ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ ตอนเศรษฐกิจไทย จะเกิดวิกฤติรอบ 2 หรือไม่

 

                                  10 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ ตอนเศรษฐกิจไทย จะเกิดวิกฤติรอบ 2 หรือไม่  

                                                                                                                                                              โดย  ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ 

                                                                                                                                                                            dr.eKonomic@yahoo.com 

                                                                          

ผมได้ทำงานวิจัยชิ้นหนึ่งเพื่อศึกษาสัญญาณเตือนภัยวิกฤติเศรษฐกิจ ในช่วงปี 2538-2539 ก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในเม็กซิโก และหลายๆ ประเทศในแถบละตินอเมริกา และนำมาเปรียบเทียบกับช่วงปี 2540-2541 ก่อนที่จะเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในไทย และหลายๆ ประเทศในเอเชีย ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านที่กำลังสนใจว่า สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย กำลังจะนำไปสู่วิกฤติรอบ 2 หรือไม่ ผมจึงขอนำบทสรุปของงานวิจัย มาลงในคอลัมน์มุมเอกในวันนี้

สำหรับผู้ที่สนใจงานวิจัยฉบับเต็มสามารถ download บทความเรื่อง Asian Crisis Reexamined ได้ที่ MIT Press Journal, Asian Economic Papers, 2004, Vol 3, Issue 3, http://ideas.repec.org/s/tpr/asiaec.html

สิ่งหนึ่งที่พบจากงานวิจัย คือ วิกฤติเศรษฐกิจในละตินอเมริกาและในเอเชีย เป็นวิกฤติที่เกิดใน 2 ด้าน (twin crises) พร้อมกัน ได้แก่ วิกฤติดุลการชำระเงิน (Balance of payment crisis) และวิกฤติธนาคาร (Banking crisis) ดังนั้น สัญญาณเตือนภัยที่พบว่ามีนัยสำคัญในการบ่งชี้ความเปราะบางทางเศรษฐกิจ จึงแบ่งเป็นกลุ่มตัวแปรใหญ่ได้ 3 ด้าน ดังนี้

ด้านที่ 1 คือ กลุ่มตัวแปรทางเศรษฐกิจที่บ่งชี้ความเปราะบางของดุลการชำระเงิน งานวิจัย พบว่า ประเทศที่ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมากเกินกว่า -3% ของ GDP และขาดดุลต่อเนื่องติดต่อกัน รวมทั้งชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดด้วยเงินทุนต่างประเทศระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) ประเทศนั้นๆ จะมีโอกาสเกิดวิกฤติดุลการชำระเงินมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากเงินทุนที่มีอายุระยะสั้น มีโอกาสที่จะถูกถอนออกจากประเทศได้ง่ายกว่าเงินทุนในระยะยาว

นอกจากนั้น หากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดถูกซ้ำเติมด้วยการแข็งค่าของค่าเงินที่แท้จริงเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้า ก็จะยิ่งทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง และทำให้โอกาสในการเกิดวิกฤติสูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น ทั้งประเทศเม็กซิโกในช่วงก่อนปี 2538 และประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2540 ต่างล้วนขาดดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP เกิน -3% ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี จนในปีสุดท้าย ก่อนจะเกิดวิกฤติดุลการชำระเงิน ประเทศทั้ง 2 ต่างขาดดุลถึงเกือบ -8% ของ GDP นอกจากนั้น ทั้ง 2 ประเทศต่างก็ไฟแนนซ์การขาดดุลด้วยเงินกู้ต่างประเทศระยะสั้นเป็นส่วนใหญ่ และที่สำคัญ ในปีก่อนที่ต่างชาติแห่ถอนเงินออกจากทั้งเม็กซิโกและเมืองไทย ค่าเงินเปโซและค่าเงินบาทที่แท้จริง เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าก็ล้วนแข็งขึ้นเกือบ 10% ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของทั้ง 2 ชาติลดลง

ด้านที่ 2 คือ กลุ่มตัวแปรทางการเงินที่บ่งชี้ความเปราะบางของสถาบันการเงิน งานวิจัย พบว่า ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติในละตินอเมริกา และวิกฤติต้มยำกุ้งในเอเชีย สถาบันการเงินในหลายๆ ประเทศ ต่างปล่อยกู้อย่างไม่ระมัดระวัง ตัวแปรหนึ่งที่บ่งชี้วิกฤติสถาบันการเงินได้อย่างดี คือ การขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อ เช่น

