเมืองของประเทศจ่ายให้แก่รัฐบาล เพื่อนำไปพัฒนาประเทศนั่นเอง
         เงินรายงวดในธุรกิจแต่ละประเภท มักจะมีความแตกต่างกันไป การตั้งระดับที่เหมาะสมของเงินรายวงดนี้จะขึ้นอยู่กับการให้บริการเพิ่มเติมของแฟรนไชซอ ยิ่งมีการให้บริการต่างๆ มาก อัตราค่า Royalty บนยอดขาย มักจะมีค่าประมาณ 4-6% ขณะที่ธุรกิจประเภทการให้บริการมักอยู่ที่ 8-10% อย่างไรก็ตาม อัตราเฉลี่ยข้างต้นมิได้หมายความว่าเป็นอัตราที่เหมาะสำหรับธุรกิจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับต้นทุนการดำเนินงานสนับสนุนของแต่ละธุรกิจ
 
 3.4 ต้นทุนการตกแต่งร้าน
        ต้นทุนการตกแต่งร้าน หมายถึงต้นทุนซึ่งเกิดขึ้นจากการที่แฟรนไชซี่จะต้องเปลี่ยนรูปลักษณ์ภายนอกของร้านค้าให้เหมือนกับที่แฟรนไชซอกำหนด ต้นทุนนั้จะเกิดขึ้นในระยะแรกของการตกลงใจที่จะทำแฟรนไชส์ ดังนั้นแฟรนไชซี่จำเป็นจะต้องมีเงินทุนที่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายส่วนนี้ แม้จะต้องจ่ายไปก่อนที่จะเริ่มมีลูกค้าเข้าร้านก็ตาม
 
 3.5 ข้อตกลง
        ข้อตกลง คือ สัญญาตามกฎหมายระหว่างแฟรนไชซอกับแฟรนไชซี่ ซึ่งระบุสิทธิ์และข้อผูกมัดระหว่างสองฝ่าย รวมทั้งเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งรวมถึงเงื่อนไขในการสิ้นสุดสัญญาและระยะเวลาที่สัญญาบังคับใช้ ข้อตกลงนี้จะถูกเขียนโดยทนายของฝ่ายแฟรนไชซอ ดังนั้นผู้สนใจจะเป็นแฟรนไชซี่ควรปรึกษาผู้มีความรู้เกี่ยวกับข้อตกลงดังกล่าวในรายละเอียดก่อนที่จะเซ็นสัญญา เมื่อพบว่าเงื่อนไขมีความเข้มงวดจนเกินไป ก็ควรจะเจรจากับบแฟรนไชซอก่อนที่จะตกลงใจทำสัญญา
 
 3.6 ทุนดำเนินการ
        แฟรนไชซี่จะต้องแบ่งสรรเงินทุนส่วนหนึ่งให้เพียงพอกับการดำเนินงานธุรกิจตามปกติ เช่นค่าใช้จ่ายทั่วไป เงินเดือนพนักงาน การสั่งซื้อสินค้าและบริการ เป็นต้น ถึงแม้ว่าแฟรนไชซอจะเสนอสินค้าและบริการให้ในลักษณะจ่ายเชื่อก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาการจ่ายเงินไปเท่านั้น เมื่อถึงกำหนดเวลาแฟรนไชซี่ยังคงจะต้องจ่ายค่าสินค้าในที่สุด  
 
 3.7 เงื่อนไขการจ่ายเงิน
        โดยปกติแฟรนไชซอจะกำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าสินค้าและบริการในลักษณะเดียวกับธุรกิจอื่นๆ เช่น 30 หรือ 60 วัน
 
 3.8 พื้นที่ประกอบการ
 

         โดยทั่วไปแล้วแฟรนไชซอจะไม่จัดตั้งร้านภายใต้แฟรนไชส์นั้นเพิ่มขึ้นภายในขอบเขตพื้นที่ที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลงที่ทำไว้กับแฟรนไชซี่ทั้งนี้ ขอบเขตของพื้นที่การประกอบการอาจขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจและข้อตกลง ซึ่งถ้าหากแฟรนไชซี่ได้จำนวนมาก ขอบเขตการประกอบการของแฟรนไชซี่ก็จะเล็กลงตามไปด้วยและรูปแบบการรับสิทธิ์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบบุคคล (Individual Franchise) ตรงข้ามหากแฟรนไชซอนั้นมีศักยภาพไม่เพียงพอในการให้การสนับสนุนสมาชิกจำนวนมากได้ ขอบเขตการประกอบการของแฟรนไชซี่ก็จะเพิ่มมากขึ้นรูปแบบการรับสิทธิ์ก็อาจจะเป็นแฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่(Development Franchise) หรือ แฟรนไชส์แบบตัวแทน (Master Franchise)
         แต่ไม่ว่าเงื่อนไขจะเป็นอย่างฟไร ที่สำคัญยิ่งกว่าคือภายในขอบเขตพื้นที่นั้นๆ จะต้องมีจำนวนลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทางธุรกิจที่มากพอในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแฟรนไชซอจำเป็นต้องใส่ใจหาวิธีการอ้างอิง หรือหาข้อมูลให้ได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
 
