ReadyPlanet.com
dot
คลังข้อมูลนักบัญชี
dot
bulletมุมบัญชี
bulletสภาวิชาชีพบัญชี
bulletกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
bulletธนาคารแห่งประเทศไทย
dot
ภาษี (Tax)
dot
bulletกรมสรรพากร
bulletสถานที่ตั้ง/เบอร์โทร สรรพากร
bulletประมวลรัษฎากร
bulletหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย
bulletDownload File บัญชี - ภาษี
dot
รวม Link เอนกประสงค์
dot
bulletอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารต่างๆ
bulletอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
bulletธนาคารพาณิชย์ต่างๆ
bulletหน่วยบริการภาษีใน กทม.
bulletตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล
bulletพจนานุกรมไทย
bulletDictionary อังกฤษ > ไทย
bulletเบอร์โทรศัพท์ - พกไว้คู่กาย
bulletรวมเบอร์โทรเรียก แท็กซี่
bulletชมคลิปวีดีโอ เมืองไทยในอดีต
dot
ค้นหาบทความในเว็บไซต์

dot
dot
บริการของเรา (Service)
dot


รับทำบัญชี



การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

 การหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

   ช่วงนี้ก็เริ่มเป็นเทศกาลเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วนะคะ ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี สำหรับผู้ที่มีเงินได้แล้วสูงกว่า 150,000 บาทต่อปี ซึ่งสามารถกรอกแบบฟอร์มภาษีได้ด้วยตนเอง การกรอกแบบฟอร์มและยื่นเสียภาษีทางอินเทอร์เน็ตก็เป็นวิธีหนึ่งที่ค่อนข้างสะดวก สบายเพราะมีโปรแกรมภาษีให้กรอกข้อมูลและคำนวณภาษีให้โดยอัตโนมัติที่เว็บ  www.rd.go.th แต่สำหรับผู้ที่มีเงินได้หลายประเภทที่มีความซับซ้อน ก็อาจต้องใช้บริการผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านภาษีช่วยกรอกแบบฟอร์มภาษีให้  ดังนั้นในช่วงนี้จึงจะขอพูดถึงส่วนของการหักเงินลดหย่อนในการประเมินภาษีเงินได้ประจำปี เพื่อให้ทราบสิทธิของตัวเองนะคะว่า จะสามารถนำเอารายจ่ายประเภทไหนบ้างมาหักลดหย่อนภาษีได้ 

  

 
ประการแรกก็คือ ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เข้าข่ายในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ จะมีสิทธิได้รับการลดหย่อนอะไรบ้าง ก็แยกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทั่วไป และส่วนที่เป็นเงินที่ใช้เพื่อการลงทุน 
   
 

(1) การหักลดหย่อนทั่วไป ผู้มีเงินได้สามารถหักได้ 30,000 บาทต่อปี ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ก็ตาม  และคู่สมรสของผู้มีเงินได้อีก 30,000 บาท
   
(2) การหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตร สำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ แต่ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าเป็นบุตรที่เกิดก่อนหรือใน พ.ศ. 2522 หรือเป็นบุตรบุญธรรมก่อน พ.ศ. 2522 จะนำไปหักค่าลดหย่อนได้คนละ 15,000 บาท หากเป็นบุตรที่เกิดหลังปี 2522 คนละ 15,000 บาทแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 3 คน
   
(3) การหักค่าลดหย่อนการศึกษาของบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปีและยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือ ชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศได้คนละ 2,000 บาท
   
(4) ค่าลดหย่อนการอุปการะเลี้ยงดูบุพการี  กรณีที่ผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่มีเงินได้รวมค่าภาษีหรือคู่สมรสที่เงินได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสจะมีสิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท ทั้งนี้ต้องมีหนังสือรับรองการอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดา
   
(5) เงินค่าสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้แก่ เงินใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและการหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ
   
