ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



รับมือกับการตำหนิอย่างไรดี

 

                                                                             รับมือกับการตำหนิอย่างไรดี 

 

                                                                  

 

ไม่มีใครชอบถูกตำหนิติเตียน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือถูกมองในแง่ร้าย และไม่มีใครชอบใจเมื่อมีคนมาชี้นิ้วกล่าวโทษเราใช่ไหมคะ แต่ทำอย่างไรหากเราต้องประสบกับสถานการณ์เหล่านี้

ไม่มีคำพูดไหนที่ทำให้เราเจ็บแสบได้เท่ากับการบอกว่าเราปฏิบัติงานได้ไม่ดีตามที่เจ้านาย คาดหวังไว้ ตัดสินใจในงานสำคัญต่างๆ ได้แย่มาก หรือบริหารควบคุมไม่ดีจนทำให้โครงการล้มเหลว และจะยิ่งรู้สึกแย่มากถ้าคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านั้นคือ ‘ความจริง’

เรื่องความผิดพลาดเหล่านี้เรามักพบเห็นได้บ่อยๆ ในออฟฟิศที่ยังคงมีการทำงานผิดพลาด มีการบ่น และโต้เถียงกันแทบทุกวันเพราะไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ ทำงานได้ยอดเยี่ยมตลอดเวลา และไม่มีใครที่อยากถูกวิพากษ์ วิจารณ์ เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว คุณจะมีวิธีจัดการกับมันอย่างไร

เพียงแค่ใช้เทคนิค 3 ประการต่อไปนี้เข้ามาช่วย เหตุการณ์ที่ตึงเครียดจะผ่อนคลายลงได้ และยังสามารถทำให้คนที่ถูกตำหนิรู้สึกดีขึ้นอีกด้วย

ประการแรก

ยอมรับข้อผิดพลาดของตัวเอง การพร้อมที่จะยอมรับความผิดพลาดเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการลดความตึงเครียดของสถานการณ์เมื่อมีการตำหนิกันเกิดขึ้น เพราะโดยธรรมชาติของมนุษย์แล้วเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะไม่มีใครยอมรับว่าตนเองเป็นคนทำแน่นอน แต่จะกล่าวโทษผู้อื่น เพื่อหาตัวคนกระทำผิด การกล่าวโทษกันไปมาจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของความขัดแย้งยิ่งขึ้น แถมยังไร้ประโยชน์

สำหรับผู้นำที่ดีควรเป็นคนแรกที่ยอมรับความผิดพลาด แล้วทุกๆ คนก็จะหันมาเห็นใจ แล้วบอกว่ามันไม่ใช่ความผิดคุณ แต่เป็นความผิดของทุกๆ คนต่างหาก แต่ในทางตรงข้ามหากคุณกล่าวโทษผู้อื่น รับรองว่าพวกเขาจะหันมาโต้กลับคุณ และปกป้องในการกระทำของพวกเขาว่าถูกต้องแล้วแน่นอน

เมื่อคุณทำผิดขอให้ยอมรับความผิดพลาดนั้นก่อนที่จะมีใครลุกขึ้นมาชี้ให้คนอื่นเห็น อย่าพยายามพูดแก้ตัวเพื่อลดความผิดพลาดนั้นให้น้อยลง เพราะมันไม่มีประโยชน์ค่ะ


ประการที่ 2

คิดทบทวนให้รอบคอบก่อนที่คุณจะตำหนิ หรือวิพากษ์วิจารณ์ใคร ซึ่งหากคนที่ทำผิดพลาดรู้อยู่แล้วว่าตัวเองผิด คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพูดอะไร เพราะไม่มีประโยชน์ที่จะพูดให้เขารู้สึกเลวร้ายลงกว่าที่เป็นอยู่

หากคุณเข้าใจว่าไม่มีใครมาทำงานเพื่อสร้างความยุ่งเหยิงวุ่นวายให้แก่บริษัท ทุกคนล้วนแต่ต้องการความระสึกว่าตัวเองเป็นที่ต้องการของคนอื่น และต้องการทำงานตามหน้าที่รับผิดชอบของตนเองให้ดีที่สุด แล้วคุณก็จะเข้าใจว่าการตำหนิ หรือวิพากษ์วิจารณ์อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ สิ่งที่ควรทำคือหลีกเลี่ยงการตำหนิบ่นว่า และเปลี่ยนการตำหนินั้นให้กลายเป็นการขอร้อง และการให้คำแนะนำแทน

การหาคนกระทำผิด หรือหาคนที่สมควรได้รับการตำหนิไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นแม้แต่น้อยเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น การปรับปรุงแก้ไขสถานการณ์นั้นๆ ต่างหากคือสิ่งที่ควรกระทำ
ดังตัวอย่างของการต่อเติมโรงพยาบาลแห่งหนึ่งผู้อำนวยการต้องการต่อเติมโรงพยาบาลให้มีพื้นที่มากขึ้น ด้วยการสร้างโรงอาหาร และลานจอดรถใหม่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลขอให้คณะกรรมการท่านหนึ่งช่วยควบคุมดูแลการก่อสร้างครั้งนี้ โดยให้คำแนะนำว่าเขาควรจ้างที่ปรึกษาทางด้านการสร้างอาคารจอดรถ และที่ปรึกษาทางด้านโภชนาการ

