ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



เรื่องของภาษีเงินได้

 

 

   ยังไงๆ รัฐบาลก็ยังต้องเก็บภาษีพลเมืองอยู่ เพราะว่ารัฐบาลต้องทำบริการสาธารณะบางอย่าง ที่ยังปล่อยให้เอกชนทำแทนทั้งหมดไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดก็เรื่องการคุ้มครองสิทธิให้แก่บุคคล หรือการป้องกันประเทศ เป็นต้น รัฐบาลจึงยังต้องเก็บภาษีเพื่อให้มีงบประมาณ (แม้ว่าในทางเศรษฐศาสตร์ ภาษีก่อให้เกิดต้นทุนทางสังคมเสมอ)

ส่วนรัฐบาลควรเก็บภาษีมากหรือน้อย เพราะว่ารัฐบาลควรทำบริการสาธารณะด้วยตนเองมากหรือน้อยแค่ไหน เป็นเรื่องที่ยังเถียงกันไม่จบ แต่สรุปแล้ว แทบไม่มีใครไม่เห็นด้วยว่า รัฐบาลยังต้องเก็บภาษีอยู่ มากหรือน้อยอีกเรื่องหนึ่ง

แต่นอกจากเหตุผลเรื่องบริการสาธารณะแล้ว ยังมีแนวคิดอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ของภาษีที่มาแรงไม่แพ้กัน คือ ภาษีถือเป็นวิธีการกระจายรายได้รูปแบบหนึ่ง ที่ใช้ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม แนวคิดนี้ทำให้มีการเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า คือคนรวยต้องจ่ายภาษีในอัตราสูงกว่าคนจน แล้วนำภาษีมาทำสวัสดิการสังคมต่างๆ เป็นการกระจายรายได้โดยทางอ้อม

พักหลังดูเหมือนหน้าที่นี้ของภาษีจะมาแรงขึ้นเรื่อยๆ และเป็นกันทั่วโลกด้วย จนแทบจะกลายเป็นจุดประสงค์หลักของภาษีไปแล้ว

ผมไม่ขอแสดงความเห็นว่า การกระจายรายได้มากๆ เป็นเรื่องดีหรือไม่ดี แต่สมมติว่า เราต้องการใช้ภาษีเป็นเครื่องมือกระจายรายได้ที่ดีจริงๆ มีบางอย่างที่ผมเห็นว่าควรปรับปรุงเกี่ยวกับระบบภาษีเงินได้ของเราครับ

อย่างแรกเลยคือ การกระจายรายได้โดยอาศัยอัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้า กล่าวคือ อัตราภาษีเงินได้อยู่ที่ 0-37% ขึ้นอยู่กับรายได้สุทธิของแต่ละคน

อันนี้ฟังดูแล้วก็เหมือนจะดี แต่ในทางปฏิบัติ วิธีนี้ทำให้เกิดการกระจายรายได้แค่เฉพาะจากคนชั้นกลางไปสู่คนจนเท่านั้น แทบไม่มีผลอะไรกับคนรวยเลย เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น?

ก็เพราะว่ารายได้ที่เอามาใช้คำนวณเพื่อคิดภาษีในส่วนนี้ส่วนใหญ่คือ รายได้ประเภทเงินเดือนประจำ และพวกค่าวิชาชีพต่างๆ คนที่มีรายได้ประเภทนี้เป็นหลักคือ คนชั้นกลาง เท่านั้น เพราะคนชั้นกลางคือพวกมนุษย์เงินเดือน (หรืออย่างมากก็พวกวิชาชีพ เช่น หมอ ทนายความ เป็นต้น) ส่วนคนที่รวยจริงๆ นั้น มักจะมีรายได้ส่วนใหญ่ในรูปของผลตอบแทนจากสินทรัพย์เป็นหลัก ได้แก่ เงินปันผลของบริษัท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผลในหุ้น ค่าเช่า ฯลฯ (คนรวยต้องเป็นนายทุน) เงินได้ส่วนนี้มักหัก ณ ที่จ่ายได้ที่ 10-15% เท่านั้น หรืออย่างมากที่สุดก็เสียภาษีผ่านทางภาษีเงินได้นิติบุคคลที่อัตรา 30% ฉะนั้นคนรวยจริงๆ จะเสียภาษีเพียงแค่ราวๆ 10-15% ของรายได้รวมเท่านั้น พวกเขาอาจมีรายได้ในรูปของเงินเดือนอยู่บ้าง แต่ว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับรายได้ทั้งหมดของพวกเขา