 3.9 การจัดหาสินค้าและบริการ

        แฟรนไชซอมักกำหนดสัดส่วนขั้นต่ำของสินค้าและ/ หรือบริการที่แฟรนไชซี่จะต้องรับจากตน และแฟรนไชซอบางรายอาจจะกำหนดให้สินค้าและบริการทั้งหมดต้องมาจากตนเนื่องจากเหตุผลในการคุมคุณภาพสินค้าและบริการ
 
 3.10 การปฏิบัติตามข้อตกลง
        แฟรนไชซี่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของข้อตกลงอย่างเคร่งครัดเพื่อที่จะเป็นหลักประกันว่าแฟรนไชซี่จะไม่กระทำการใดๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์และธุรกจิของแฟรนไชซี่รายอื่นๆ ดังนั้นแฟรนไชซอจึงมีสิทธิ์ในการบังคับสิ้นสุดสัญญา ในกรณีที่แฟรนไชซี่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขหลังจากที่ได้รับคำเตือนซ้ำสอง ในทางตรงกันข้ามถ้าหากแฟรนไชซอเป็นผู้ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเอง ฝ่ายแฟรนไชซี่ก็มีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าชดเชยตามกฎหมาย 
 
 3.11 เงื่อนไขสำหรับสิ้นสุดการประกอบกิจการ
        โดยทั่วไป การที่ข้อตกลงของแฟรนไชส์จะสิ้นสุดลงอาจเกิดจากความเป็นไปได้ 3 ประการ กล่าวคือ

-เมื่อสัญญาหมดอายุลง
-เมื่อแฟรนไชซอทำการสิ้นสุดสัญญาหากมีการละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ อย่างไรก็ตามกรณีที่แฟรนไชซอจะทำการบังคับ  ให้สิ้นสุดสัญญาก่อนกำหนดเป็นเรื่องที่ไม่ปกติและไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก นอกจากจะมีการละเมิดข้อตกลงจากแฟรนไชซี่เป็นประจำ
-แฟรนไชซี่เลือกที่จะยกเลิกแฟรนไชส์ก่อนที่สัญญาจะหมดอายุ  

----------------------------------------------------------------------                   

                     "ซื้อเฟรนไชส์" เรื่องต้องคิดก่อนการตัดสินใจ  

    

    4.1 ภูมิหลังของแฟรนไชซอ 

         ตรวจสอบชื่อเสียงและประวัติย้อนหลังของแฟรนไชซอในธรุกิจที่ทำแฟรนไชส์ (franchise) ในเรื่องของเอกสารที่แสดงความเป็นเจ้าของสิทธิ์ที่ถูกต้องจากหลักฐานในการจดทะเบียนพาณิชย์ การจดลิขสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้า หรือในกรณีที่ซื้อสินค้าจากผู้อื่นมาอีกต่อหนึ่งก็ควรมีหลักฐานแสดงการได้รับอนุญาตเป็นตัวแทนในการจำหน่าย นอกจากนี้อาจสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลหรือแรงจูงใจ ความมุ่งมั่น ในการริเริ่มกิจการนั้นเพื่อที่จะแน่ใจว่าแฟรนไชซอมีพันธะต่ธุรกิจที่ดำเนินอยู่ อายุของการทำธุรกิจ จำนวนสาขาที่เป็นของแฟรนไชซอเองและจำนวนแฟรนไชซี่ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ก็มีความสำคัญเพราะเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จและความเชี่ยวชาญในธถรกิจนั้นๆ รวมถึงการผ่านประสบการณ์ในการแก้ปัญหาจนสามารถมีข้อสรุปที่นำมาให้คำแนะนำได้

  4.2 โครงสร้างการบริหารงาน 

        การศึกษาโครงสร้างการบริหารงานและความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานภายในของแฟรนไชซอ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่สนใจจะซื้อแฟรนไชส์ในอนาคตตัดสินใจได้ว่าบริษัทดังกล่าวมีการจัดองค์กรที่ดีหรือไม่ มีพนักงานที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ หรือมีทีมงานด้านแฟรนไชส์ที่สามารถให้บริการสนับสนุนอย่างที่ได้ระบุไว้หรือไม่ ซึ่งหากสามารถระบุตัวเจ้าหน้าที่ที่จะต้องติดต่อในากรประกอบการแฟรนไชส์ได้ก็จะเป็นการดีในการตรวจสอบความสามารถของทีมงาน และที่สำคัญแฟรนไชส์ที่ดีควรมีระบบงานอย่างเป็นมืออาชีพ อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีแผนการอบรมเพื่อถ่ายทอดการทำธุรกิจ มีการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานในส่วนงานต่างๆ มีสายด่วนให้คำปรึกษา หรืออาจค้นคว้าเกี่ยวกับภูมิหลังของผู้บริหารของบริษัทเพื่อให้แน่ใจว่าบุคคลนั้นมีความน่าเชื่อถือและมีความรับผิดชอบต่อธุรกิจแฟรนไชส์ 