ผู้อำนวยการไม่มีเวลามากพอที่จะติดตามดูแลการก่อสร้างนี้ได้ตดอดเวลา และกรรมการผู้ที่เขามอบหมายงานให้ก็ไม่ได้จ้างที่ปรึกษาแต่อย่างใด ทำให้โรงพยาบาลประสบกับปัญหาสถานที่คับแคบ เมื่อผู้อำนวยการทราบเรื่องก็สายเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ เนื่องจากมีการจ่ายเงินไปแล้วหลายสิบล้านบาท พอสร้างเสร็จโรงอาหารก็มีขนาดเล็กเกินไป และมีคุณภาพอาหารต่ำกว่าเดิม ส่งผลให้ชื่อเสียงของโรงพยาบาลได้รับผลกระทบไปด้วย

เหตุการณ์ครั้งนี้ผู้อำนวยการมีสิทธิ์ที่จะดำหนิกรรมการคนนั้นในที่ประชุม และไล่ออกได้ แต่การตำหนิเขาในที่ประชุมก็ไม่ได้ช่วยยกระดับคุณภาพอาหารให้ดีขึ้นได้ เขาจึงไม่อยากกล่าวโทษใคร สิ่งที่ควรทำคือการแก้ไขปรับปรุงสถานการณ์ให้ดีขึ้นกว่าเดิมต่างหาก

โดยมากแล้วการตำหนิติเตียน หรือการวิจารณ์มักจะทำให้ทุกคนอับอาย คนที่ได้รับการตำหนิอย่างรุนแรงมักจะไม่ค่อยอยากแสดงความคิดสร้างสรรค์ ไม่ต้องการทำอะไรเกินกว่าขอบเขตหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบอยู่ เพราะไม่อยากเสี่ยง ซึ่งเท่ากับว่าองค์กรจะสูญเสียศักยภาพของพนักงานผู้นั้นไปทันที แต่ถ้าพิจารณาถี่ถ้วนแล้วว่าจำเป็นต้องมีการตำหนิติเตียนก็ควรติในเชิงสร้างสรรค์ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน


ประการที่ 3

วิพากษ์วิจารณ์ด้วยความนุ่มนวล และระงับอารมณ์ให้สงบนิ่ง เพราะไม่มีใครต้องการรับฟังในแง่ลบของตัวเอง ถ้าคุณให้ความสำคัญกับสิ่งที่เขาทำได้ดีพอๆ กับสิ่งที่เขาทำผิดพลาด เขาก็จะยอมรับฟังคุณมากขึ้นซึ่งการติ หรือการวิพากษ์วิจารณ์ควรเริ่มจากการแสดงความชื่นชม และชมเชยในสิ่งที่เขาทำได้ดีและสำเร็จก่อน แต่ต้องไม่แกล้งชมไปอย่างนั้นคุณต้องเอ่ยชมเขาด้วยความจริงใจ จากนั้นจึงค่อยๆ พูดถึงเรื่องการพัฒนาและปรับปรุงข้อผิดพลาดของเขาด้วยความนุ่มนวล ปิดท้ายด้วยการชี้ให้เห็นว่าเขามีคุณค่าต่อบริษัทของคุณอย่างไร ซึ่งวิธีนี้มักจะได้ผลเสมอ เพราะจะทำให้คนฟังรู้สึกดีทั้ง ๆ ที่มันคือการตำหนิติเตียน

การพูดด้วยความนุ่มนวลดีกว่าการใส่อารมณ์ และชี้นิ้วกล่าวโทษกัน เพราะความนุ่มนวลและการแสดงความเป็นมิตรมีอำนาจเข้มแข็งกว่าการใช้โทสะและกำลัง ดังตัวอย่างนิทานของพายุกับพระอาทิตย์ที่จะเล่าให้ฟังต่อไปนี้

วันหนึ่งพายุกับพระอาทิตย์ได้โต้เถียงกันว่าใครคือผู้ที่มีอำนาจมากกว่ากัน ในขณะที่กำลังถกเถียงกันอยู่บังเอิญมีชายชราคนหนึ่งเดินผ่านมาพอดี พายุจึงเสนอให้มีการแข่งขันโดยคนที่สามารถถอดเสื้อโค้ตของชายชราได้ก่อนจะเป็นผู้ชนะ พายุเป็นฝายเริ่มก่อน ด้วยการพยายามเป่าลมให้แรงขึ้นจนเกือบเป็นพายุทอร์นาโด แต่ยิ่งแรงเท่าไหร่ชายชราก็ยิ่งกำเสื้อโค้ตแน่นขึ้นเท่านั้น เมื่อถึงตาของพระอาทิตย์พระอาทิตย์ฉายแสงลงมาที่ชายชราอย่างนุ่มนวลแล้วค่อย ๆ ทวีความร้อนขึ้น ชายชราเริ่มปาดเหงื่อและถอดเสื้อโค้ตออก ทำให้พระอาทิตย์เป็นฝ่ายชนะการแข่งขันครั้งนี้ นิทานเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าความนุ่มนวลมีอำนาจมากกว่าโทสะกำลังจริง ๆ


เพียงแค่ 3 ข้อนี้ถ้าคุณทำได้ คุณก็สามารถรับมือกับการตำหนิติเตียนได้แล้วค่ะ

ที่มา : http://women.sanook.com/work 




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