เท่ากับว่า ทุกวันนี้คนที่เสียภาษีหนักที่สุด ไม่ใช่คนรวย แต่เป็นคนชั้นกลางระดับบนที่เสียภาษีมากถึง 37% ของรายได้ คนที่รวยกว่านั้นกลับเสียภาษีแค่ประมาณ 10-15% ของรายได้รวมเท่านั้น คิดแล้วยังน้อยกว่าคนชั้นกลางระดับกลางที่ต้องเสียภาษี 20-30% ของเงินเดือนเสียอีก

ดังนั้นใครอยากขึ้นภาษีเพื่อกระจายรายได้มากขึ้น อัตราภาษีที่ควรจะเพิ่มมากที่สุดน่าจะเป็นเงินได้พวกดอกเบี้ย เงินปันผล หรือค่าเช่า รวมทั้งเริ่มต้นภาษีที่ดิน และภาษีมรดก ซึ่งเป็นภาษีของคนรวยจริงๆ ที่ทุกวันนี้ไม่ต้องเสียภาษีเลยสักบาท ทำให้คนรวยเป็นกลุ่มคนที่เสียภาษีน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับรายได้ อัตราภาษีพวกนี้ไม่จำเป็นต้องขึ้นให้มากกว่าภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้าขั้นสูงสุดของคนชั้นกลางก็ได้ (มีแนวคิดด้วยว่า คนรวยย้ายถิ่นฐานได้ง่าย ถ้าถูกเก็บภาษีมากเกินไปก็อาจพากันไปลงทุนที่อื่น) แต่ควรจะมากกว่าที่เป็นอยู่ แค่ขึ้นอัตราภาษีพวกนี้นิดเดียว รัฐบาลก็มีรายได้เพิ่มขึ้นมหาศาลแล้ว

ส่วนภาษีเงินได้อัตราก้าวหน้าสูงสุดที่ 37% นั้น ผมกลับเห็นว่า ควรจะลดลงด้วยซ้ำ เพราะแม้คนชั้นกลางระดับบนจะมีฐานะค่อนข้างดี แต่พวกเขาก็ต้องเหนื่อยและเครียดกว่าคนทั่วไปมากกว่าจะหาเงินเหล่านี้มาได้ (ผู้บริหารระดับสูง หมอ ที่ปรึกษา) ไม่ใช่เงินที่เกิดจากการรอเก็บดอกผลของสินทรัพย์แบบพวกดอกเบี้ย หรือเงินที่ชาติกำเนิดบันดาลมาให้แบบมรดก จึงน่าจะให้รางวัลพวกเขามากกว่าที่จะลงโทษครับ

   ทุกวันนี้ คนไทยที่เสียภาษีเงินได้มีไม่ถึง 5% ของประชากรทั้งหมด ดังนั้นแม้อัตราภาษีเงินได้แบบก้าวหน้าของไทยจะไม่สูงนัก แต่ก็ถือว่าโหดมากแล้วในแง่ของการกระจายรายได้ บางคนบอกว่าทำไมไทยไม่เก็บภาษีเงินได้แบบโหดๆ แล้วเอามาทำสวัสดิการสังคมดีๆ แบบกลุ่มประเทศนอร์ดิกบ้าง แต่อย่าลืมว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้ว คนส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง คนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้เสียภาษี (สหรัฐ มีผู้เสียภาษีเกิน 50% ของประชากร) ถ้ารัฐบาลเก็บภาษีสูงๆ เพื่อมาทำสวัสดิการสังคม เงินส่วนใหญ่จะกลับมาที่คนกลุ่มเดิม แต่ถ้าเราทำอย่างเขาบ้างไม่รู้ว่าจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างไรต่อความรู้สึกไม่พอใจระหว่างชนชั้น ซึ่งทุกวันนี้ก็เป็นเรื่องที่อ่อนไหวมากอยู่แล้ว สำหรับสังคมไทยครับ

บทความโดย : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์      ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ  5 ตุลาคม 2554




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT