ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



ตำหนิแบบไหน...ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า

 

ตำหนิแบบไหน..ไม่ให้ลูกน้องเสียหน้า 

 

                      

ไม่ว่าความผิดพลาดสูญเสียในงานจะมากมายเพียงใดก็ตาม ร้อยทั้งร้อยไม่มีคนทำงานคนไหนอยากถูกตำหนิติเตียนหรือกล่าวโทษ แต่สำหรับหัวหน้างานแล้ว ถือว่าเป็นบทบาทหนึ่งที่ต้องกระทำ ซึ่งการตำหนิและวิพากษ์วิจารณ์ความผิดพลาดนั้น ก่อให้เกิดผลลัพท์ในเชิงบวกได้ หากรู้จัก "จัดการ"

วันดีคืนดีลูกน้องทำตลาดพัง วันร้ายคืนร้าย ลูกน้องแสนดีกลับเหลวไหลประหนึ่งเป็นพนักงานที่ถูกส่งมาจากองค์กรนรก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่หัวหน้างานจะควบคุมอาการ "นอตหลุด" เอาไว้ในใจ ดังนั้น ย่อมเกิดบรรยากาศการโวยวายกันบ้าง แต่สิ่งที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือ มักไม่ค่อยมีลูกน้องคนใดอยู่รอให้ "โดนด่า" ในรายที่ฉลาดแกมโกงก็มักแก้ปัญหาให้พ้นตัวไป โดยชี้หน้าโทษผู้ร่วมงานคนอื่น ไปจนถึงการโยนปัญหาไปให้เป็นความรับผิดของสถานการณ์แวดล้อมที่ไร้ตัวตนเสียทุกทีไป นั่นเป็นเพราะไม่มีใครอยากถูกตำหนินั่นเอง

อันที่จริงแล้ว การติเตียนหรือการวิพากษ์วิจารณ์นั่น ซ่อนพลังในเชิงบวกเอาไว้ไม่น้อย การกล่าวโทษความผิดพลาดของลูกน้องเป็นเครื่องมือของการบริหารองค์กรชนิดหนึ่ง ที่จะช่วยป้องกันมิให้เกิดความผิดพลาดซ้ำซาก ก่อให้เกิดแรงฮึด สร้างความเชื่อมั่นขึ้นมาใหม่ ด้วยความพยายามในระดับที่มากกว่าเดิม และบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจในที่สุดแต่ทั้งนี้และทั้งนั้น

หัวหน้างานต้อง "ติให้เป็น" โดยมีหลักการที่น่าจะเข้าใจได้ง่ายๆ ดังนี้

รู้จังหวะเวลาที่เหมาะสม
การทำธุรกิจคล้ายกับการแข่งขันกีฬา ตรงที่ต่างก็ตกอยู่ในเกมเหมือนกัน ผู้นำองค์กรคือโค้ชของทีม ซึ่งอยู่ในฐานะมองเกม ไกด์แนวการเล่น และตำหนิลูกทีมของตนเองได้เมื่อเขาเล่นผิดพลาดจนทำให้ทีมเสียหายยับเยิน

เป้าหมายแรกของการตำหนิ ไม่มีอะไรมากไปกว่าป้องกันความเสียหายซ้ำซาก ตำหนิเพื่อให้ผู้เล่นรับผิดชอบตำแหน่งของตัวเองเต็มที่มากขึ้น และเป็นผลทางด้านจิตวิทยากับทีมโดยรวม เพราะเมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น ทุกคนในทีมงานย่อมรับรู้สถานการณ์ได้เท่ากันอยู่แล้ว ถ้าหากคนทำผิดไม่ได้รับการตำหนิเลย จะทำให้ส่วนงานอื่นๆ รู้สึกท้อแท้

เล่นผิดก็ถูกกล่าวโทษ ฟังดูเหมือนง่าย แต่การตำหนิไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะจะรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อใดที่ควรตำหนิและเมื่อใดไม่ควร ต่อประเด็นนี้จึงต้องอาศัยวิจารณญาณของผู้นำองค์กรค่อนข้างมาก