ก่อนเกิดวิกฤติในเม็กซิโกและในไทย สินเชื่อของสถาบันการเงินในประเทศเหล่านี้ขยายตัวถึงปีละไม่ต่ำกว่าปีละ 20% จนในที่สุด สินเชื่อที่โตเร็วเกินไป ได้เริ่มกลายเป็นหนี้เสีย NPL และทำให้ผู้ฝากเงินเริ่มแห่ถอนเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ

ด้านที่ 3 คือ กลุ่มตัวแปรด้านความเพียงพอของทุนสำรองระหว่างประเทศ งานวิจัยพบว่า แม้ว่าประเทศต่างๆ จะมีความเปราะบางทางด้านดุลการชำระเงินและด้านสถาบันการเงิน ตามที่กล่าวสรุปไปแล้วข้างต้น แต่หากประเทศต่างๆ มีทุนสำรองเพียงพออาจจะสามารถป้องกันการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจได้ อย่างไรก็ตาม การวัดว่าทุนสำรองมีเพียงพอหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่านำมาเทียบกับอะไร

ในอดีตนั้น นักเศรษฐศาสตร์มักจะนำทุนสำรองมาเทียบกับมูลค่าการนำเข้าของแต่ละประเทศ กล่าวคือ หากประเทศไม่มีรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศแล้ว จะสามารถนำทุนสำรองมาชำระสินค้านำเข้าได้กี่เดือน ซึ่งตามมาตรฐานสากลได้กำหนดไว้ว่า ทุนสำรองควรมีไม่ต่ำกว่ามูลค่านำเข้าประมาณ 3 เดือน แต่มาตรฐานนี้ กลับไม่เพียงพอที่จะมาใช้ป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจในเม็กซิโกและในไทย เพราะในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจนี้ ประเทศทั้ง 2 ก็มีทุนสำรองเกินกว่า 3 เดือน แต่ก็ยังเกิดวิกฤติอยู่ดี

งานวิจัยที่ผมพบก็คือ ทุนสำรองควรนำมาเปรียบเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และพบว่า หากทุนสำรองมีมากกว่าหนี้ระยะสั้น ก็จะสามารถช่วยป้องกันวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีระดับหนึ่ง

คราวนี้หากเราลองนำเอาสัญญาณเตือนภัยเศรษฐกิจต่างๆ ดังกล่าว มาวัดว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน น่าจะอ่อนไหวจนเกิดวิกฤติรอบ 2 หรือไม่ ก็จะพบว่า มีโอกาสค่อนข้างน้อย เพราะดุลการชำระเงินของไทยในปัจจุบัน ค่อนข้างเข้มแข็ง จากดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังเกินดุลอยู่มากเกินกว่า 1.5% ของ GDP หนี้ต่างประเทศระยะสั้นก็อยู่ในระดับต่ำ แต่ค่าเงินบาทที่แท้จริงเริ่มแข็งค่าขึ้นมากกว่าประเทศคู่ค้า อาจส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลลดลงได้ในอนาคต

สำหรับสถาบันการเงินไทยในปัจจุบันก็เข้มแข็งกว่าในอดีตมาก สินเชื่อขยายตัวปีละไม่กี่เปอร์เซ็นต์ หนี้เสียในสถาบันการเงินยังอยู่ในระดับต่ำ และเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงก็ยังมีอยู่มาก นอกจากนั้น ในปัจจุบัน ทุนสำรองระหว่างประเทศก็มีมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึง 3 เท่ากว่าๆ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโอกาสจะเกิดวิกฤติรอบ 2 แบบเดิมจะมีค่อนข้างน้อย แต่ก็อย่าลืมนะครับว่า วิกฤติเศรษฐกิจ ไม่จำเป็นต้องซ้ำแบบเดิม เพราะฉะนั้น จงเตรียมความพร้อมอยู่บนความไม่ประมาทจะดีที่สุดครับ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2550




ข่าว/ เรื่องบอกกล่าว

ร่วมบริจาค ช่วยเหลือ ผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วม
การล่มสลายของเลแมน บราเดอร์สและเอไอจี
อ่านข่าวเด่น...ของวันนี้
ครม.คลอดแพ็กเกจภาษีชุดใหญ่
สรรพากรลดภาษีคนดีฉลอง 80 พรรษา
มนุษย์เงินเดือนอดลดหย่อนภาษีเพิ่ม
กรมสรรพากร เร่งตรวจสอบและเอาผิดกับผู้ทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร หรือขอคืนภาษีเป็นเท็จ
ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพ์ ที่ทุกคนควรทราบ
วิกฤตการณ์เงินบาทแข็ง
สรรพากรไล่บี้ภาษีคณะบุคคล
ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล เปิดตัวแล้ว
ผงะ! รายได้รัฐปีนี้เหือดแห้ง
ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