(6) เงินบริจาค เงินบริจาคที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ต้องเป็นเงินบริจาคให้การสาธารณกุศลโดยหักได้ตามจำนวนจ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ต้อง ดูรายชื่อองค์กรและนามองค์กรสาธารณกุศลที่สามารถหักลดหย่อนภาษีได้
   
(7) การหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อ หรือสร้างเป็นการประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป
   
  สำหรับเงินหักลดหย่อนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนอื่น ๆ จะนำมาขยายความต่อในสัปดาห์หน้า เหลือเวลาไม่มากแล้วก็อยากให้รวบรวมเอกสารข้อมูลให้พร้อมและยื่นแบบฟอร์มภาษีแต่เนิ่น ๆ นะคะ เพราะหากยื่นแบบภาษีเร็ว จะได้รับเงินคืนเร็วด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    เนื่องจากเป็นช่วงการยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ผู้มีเงินได้ที่มีรายได้สูงกว่า 150,000 บาท จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด. 91 ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี   และในสัปดาห์ที่ผ่านมาได้พูดถึงการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายของผู้มีเงินได้ไปแล้ว ใน สัปดาห์นี้จะเพิ่มในส่วนการหักลดหย่อน

 ต่อนะคะ  
   
(1) ในส่วนเงินสะสมที่ถูกหักเข้าไว้ในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) สำหรับข้าราชการและสมัครเป็นสมาชิกของ กบข. เงินสะสมของสมาชิก กบข. สามารถหักลดหย่อนได้เท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี
   
(2) เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (กสล.) เงินสะสมในส่วนของลูกจ้างจ่ายเข้า กสล. สามารถนำมาหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
   
(3) กองทุนประกันสังคม เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
   
(4) กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน ซึ่งเงินจ่ายสมทบเข้ากองทุนครูสามารถหักลดหย่อนทางภาษีได้ไม่เกิน 15% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี
   
(5) เงินลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) ที่รัฐสนับสนุนการออมระยะยาวแบบผูกพันและให้ได้รับผลตอบแทนเมื่อสูงอายุ  สามารถหักเป็นค่าลดหย่อนทางภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี (ทั้งนี้ไม่นับรวมเงินส่วนที่จ่ายเข้ากองทุน กบข. กองทุนประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)  
   
(6) เงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) ที่รัฐให้การสนับสนุนให้ผู้ลงทุนรายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดาให้ลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ ที่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้เท่าที่ลงทุนจริง แต่ต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้และไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี ทั้งนี้ไม่รวมส่วนเงินลงทุนใน กบข. กองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินที่ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
   
(7) การประกันชีวิต เงินเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์ อายุเกิน 10 ปีขึ้นไป หักลดหย่อนทางภาษี ได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ต่อปี
   
ทั้งนี้กรมธรรม์ที่มีส่วนขยายของ กรมธรรม์สุขภาพผู้ทำประกันจะได้สิทธิหักส่วนลดหย่อนได้เฉพาะค่าเบี้ยประกันชีวิตที่แยกออกจากเบี้ยประกันสุขภาพทั้งนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี 2552 เป็นต้นไป 
   
(8) เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2552 เป็นปีที่มีมาตรการพิเศษสำหรับเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (บ้านหรือที่อยู่อาศัยที่สร้างใหม่) โดยเงินได้ที่จะนำไปคำนวณเพื่อหักลดหย่อนนั้นยึดถือเอาตามจำนวนเงินที่ผู้ขายได้รับ เป็นสำคัญ (ตามราคาบ้าน/คอนโดฯ ที่ซื้อ) ในกรณีที่เป็นการซื้อแบบผ่อนดาวน์จึงหมายรวมทั้งเงินค่าดาวน์ที่เราจ่ายและเงินส่วนที่เหลือที่เรากู้จากธนาคารมาจ่ายให้โครงการ แต่ทั้งหมดรวมกันแล้วไม่เกิน 300,000 บาท
   