ปกติแล้วความผิดพลาดในงานหรือเกมการแข่งขัน เกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุ สาเหตุแรกเป็นผลมาจากการอ่อนด้อยในความสามารถ ลูกทีมไม่อาจทำงานได้ตามเป้าหมาย พูดง่ายๆ คือทักษะผิดพลาด ปัญหานี้กล่าวโทษกันก็ไร้ประโยชน์ เพราะนั่นหมายถึงฝ่ายบุคคลตาไม่ถึง รับคนด้อยประสิทธิภาพมาทำงาน การแก้ไขปลายเหตุคือ ต้องไล่ไปฝึกฝนทักษะกันใหม่ จัดโปรแกรมเทรนนิ่งให้เขา ซึ่งเปลืองต้นทุนมาก ทางที่ดีก็คือต้องคัดคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงานตั้งแต่ต้น

ส่วนสาเหตุที่ 2 เป็นผลมาจากการตัดสินใจผิดพลาด กรณีนี้ผู้นำและลูกทีมไม่อาจหลีกเลี่ยงการตำหนิติเตียน หรือรอดพ้นไปจากคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ การกล่าวโทษด้วยวิธีการที่ดี จะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกทีมตัดสินใจผิดพลาดซ้ำสอง เพราะการตัดสินใจเป็นเรื่องของทัศนะคติและประสบการณ์ สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้จากการติดสินใจผิดพลาดครั้งแรก

ชมต่อหน้า ด่าสองต่อสอง
ผู้นำที่ชาญฉลาด อย่าลังเลที่จะชมลูกทีมในที่สาธารณะ เพื่อให้เขาเกิดกำลังใจ เกิดความเชื่อมั่นที่จะทำงานให้ดีต่อไป และยังเป็นผลดีต่อลูกทีมคนอื่นๆ ในองค์กรที่หวังจะพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น เพราะเขาเกิดความมั่นใจว่าเมื่อผลงานออกมาดีแล้ว ตัวเองก็จะได้รับการชมเชยบ้างเหมือนกัน

ในขณะเดียวกัน เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้น การกล่าวโทษติเตียนต้องรู้กันเฉพาะนายกับลูกน้องรายนั้น ไม่ว่าสังคมไหนก็ตาม การเสียหน้าล้วนเป็นเรื่องใหญ่ ที่บั่นทอนพลังในการทำงานทั้งสิ้น แม้แต่ความสำเร็จของงาน บางครั้งก็มีความผิดพลาดสูญเสียเจือปนมาทั้งสิ้น

ผู้นำต้องเลือกเฟ้นเฉพาะด้านดีออกมาชมอย่างเปิดเผย ส่วนอีกด้านหนึ่ง หาเวลาเหมาะสมแล้วค่อยบอกลูกน้องว่า งานนั้นถึงจะบรรลุเป้าหมายแต่มีข้อเสียที่ควรปรับปรุงอย่างไร

อย่าอยู่ในความเงียบ
โดยทั่วไปแล้ว ไม่มีคนทำงานคนไหนที่ไม่รู้ว่าตัวเองทำงานผิดพลาด และเขามักรอคอยกล่าวโทษจากผู้นำและเพื่อนร่วมทีมอยู่แล้ว ไม่ว่าเขาจะไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ตามที การทำผิดแล้วถูกตำหนิเลยนั้นเลวร้ายยิ่งกว่า ทั้งต่อตัวคนที่ทำผิดและต่อองค์กรโดยรวม

เวลาทำผิดแล้วเจ้านายไม่ตำหนิเลย เชื่อไหมว่าทำให้ลูกน้องรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนทำงานที่ไร้ค่า ความเงียบของเจ้านายทำให้เขารู้สึกว่าเจ้านายคิดว่าเขา "Hopeless" คนทำงานผิดพลาดแล้วไม่ถูกตำหนิ ถ้าไม่ใช่ลูกน้องเส้นใหญ่หรือเจ้านายบ้องตื้นแล้วหล่ะก็ มันมีความหมายว่าลูกน้องรายนั้นในการพัฒนาตนเอง ไม่ว่าจะถูกตำหนิหรือถูกวิจารณ์อย่างไร เขาคงไม่สามารถทำงานได้ดีกว่านี้อีกแล้ว

เมื่อทำผิดพลาดแล้วไม่ถูกตำหนิ เขาจะทำงานด้วยความรู้สึกกังวลกว่าเดิม เป็นความกังวลที่เกิดขึ้นยืดยาวไปจนถึงวันประเมินผลงานปลายปี แต่ถ้าหากทำงานผิดพลาดแล้วถูกตำหนิเลย จะเป็นประหนึ่งสัญญาณที่ช่วยให้เขาประเมินแต้มของตัวเองได้ ลงมือฮึดสู้ใหม่ และไม่ต้องกังวลไปตลอดปีแห่งการทำงาน เพราะฉะนั้น ด่าลูกน้องเถอะ อย่าลังเล

หาแพะรับบาป
เรื่องของการตำหนิแบบผิดฝาผิดตัว บางครั้งเกิดขึ้นจากความเขลาของผู้นำเอง ที่ไม่หาข้อมูลให้สมบูรณ์เสียก่อน คนที่ไม่ได้ทำผิด แล้วต้องประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ จัดว่าเป็นแพะโชคร้ายแห่งเดือน หรือแพะรับบาปแห่งปีไป ถ้าโชคดีผู้นำรู้ตัวแล้วแอบขอโทษขอโพยกันสองต่อสอง ก็ต้องยกประโยชน์ให้เจ้านายไป เป็นบุญเป็นคุณกันเสียอีก ไม่ต้องไปเสียอกเสียใจ ทดท้อ หมดความเชื่อมั่นในการทำงาน

ทว่า ยังมีอีกกรณีหนึ่งที่ผู้นำจำเป็นต้องหาแพะรับบาปตัวจริง อันเนื่องมาจากว่าธุรกิจมีความสูญเสียเกิดขึ้นจริงด้วยเหตุสุดวิสัย แต่จะปล่อยเลยตามเลยก็ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะขัดกับกฏที่ว่าด้วยผู้นำต้องด่า ผู้นำต้องไม่อยู่ในความเงียบ

ประเด็นนี้ก็ขึ้นอยู่กับพิจารณญาณของผู้นำแล้วหล่ะ ว่าจะหาแพะอย่างไรให้เหมาะสม ตำหนิแล้วแพะไม่น้อยใจยื่นใบลาออก หรืออ้างบุญคุณกับเจ้านาย แต่หลังจากหาแพะครั้งนั้น จะช่วยให้ทีมงานเอาใจใส่งานมากขึ้น การบริหารจัดการและทักษะความเป็นผู้นำจึงไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก แม้กระทั่งการตำหนิลูกทีมเรื่องเดียว ก็เต็มไปด้วยศิลปะ และมีกลยุทธ์ซับซ้อนอย่างไม่น่าเชื่อ

อย่าบั่นทอนความเชื่อของคนทำงาน
การตำหนิติเตียนเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสำหรับองค์กรก็จริง แต่ถ้าใช้มากใช้บ่อยเกินไป การตำหนิจะกลายเป็นเครื่องมือในการบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงานเสียเอง ในทางบวกช่วยป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดซ้ำ ในทางลบกลับกลายเป็นสิ่งกัดเซาะความเชื่อมั่นในตัวเองของคนทำงาน

ดังนั้น หากอาศัยการตำหนิให้เป็นประโยชน์ ผู้นำต้องใช้วิจารณาญาณเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ดี เจ้านายที่ดุด่าลูกน้องบ่อยๆ คือเจ้านายที่สร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัวให้เกิดขึ้นกับองค์กร จะไม่มีใครกล้าเสี่ยงทำในสิ่งที่สร้างสรรค์แปลกใหม่ เพราะไม่แน่ใจว่าผลที่ออกมาจะตรงกันข้ามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ในที่สุดแล้ว ทุกคนจะทำงานกันแบบเอาตัวรอด ไม่มีใครกล้าใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มสูบ

การสร้างสมดุลระหว่างคำติเตียนและคำชมเชย จึงเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งของผู้นำ นอกจากจะใช้ให้ถูกที่ ถูกคน และถูกเวลาแล้ว ความสำเร็จและความล้มเหลวในเรื่องเดียวกันต้องหาทางดึงข้อติและข้อชมออกมาให้ได้ เพื่อจะใช้มันทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน

อาชีพเจ้านายจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะแม้แต่การตำหนิลูกน้องยังต้องอาศัยกลยุทธ์ไม่น้อยเลย..จริงไหมครับ

ที่มา : http://www.thaihomemaster.com




รวมบทความการจัดการธุรกิจ

กลยุทธ์การตลาด เจาะองค์กร
การตลาด - วิธีบริหารจัดการกับราคาสินค้าที่แพง
จุดยืนทางการตลาด
กลยุทธ์การตลาด สำหรับเจ้าของกิจการ SME
เทคนิคการขายให้ประสบความสำเร็จ
กลยุทธ์การตลาดสินค้า Brandname
7 ความล้มเหลวทางการตลาด
ตั้งชื่อร้าน สร้างแบรนด์ อย่างไรดี
กลยุทธ์สร้างความประทับใจแก่ลูกค้า
คุณสมบัติ 9 อย่างที่ google ใช้พิจารณารับคนเข้าทำงาน
เช็ค BLACKLIST...10 ข้อต้องรู้ เครดิตบูโร !
"เจ้านาย" 8 ประเภท ที่ลูกน้อง "สุดทน"
การบริหารคน ให้ธุรกิจไปรอด
ทำไมต้องมีบัญชีกระแสรายวัน
ธุรกิจ SME อยากกู้เงินธนาคาร เริ่มต้นอย่างไรดี
ทำไมคนเราจึงยอมซื้อสินค้า IT ราคาแพง
เทคนิคการบริหารจัดการลูกค้่า
วิธีการให้กำลังใจตัวเองในการทำงาน
นอกจากเงิน มีสิ่งใดทำให้พนักงานมีความสุขได้อีก
10 คำถามก่อนรับพนักงานใหม่
ทิศทางการตลาดยุคดิจิตอล
กองทุนตั้งตัวได้ โอกาสสำหรับนักธุรกิจรุ่นใหม่
3 ปี (นับจากปี 2555) เศรษฐกิจไทย 'เลี่ยงความเสี่ยง- คว้าโอกาส'
กะทิชาวเกาะ “กว่าจะมาเป็น กะทิ UHT รายแรกของไทย”
เส้นทางความสำเร็จของ "หมอเส็ง"
แนวโน้มการตลาดออนไลน์
ทฤษฎีผลประโยชน์กับการลงทุน
การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์
Google กับการพัฒนาธุรกิจ
ความท้าทายเอสเอ็มอีไทยในปี 2554
แนวทางการบริหารเงินในปี 2554
เรื่องราวของราชารีไซเคิลเมืองไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจเก็บขยะมาขาย จนธุรกิจเติบโตรวยเป็นเศรษฐี
สัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจจานดาวเทียม PSI...เส้นทางกว่าจะมาถึงวันนี้
วิธีจัดการกับลูกค้าที่ชอบโวยวาย
สูตรสำเร็จ การบริหารกิจการกาแฟ (แบล็คแคนยอน) สู่ระดับสากล
Change Management
สื่อออนไลน์กับการทำธุรกิจ
การส่งต่อธุรกิจครอบครัว
เปลี่ยนงานใหม่อย่างไรไม่ให้พลาด
ขายตรงผ่านดาวเทียม
ธุรกิจอีคอมเมิซไทย..ก้าวไกลแค่ไหน
ทำอย่างไรเมื่อเงินขาดมือ
เคล็ดลับ 7 ประการในการรักษาลูกค้าให้อยู่กับเราตลอดไป
"วิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้นักธุรกิจต้องทำอะไรบ้าง"
"ลูกหนี้" คือ "กับดัก" ของกระแสเงินสด
อย่าใช้เงินกู้ผิดประเภท
ทำอย่างไรให้อีกฝ่ายตอบ เยส (Yes) !
ให้โบนัส "สร้าง" หรือ "ทำลาย" กำลังใจ
การตลาดสำหรับธุรกิจบริการ
วิธีการหา “ตัวช่วย” สำหรับแก้ไขปัญหาหนี้สิน
คติพจน์แห่งการประพฤติตนในสถานที่ทำงาน
เมื่อขงเบ้งสอนเล่าปี่เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารเวลา
ทำไมหัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง
10 ตัวอย่างจูงใจพนักงาน
เปิด 10 บริษัทแชมป์กำไรยอดเยี่ยม ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ
7 วิธี…ต่อสู้กับวิกฤติเศรษฐกิจ
Comfort Care…รักษาใจในวาระสุดท้ายก่อนเลิกจ้าง
สัญญาณเตือนจากคำพูด
Work Hard กับ Work Smart
SMEs จะต้องเผชิญอะไรในปี 2552 บ้าง
เคล็ดลับการทำงาน อย่างชาวจีนที่คุณเลียนแบบได้
เลิกจ้าง...มิใช่คำตอบสุดท้าย
10 สาเหตุที่ทำให้ธุรกิจล้ม !!!
จะทำอย่างไร เมื่องานเยอะจนทำไม่ทัน
การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
THE SECRET ไขกุญแจความสำเร็จธุรกิจยุคหน้า
10 กลยุทธ์ซื้อใจมนุษย์เงินเดือน
วิธีการหลีกเลี่ยงภาวะหนี้สินล้นพ้นตัว
เมื่อลูกน้องทำงานไม่ได้ดั่งใจ
การฟอกเงิน คืออะไร
ต่อรองแบบ Win-Win
เมื่อพนักงานเริ่มหมดความมุ่งมั่นในการทำงาน
ธนาคารไม่ใช่เพื่อน
นายที่ลูกน้องไม่ชอบ
การบริหารจัดการเงินสดในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs)
อย่าฆ่าเวลาจนเป็นนิสัย
10 เทคนิค...พูดอย่างมือโปร
สาเหตุของ... การคิดใหญ่ แต่...ไปไม่รอด !
เคล็ดลับ "จำกัด" จุดอ่อน
วิธีการเขียนแผนธุรกิจ
Me Too Business
รับมือลูกค้าเจ้าอารมณ์
7 วิธี เพื่อการบริการลูกค้าที่เป็นเลิศ
10 เงื่อนไขผูกใจลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ
ทำไมคนบางประเภทจึงไม่สามารถเป็นผู้นำคนได้
ความสำเร็จที่เกิดจาก “ทีมสนับสนุน”
ประโยชน์ที่ได้รับ จากการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ทำ Team ให้ Work
21 เหตุแห่งความล้มเหลวของท่านกว๋อฉาง (นักปราชญ์ชาวจีน)
10 วิธีในการเอาชนะความกลัวในการขาย
จ้างคน...ที่ใจ (Passion-Based Recruitment)
วิธีการจัดการ งานสุดเซ็งให้กลับชื่นมื่น
คัดเลือกคนที่ “ใช่”
7 วิธีในการจัดการเงินสดหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพ
เจรจาต่อรองอย่างผู้ชนะ
ท็อปฮิตสาเหตุ...งานไม่เดิน !!!
ทำอย่างไรให้เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์
10 เหตุผลดีๆ ที่ควรวางแผนการเงิน
รูปแบบของธุรกิจการเงินนอกระบบ