  4.3 การเยี่ยมชมบริษัท 

        อาจไม่เป็นการเพียงพอที่จะรับฟังหรืออ่านจากสิ่งที่แฟรนไชซอเสนอเท่านั้น การเยี่ยมชมบริษัทถ้าเป็นไปได้มากกว่าหนึ่งครั้ง จะเป็นผลดีอย่างมากเนื่องจากเราจะสามารถตรวจสอบการจัดการภายใน การจัดการพนักงานและระบบสนับสนุนต่างๆ ทั้งนี้พึงระลึกไว้เสมอว่าควรระมัดระวังแฟรนไชซอที่ไม่อนุญาตให้มีการเยี่ยมชม 
 
 4.4 การสอบถามจากผู้ที่เป็นแฟรนไชซี่ในปัจจุบัน 

        ควรขอรายชื่อและที่อยู่ของผู้ที่แฟรนไชซี่ของธุรกิจดังกล่าวในปัจจุบันและหาโอกาสที่จะพบปะพูดคุยกับแต่ละรายให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามควรอนุญาตจากแฟรนไชซอก่อนเสมอทั้งนี้ แฟรนไชซี่ที่กำลังประกอบการจะให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับยอดขายและกำไรที่คาดว่าจะได้รับอย่างดี 

 4.5 การสอบถามจากผู้ที่เป็นแฟรนไชซี่ในอดีต 

        ควรสอบถามจากแฟรนไชซอและผู้เคยเป็นแฟรนไชซี่ในอดีตว่าเพราะเหตุใดแฟรนไชซี่ในอดีตจึงออกจากธุรกิจ สาเหตุอาจเกิดจากเหตุผลส่วนตัว หรืออาจจะเกี่ยวข้องกับตัวผลิตภัณฑ์ หรือเกี่ยวกับแฟรนไชซอ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการประเมิณและเพื่อความแน่ใจในคุณภาพของแฟรนไชซอรายนั้นๆ

 
 4.6 สถานะทางการเงินและงบดุลของแฟรนไชซอในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา 

        ควรประเมิณสถานะทางการเงินของแฟรนไชซอ โดยพิจารณาจากงบกำไรขาดทุนและงบดุลของบริษัท และควรตรวจสอบย้อนหลังไปประมาณ 3 ปี ซึ่งข้อมูลนี้สามารถขอได้จากแฟรนไชซอโดยตรง และควรสอบถามเกี่ยวกับสาเหตุของการขาดทุนที่เกิดขึ้นหรือยอดหนี้สินของบริษัท ถ้าหากพบว่างบดุลของบริษัทมียอดนหี้สินสูงมากกว่ายอดทรัพย์สิน แสดงว่าบริษัทประสบปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนหรือมีการดำเนินธุรกิจบนสัดส่วนของหนี้สินที่สูง อาจเป็นสัญญาณว่าแฟรนไชซอไม่มีเสถียรภาพทางการเงินเพียงพอ อย่างไรก็ตามถ้าหากมีปัญหาในการทำความเข้าใจสถานะทางการเงินควรปรึกษาผู้รู้ 

 4.7 ส่วนต่าง (margin) สำหรับสินค้าและบริการที่จะต้องจ่าย
        ควรสอบถามเกี่ยวกับส่วนต่าง (margin) ที่ชัดเจนของค่าสินค้าและบริการที่จะต้องจ่ายให้กับแฟรนไชซอในฐานะผู้ป้อนสินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับแฟรนไชซอรายอื่นเพื่อการตัดสินใจ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้รับสามารถตรวจสอบกับแฟรนไชซี่ในปัจจุบันของธุรกิจนั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเตรียมตัวเพื่อทราบกระแสเงินสดในระหว่างที่เริ่มประกอบกิจการ รวมทั้งสามารถเข้าใจผลตอบแทนในอนาคต 

 4.8 เงื่อนไขหลักบางประการของข้อตกลง
        ควรขอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงในสัญญาของแฟรนไชส์และอาจขอให้มีการชี้แจงเงื่อนไขหลักที่สำคัญ เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินรายงวด ระยะเวลาของสัญญา สิทธิ์ในขอบเขตการประกอบการอื่นๆ ทั้งนี้ถ้าหากเป็นไปได้ ควรเปรียบเทียบกันระหว่างแฟรนไชส์ในธุรกิจที่คล้ายกันหลายๆ บริษัท


ที่มา : http://www.jjthai.net และ  http://www.smile-sme.com




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