ส่วนกรณีซื้อสดก็จะหมายถึงเงินทั้งหมดที่เราได้จ่ายให้โครงการ แต่นำไปคำนวณเพื่อหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 300,000 บาทเช่นกัน และจะต้องถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาฯ ดังกล่าวต่อเนื่องกันเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี และนอกจากนี้ยังต้องมีการจะโอนให้ทันภายในวันที่ 31 ธันวาคม ปี 2552 นี้
    
 ท่านยื่นแบบฟอร์มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือยังคะ ขอเชิญยื่นแบบฟอร์มผ่านอินเทอร์เน็ตได้ที่ www.rd.go.th ค่ะ

ที่มา : คอลัมภ์ เข็มทิศลงทุน  นสพ.เดลินิวส์ วันที่ 6 และ 13 กุมภาพันธ์  2553




รวมบทความภาษี

วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.53 ผ่านอินเตอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.3 ผ่านอินเทอร์เน็ต
วีดีโอแนะนำ การยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.1 ผ่านอินเทอร์เน็ต
คลิปวีดีโอแนะนำ การยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90/ 91 ผ่านอินเทอร์เน็ต
ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทจ่ายเบี้ยประกันชีวิตให้กรรมการ
การจ่ายเงินโบนัส
กรมสรรพากรเปลี่ยนรูปแบบใบกํากับภาษี รายงานภาษีซื้อ / ภาษีขาย ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2557
อัตราภาษีใหม่ สำหรับบุคคลธรรมดา
ภาษีธุรกิจการท่องเที่ยว
แอพ RD Smart Tax ยื่นภาษี ผ่านสมาร์ทโฟน
ของฟรี ก็ต้องมีภาษีนะ...อย่าลืม
นำสินค้ามาใช้ในกิจการของตนเอง ต้องเสียภาษีด้วยหรือ !!!
ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน ออกอย่างไรไม่มีปัญหา
หลากหลายประเด็นดึงดูดใจให้สรรพากรต้อง “ ปักธง ”
ขายสินค้าคงเหลือ ราคาต่ำกว่าทุน ได้หรือไม่
ค้าขายทางอินเตอร์เน็ตกับการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
ปรับโครงสร้างภาษีเพื่อสร้างความเป็นธรรรม
กรมสรรพากรกับการปรับลดภาษี
สรรพากรอุดช่องโหว่ภาษีคณะบุคคล
ภาษีรถยนต์นั่ง
เรื่องรอบระยะเวลาบัญชี กับการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ภ.ง.ด. 51
แนวทางปฎิบัติหลังการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีเงินปันผล
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เรื่องของภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนภาษีอะไรได้บ้าง
ขนส่งกับเช่ารถยนต์ ภาษีต่างกันอย่างไร
วิธีการคำนวณภาษีเงินเดือนและค่าแรง เพื่อหักภาษีนำส่งในแบบ ภ.ง.ด. 1
คืนสินค้าอย่างไร จึงจะต้องออกใบลดหนี้
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โปรแกรมช่วยคำนวณและแบบภาษีต่างๆ ปี 54
มาตรการรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก ลดภาษีเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน
ครม.อนุมัติแล้ว มาตรการซื้อบ้านหลังแรกราคาไม่เกิน 5 ล้านคืนภาษี 10%
หลักเกณฑ์และแนวทางการคืนภาษีรถยนต์คันแรก
ฎีกาภาษี กรณีภรรยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ต้องเฉลี่ยค่าใช้จ่ายหรือไม่
รายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
ใบกำกับภาษีซื้อต่างที่อยู่กัน ใช้ได้ (ถูกที่) ไม่ถูกประเมิน
อย่างไร ? จึงเป็นเงินได้พึงประเมิน
บริหารภาษีให้ถูกวิธี
ปัญหาคณะบุคคล
ภาระภาษีจาการรับเงินปันผลและจาการขายหุ้น
ทำไมรายได้ค่าเช่าบ้านของภรรยา จึงถือเป็นรายได้ของสามี !!!
การออมเงินโดยการประหยัดภาษี
ไม่ได้นำผลขาดทุนไปใช้ จะทำอย่างไรดี
สรรพากรเรียกเก็บภาษีเพิ่ม เกือบ 3 แสนบาทจาก "น้องปลายฟ้า" ผู้โชคดีได้รางวัลจากการตั้งชื่อ "หลินปิง"
การอุทธรณ์ การประเมินภาษีอากร
เรื่องไม่ง่ายกับ "ค่านายหน้า"
จะทำลายสินค้าอย่างไร จึงจะเป็นที่ยอมรับของสรรพากร
สรรพากรร่วมกับตำรวจจับกุุมเครือข่ายขายใบกำกับภาษีปลอม รัฐเสียหายร่วมพันล้านบาท
ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2552 มีคนเพียง 2.3 ล้านคนเท่านั้นที่จ่ายเงินภาษีเลี้ยงคนทั้งประเทศ
สาเหตุที่กระทบยอด ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ. 30 แล้วมียอดไม่เท่ากัน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
"ของแถม" ที่ไม่ต้องมี VAT
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของสามีและภรรยา
ภาษีซื้อ กรณีซื้อของมาแถมให้กับลูกค้า
แก้ไข อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในใบกำกับภาษี มีความผิดหรือไม่
สรรพากรขยายฐานภาษีเพิ่มอีก 3.5 แสนราย
ค่าชดเชยการเลิกจ้างกับภาระภาษีอากร
วิธีรับมือกับการหลอกโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม
สัมภาษณ์เหยื่อที่ถูกหลอกคืนเงินภาษีผ่านตู้ ATM
เตือนภัยหลอกเก็บภาษี
ขายบ้านเสียภาษีอย่างไร
ภาษี ค่าไฟฟ้าและน้ำประปา
ปัญหาภาษีสำหรับกิจการนายหน้าประกันภัย
ผลดีของการเสียภาษีอย่างถูกต้อง
สิทธิและประโยชน์ทางภาษี จากการเป็นสมาชิก กบข
ขอเตือน-รอบระยะเวลาบัญชีก็สำคัญนะ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม - การใช้ใบกำกับภาษีซื้อหลังแจ้งเลิกกิจการ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี(รายจ่ายต้องห้าม)
สรรพากรชูนโยบายใหม่ตรวจเข้มภาษีรายเดือน ไล่เช็กบิลพวกตกแต่งตัวเลข
วันสุดท้ายของการออกหนังสือรับรองภาษี หัก ณ ที่จ่าย
รู้ไว้ใช่ว่ากับภาษี
โปรแกรมช่วยคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และแบบภาษีต่างๆ ปีภาษี 2554 article
ขายอสังหาริมทรัพย์อย่างไรไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
เหตุใดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของไทย จึงไม่ช่วยกระจายรายได้
ของขวัญกับการเสียภาษี
ภาษีมรดก
เช่าทรัพย์กับภาษีอากร
สรรพากร Call Center
การประหยัดเงินได้ด้วยภาษี - ด้วยกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ VAT ของชิปปิ้ง
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ภาษีเบี้ยประกันชีวิต
การตีราคาเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศ
ภาษีเงินรางวัลส่งเสริมการขาย
อายุความ การขอคืนภาษีเงินได้
การเสียภาษีในนามคณะบุคคล
สรรพากรตั้งเป้าจัดเก็บภาษี ปี 2553 อยู่ที่ 1.098 ล้านล้านบาท
สรรพากร สั่งสอบภาษี บ้านเช่า-คอนโด-ดารา
‘หัวหมอ’เลี่ยงภาษีเพียบ
ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย สามารถหักลดหย่อนภาษีได้หรือไม่
ฎีกาภาษี : สิทธิในการนำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย
กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
ภาษีครึ่งปีบ้านให้เช่า
ภาษีอากรประเมิน
ภ.ง.ด. 94 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี
บริจาคอย่างไร ไม่เสีย VAT